จำนวนผู้เข้ามาเยี่ยมชม

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555



แนวความคิดทฤษฏีการกระจายอำนาจ

       โดยทั่วไปหลักการในการจัดระเบียบการปกครองประเทศ หรือเรียกกันว่า การ จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ที่นิยมใช้อยู่ในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่มี รูปแหงรัฐเป็นแบบรัฐรวม (union state) มักใช้หลักสำคัญสองหลัก คือ หลักการรวม อำนาจการปกครอง และหลักการกระจายอำนาจการปกครอง แต่สำหรับประเทศที่มีรูป แห่งรัฐเป็นแบบรัฐเดี่ยว (unitary state) เช่น ไทย ฝรั่งเศส และญี่ป่น ต่างนักนิยมใช้ หลักการจัดระเบียบการปกครองประเทศออกเป็นสามหลัก ได้แก่
1. หลักการรวมอำนาจ (centralization)
2. หลักการแบ่งอำนาจ (deconcentration)
3. หลักการกระจายอำนาจ (decentralization)
การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินไทยในปัจจุบันเป็นไปตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พุทธศักราช 2534 ซึ่งจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้
1. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ได้นำเอาหลักของการรวมอำนาจมา ใช้เป็นหลักสำคัญ คันได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง และกรมต่าง ๆ
2. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคซึ่งนำเอาหลักการแบ่งอำนาจมาใช้ เป็นหลักสำคัญ คันได้แก่ จังหวัดและอำเภอ
3. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งนำเอาหลักการกระจายอำนาจ มาใช้เป็นหลักสำคัญ คันได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วน ตำบล และการปกครองพิเศษ (กรุงเทพมหานคร, เมืองพัทยา) (ประยูร กาญจนดุล, 2523, หน้า 25-28)ในเรื่องการกระจายอำนาจ ได้มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านได้ให้ความสำคัญและคำ จำกัดความหรือความหมายไว้ ดังนี้
ลิขิต ธีรเวคิน (2535, หน้า 3) ได้ให้ความสำคัญของการกระจายอำนาจ โดยกล่าว ไว้ว่า การกระจายอำนาจการปกครองนั้นมีความสำคัญทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยสรุปได้ 2 ประเด็นใหญ่ ๆ ดังนี้
1. การกระจายอำนาจถือเป็นรากแก้วของระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย เนื่องด้วยประชาธิปไตยด้องประกอบด้วยโครงสร้างส่วนบน คือ ระดับชาติ และโครงสร้างส่วนล่าง คือ ระดับท้องถิ่น การปกครองตนเองในรูปแบบของการปกครองท้องถิ่น อย่างแท้จริงคือรากแก้วเป็นฐานเสริมสำคัญยิ่งของการพัฒนาระบบการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย
2. การกระจายอำนาจ มีความสำคัญในเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนาชนบท โดยเฉพาะในการมีส่วนร่วมของประชาชน ถึงลักษณะดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย โครงสร้างการปกครองตนเองในลักษณะที่มีความอิสระพอสมควร ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ ด้องมีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง
ประยูร กาญจนดล (2523, หน้า 129-135) ได้ให้ความหมายของการกระจายอำนาจปกครอง (decentralization) โดยกล่าวว่าหลักการกระจายอำนาจปกครองให้แก่ ท้องถิ่นเป็นวิธีที่รัฐมอบหมายอำนาจบางส่วนให้แก่องค์การอื่นที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ ราชการส่วนกลาง จัดทำบริการสาธารณะบางอย่างโดยอิสระตามสมควรที่ไม่ต้องขึ้นอยู่กับการบังคับบัญชา เพียงแต่ขึ้นอยู่กับราชการบริหารส่วนกลางเท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งก็ คือ รัฐมอบอำนาจในการปกครอง ซึ่งเจ้าหน้าที่ราชการบริการส่วนกลางรับไปดำเนินการเอง


บรรณานุกรม

ประยูร กาญจนดุล. (2523). คำบรรยายกฎหมายปกครอง. กรงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิขิต ธีรเวคิน. (2535). การกระจายอำนาจ และการมีส่วนรวมในการพัฒนาชนบท, รายงานเสนอส่อสมาคมนักวิจัยมหาวิทยาลัยไทย และมูลนิธิ Friend rich Ebert, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์.

ที่มา ; สำนักบริการข้อมูลและสารสนเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น