ประชาธิปไตยกับการเมืองไทย
จากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเขียนฉบับแรกได้ถูกร่างขึ้น อย่างไรก็ตาม การเมืองไทยยังคงมีการต่อสู่ระหว่างกลุ่มการเมืองระหว่างอภิชนหัวสมัยเก่า และหัวสมัยใหม่ ข้าราชการ และนายพล ประเทศไทยมีการก่อรัฐประหารขึ้นหลายครั้ง ซึ่งมักเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้อำนาจของคณะรัฐประหารชุดแล้วชุด เหล่า สะท้อนให้เห็นถึงความไร้เสถียรภาพทางการเมืองอย่างสูง หลังจากรัฐประหารแต่ละครั้ง รัฐบาลทหารมักจะยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิมและประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่ว คราว
เหตุการณ์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
ประเทศต่างจากประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมของประเทศจักรวรรดินิยมตะวันตก เพียงแต่ต้องเสียดินแดนบางส่วน เช่น มณฑลบูรพา (เขมรส่วนใน คือ พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศสในปี พ.ศ.2449 และเสียไทรบุรี ปะลิศ กลันตัน ตรังกานู แก่อังกฤษในปี พ.ศ.2452) เพื่อแลกอำนาจศาลคืนมาจากฝรั่งเศสและอังกฤษ และต่อมาในปี พ.ศ.2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบ ประชาธิปไตย
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้มีการปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการทหารอย่างต่อเนื่องกันเป็นเวลา หลายปี นับตั้งแต่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ผู้ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้ รัฐธรรมนูญ ในปี พ.ศ.2475 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้นำประเทศไทยเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ คือ ญี่ปุ่น เยอรมนี และอิตาลี ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นผู้ใช้อำนาจทางการเมืองอย่างเด็ดขาดระหว่างปี พ.ศ.2481 – 2500 (แต่ระหว่างปี พ.ศ.2488 – 2491 ไทยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลพลเรือน)
ในปี พ.ศ.2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติยึดอำนาจจาก จอมพลแปลก พิบูลสงคราม และขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ.2502 ได้ใช้อำนาจเด็ดขาดจนถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ.2506 และจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ขึ้นสืบต่ออำนาจและได้ยุบรัฐสภาแล้วประกาศกฎอัยการศึก โดยบริหารประเทศภายใต้คณะกรรมาธิการบริหารแห่งชาติ ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2515 จอมพลถนอม กิตติขจร ประกาศใช้รัฐธรรมนูญปกครองราชอาณาจักรที่ทำให้ตนมีอำนาจเด็ดขาด และได้แต่งตั้งสมาชิกธรรมนูญแห่งชาติที่เป็นตำรวจและทหารจำนวน 200 คน จากจำนวนทั้งสิ้น 299 คน ธรรมนูญการปกครองฉบับนี้หลังจาก จอมพลถนอม กิตติขจร หมดอำนาจในปี พ.ศ.2516 แล้วรัฐบาลใหม่ที่มีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้ใช้ต่อมาอีก 1 ปี
ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 รัฐบาลทหารของจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร ได้ถูกพลังประชาชน นิสิต และนักศึกษาปลดออกจากอำนาจเผด็จการทหาร (ซึ่งได้บริหารประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2506) หลังจากเกิดเหตุการณ์วันอาทิตย์นองเลือด (Bloody Sunday) แล้วรัฐบาลพลเรือนของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ปกครองประเทศต่อมา
ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 ได้เกิดการจลาจลร้ายแรงซึ่งมีผลให้รัฐบาลที่มีจากการเลือกตั้ง ซึ่งมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีต้องล้มไป (การจลาจลดังกล่าวเป็นผลทำให้คนไทยบางกลุ่มแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ทำการรบราฆ่าฟันจนล้มตายเรื่อยมาถึงปี พ.ศ.2525 จึงได้ยุติการสู้รบต่อกัน) และนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพียง 1 ปี ก็เกิดการปฏิวัติขึ้นอีกครั้ง ในครั้งนี้ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และในปี พ.ศ.2522 พลเอกเกรียงศักดิ์ ได้ประกาศยุบสภาแล้วจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2522 ซึ่งปรากฏผลต่อมาว่าได้รัฐบาลใหม่ที่มีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติสูณลานนท์ ได้ถูกกลุ่มทหารหนุ่มที่มีชื่อว่า “ยังเติร์ก” ทำการรัฐประหารล้มรัฐบาลถึง 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกในวันที่ 1- 4 เมษายน พ.ศ.2524 และครั้งที่ 2 ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2528 นำโดย พลเอกเสริม ณ นคร แต่ไม่สำเร็จทั้งสองครั้ง พลเอกเปรม ติสูณลานนท์ ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี บริหารประเทศถึง 8 ปี 5 เดือน และได้ขอลาออกจากตำแหน่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2531 เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งทั่วไป จึงได้พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคชาติไทยในขณะนั้นเป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาลผสม บริหารประเทศต่อไปนานถึง 2 ปี 7 เดือน ส่วนพลเอกเปรม ติสูณลานนท์ ก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐบุรุษและประธานองคมนตรีในปัจจุบัน (สืบแทนนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ซึ่งมีสุขภาพไม่ดี และได้ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ.2544 อายุ 95 ปี)
ต่อมาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 ได้เกิดการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นำโดยพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ได้โค่นล้มรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนที่ 18 คือ นายอานันท์ ปันยารชุน ต่อมาได้มีการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2535 ปรากฏว่า นายณรงค์ วงศ์วรรณ หันหน้าพรรคสามัคคีธรรมได้คะแนนสูงสุดพร้อมที่จะจัดตั้งงรัฐบาลได้ แต่นายณรงค์ วงศ์วรรณ ถูกกล่าวหาว่าไปพัวพันกับการค้ายาเสพติด จึงทำให้ พอเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่อยู่ในกลุ่มคณะรัฐประหาร รสช. ได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 แต่อยู่ในตำแหน่งได้เพียง 2 เดือน ก็เกิดการเดินขบวนประท้วงขับไล่ พลเอกสุจินดา คราประยูร เหตุการณ์ลุกลามเป็นการจลาจลนองเลือดในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2535 ทำให้นายอานันท์ ปันยารชุน ต้องกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 20 ต่อมาได้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2535 ปรากฏว่า นายชวน หลักภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีร่วมกับคณะรัฐบาลที่มาจากหลายพรรค แต่นายชวน ต้องทำการยุบสภาจากกรณีอื้อฉาว สปก.4-01 และจากการที่พลตรีจำลอง ศรีเมือง ลาออกจากการร่วมรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้มีการปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการทหารอย่างต่อเนื่องกันเป็นเวลา หลายปี นับตั้งแต่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ผู้ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้ รัฐธรรมนูญ ในปี พ.ศ.2475 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้นำประเทศไทยเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ คือ ญี่ปุ่น เยอรมนี และอิตาลี ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นผู้ใช้อำนาจทางการเมืองอย่างเด็ดขาดระหว่างปี พ.ศ.2481 – 2500 (แต่ระหว่างปี พ.ศ.2488 – 2491 ไทยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลพลเรือน)
ในปี พ.ศ.2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติยึดอำนาจจาก จอมพลแปลก พิบูลสงคราม และขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ.2502 ได้ใช้อำนาจเด็ดขาดจนถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ.2506 และจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ขึ้นสืบต่ออำนาจและได้ยุบรัฐสภาแล้วประกาศกฎอัยการศึก โดยบริหารประเทศภายใต้คณะกรรมาธิการบริหารแห่งชาติ ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2515 จอมพลถนอม กิตติขจร ประกาศใช้รัฐธรรมนูญปกครองราชอาณาจักรที่ทำให้ตนมีอำนาจเด็ดขาด และได้แต่งตั้งสมาชิกธรรมนูญแห่งชาติที่เป็นตำรวจและทหารจำนวน 200 คน จากจำนวนทั้งสิ้น 299 คน ธรรมนูญการปกครองฉบับนี้หลังจาก จอมพลถนอม กิตติขจร หมดอำนาจในปี พ.ศ.2516 แล้วรัฐบาลใหม่ที่มีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้ใช้ต่อมาอีก 1 ปี
ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 รัฐบาลทหารของจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร ได้ถูกพลังประชาชน นิสิต และนักศึกษาปลดออกจากอำนาจเผด็จการทหาร (ซึ่งได้บริหารประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2506) หลังจากเกิดเหตุการณ์วันอาทิตย์นองเลือด (Bloody Sunday) แล้วรัฐบาลพลเรือนของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ปกครองประเทศต่อมา
ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 ได้เกิดการจลาจลร้ายแรงซึ่งมีผลให้รัฐบาลที่มีจากการเลือกตั้ง ซึ่งมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีต้องล้มไป (การจลาจลดังกล่าวเป็นผลทำให้คนไทยบางกลุ่มแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ทำการรบราฆ่าฟันจนล้มตายเรื่อยมาถึงปี พ.ศ.2525 จึงได้ยุติการสู้รบต่อกัน) และนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพียง 1 ปี ก็เกิดการปฏิวัติขึ้นอีกครั้ง ในครั้งนี้ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และในปี พ.ศ.2522 พลเอกเกรียงศักดิ์ ได้ประกาศยุบสภาแล้วจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2522 ซึ่งปรากฏผลต่อมาว่าได้รัฐบาลใหม่ที่มีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติสูณลานนท์ ได้ถูกกลุ่มทหารหนุ่มที่มีชื่อว่า “ยังเติร์ก” ทำการรัฐประหารล้มรัฐบาลถึง 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกในวันที่ 1- 4 เมษายน พ.ศ.2524 และครั้งที่ 2 ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2528 นำโดย พลเอกเสริม ณ นคร แต่ไม่สำเร็จทั้งสองครั้ง พลเอกเปรม ติสูณลานนท์ ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี บริหารประเทศถึง 8 ปี 5 เดือน และได้ขอลาออกจากตำแหน่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2531 เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งทั่วไป จึงได้พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคชาติไทยในขณะนั้นเป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาลผสม บริหารประเทศต่อไปนานถึง 2 ปี 7 เดือน ส่วนพลเอกเปรม ติสูณลานนท์ ก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐบุรุษและประธานองคมนตรีในปัจจุบัน (สืบแทนนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ซึ่งมีสุขภาพไม่ดี และได้ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ.2544 อายุ 95 ปี)
ต่อมาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 ได้เกิดการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นำโดยพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ได้โค่นล้มรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนที่ 18 คือ นายอานันท์ ปันยารชุน ต่อมาได้มีการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2535 ปรากฏว่า นายณรงค์ วงศ์วรรณ หันหน้าพรรคสามัคคีธรรมได้คะแนนสูงสุดพร้อมที่จะจัดตั้งงรัฐบาลได้ แต่นายณรงค์ วงศ์วรรณ ถูกกล่าวหาว่าไปพัวพันกับการค้ายาเสพติด จึงทำให้ พอเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่อยู่ในกลุ่มคณะรัฐประหาร รสช. ได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 แต่อยู่ในตำแหน่งได้เพียง 2 เดือน ก็เกิดการเดินขบวนประท้วงขับไล่ พลเอกสุจินดา คราประยูร เหตุการณ์ลุกลามเป็นการจลาจลนองเลือดในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2535 ทำให้นายอานันท์ ปันยารชุน ต้องกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 20 ต่อมาได้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2535 ปรากฏว่า นายชวน หลักภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีร่วมกับคณะรัฐบาลที่มาจากหลายพรรค แต่นายชวน ต้องทำการยุบสภาจากกรณีอื้อฉาว สปก.4-01 และจากการที่พลตรีจำลอง ศรีเมือง ลาออกจากการร่วมรัฐบาล
ต่อมามีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2538 และเป็นปีที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้บุคคลที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ปรากฏว่า นายบรรหาร ศิลปอาชา หันหน้าพรรคชาติไทย ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของไทย บริหารประเทศได้เพียง 1 ปี ก็ต้องยุบสภาหลังจากถูกพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นฝ่ายค้านในขณะนั้นกล่าวโจม ตีเรื่องเชื้อชาติของท่านอย่างรุนแรง และถูกกดดันจากพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ ในครั้งนี้ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ หันหน้าพรรคความหวังใหม่ ได้คะแนนเสียงเลือกตั้งเข้ามามากกว่าพรรคอื่นจึงจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น โดยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพียง 9 เดือน จึงได้ขอลาออกจากตำแหน่ง (เนื่องจากถูกประท้วงขับไล่รายวันจากการทุ่มค่าเงินบาทกับดอลลาร์สหรัฐฯ ประจวบกับเศรษฐกิจฟองสบู่ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้แตกสลายลง ทำให้พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ต้องประกาศให้ค่าเงินบาทลอยตัว (Managed Float) ขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2540 รัฐบาลไทยต้องไปขอความช่วยเหลือและกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มากู้เศรษฐกิจที่ระบบกรเงินการธนาคารของชาติที่พังพินาศ) พรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของหัวหน้าพรรค คือ นายชวน หลีกภัย ได้ชิงชัยกับพรรคร่วมรัฐบาลเก่าและได้ชัยชนะจากการแปรพักตร์ของ 12 ส.ส. จากพรรคประชากรไทยที่มาเข้าร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล ผสม เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2540 นับว่าเป็นสมัยที่ 2 ของนายกรัฐมนตรีนายชวน หลีกภัย
ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2543 ไทยได้จัดให้มีการเลือกตั้งวุฒิสภาเป็นครั้งแรก มีกำหนดวาระ 6 ปี ซึ่งแต่ก่อนวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง รัฐบาลของนายชวน หลีกภัยได้บริหารต่อไปอีกเกือบ 3 ปี จึงได้ยุบรัฐสภา จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544 ปรากฏว่า พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ในสมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย ไทยได้เป็นประเทศเจ้าภาพจัดกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2541 ที่กรุงเทพฯ รัฐบาลได้เฉลิมฉลองถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมายุครบ 72 พรรษา ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2542 และเป็นเจ้าภาพจัดประชุม UNTAD (องค์การสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและพัฒนา ขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2543 แต่รัฐบาลปัจจุบันต้องมาเผชิญกับการขึ้นราคาน้ำมันของกลุ่ม OPEC อย่างขนานใหญ่ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะเติบโตถึง 4.5% ต้องถดถอยลงมา โดยเขยิบขึ้นไปไม่ถึงการประเมินของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ได้ตามสิติปี พ.ศ.2533 ไทยมีประชากร 60 ล้านคน โดยประชากรร้อยละ 30.4 อาศัยอยู่ในจังหวัดภาคกลาง ร้อยละ 35.2 อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 12.5 อยู่ในจังหวัดภาคใต้ ร้อยละ 21.9 อยู่ในจังหวัดภาคเหนือ
รัฐบาลพยายามทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยในตัวเมืองใหญ่และคนจนตามชนบทแคบ เข้ามาให้ได้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ประกอบกับมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างมากมายในหน่วยงานของรัฐบาลและมีหนี้ที่ ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในหลายๆ ธนาคารของรัฐและเอกชนภายใต้นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นรัฐบาลปัจจุบันก็ได้พยายามแก้ไข ซึ้งนับว่าเป็นปัญหาหนักหน่วงที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง เพื่อให้เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นมาให้จงได้
กลไกของรัฐตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2540 มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับ “การปฏิรูป” อยู่หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปการเมืองซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการจัดทำรัฐ ธรรมนูญฉบับนี้
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า เพื่อให้บรรลุถึงการปฏิรูปทางการเมืองดังกล่าวข้างต้น รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อกลไกของรัฐ ซึ่งในกรณีนี้อาจแยกพิจารณาได้เป็นสี่กรณีด้วยกัน คือ กลไกของรัฐในทางนิติบัญญัติ กลไกของรัฐทางบริหาร กลไกของรัฐในทางตุลาการ และองค์กรอื่นๆ ตามรัฐธรรมนูญ
กลไกของรัฐในทางนิติบัญญัติ
กลไกของรัฐในทาง นิติบัญญัติได้รับการเปลี่ยนแปลงจากรัฐธรรมนูญอยู่ 2 ประการใหญ่ๆ คือ การปฏิรูประบบผู้แทนและการปฏิรูปกระบวนการนิติบัญญัติ
การปฏิรูประบบผู้แทน
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ยังคนยืนอยู่บนหลักการของการปกครองแบบรัฐสภา ที่ฝ่ายสภาและฝ่ายบริหารมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด กล่าวโดยเฉพาะฝ่ายสภานั้น แม้จะมีการอภิปรายถกเถียงกันเป็นอย่างมากในหมู่ สสร. ว่าควรจะเป็นแบบสภาเดียวหรือสองสภา แต่ในท้ายที่สุดสภาร่างรัฐธรรมนูญก็ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีวุฒิสภา ในฐานะที่เป็นองค์กรกลั่นกรองกฎหมายและองค์กรตรวจสอบ
ก่อนที่จะกล่าวถึงองค์ประกอบ ที่มา และอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ควรจะได้กล่าวถึงพรรคการเมืองในฐานะที่เป็นองค์กรภาคมหาชนองค์กรหนึ่งที่จะ มีผลต่อการปฏิรูประบบผู้แทนอย่างแท้จริง
การปฏิรูปพรรคการเมือง
มีการเปลี่ยนแปลงปรับ ปรุงอยู่หลายประเด็น ทั้งในเรื่องการจัดตั้ง การทำให้พรรคการเมืองเป็นประชาธิปไตย การเสริมสร้างระบบพรรคการเมือง การให้เงินอุดหนุนแก่พรรคการเมือง และควบคุมตรวจสอบพรรคการเมืองได้แก่
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า เพื่อให้บรรลุถึงการปฏิรูปทางการเมืองดังกล่าวข้างต้น รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อกลไกของรัฐ ซึ่งในกรณีนี้อาจแยกพิจารณาได้เป็นสี่กรณีด้วยกัน คือ กลไกของรัฐในทางนิติบัญญัติ กลไกของรัฐทางบริหาร กลไกของรัฐในทางตุลาการ และองค์กรอื่นๆ ตามรัฐธรรมนูญ
กลไกของรัฐในทางนิติบัญญัติ
กลไกของรัฐในทาง นิติบัญญัติได้รับการเปลี่ยนแปลงจากรัฐธรรมนูญอยู่ 2 ประการใหญ่ๆ คือ การปฏิรูประบบผู้แทนและการปฏิรูปกระบวนการนิติบัญญัติ
การปฏิรูประบบผู้แทน
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ยังคนยืนอยู่บนหลักการของการปกครองแบบรัฐสภา ที่ฝ่ายสภาและฝ่ายบริหารมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด กล่าวโดยเฉพาะฝ่ายสภานั้น แม้จะมีการอภิปรายถกเถียงกันเป็นอย่างมากในหมู่ สสร. ว่าควรจะเป็นแบบสภาเดียวหรือสองสภา แต่ในท้ายที่สุดสภาร่างรัฐธรรมนูญก็ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีวุฒิสภา ในฐานะที่เป็นองค์กรกลั่นกรองกฎหมายและองค์กรตรวจสอบ
ก่อนที่จะกล่าวถึงองค์ประกอบ ที่มา และอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ควรจะได้กล่าวถึงพรรคการเมืองในฐานะที่เป็นองค์กรภาคมหาชนองค์กรหนึ่งที่จะ มีผลต่อการปฏิรูประบบผู้แทนอย่างแท้จริง
การปฏิรูปพรรคการเมือง
มีการเปลี่ยนแปลงปรับ ปรุงอยู่หลายประเด็น ทั้งในเรื่องการจัดตั้ง การทำให้พรรคการเมืองเป็นประชาธิปไตย การเสริมสร้างระบบพรรคการเมือง การให้เงินอุดหนุนแก่พรรคการเมือง และควบคุมตรวจสอบพรรคการเมืองได้แก่
- การให้จัดตั้งพรรคการเมืองได้ง่ายโดยบุคคลอายุ 20 ปีบริบูรณ์ เพียง 15 คนขึ้นไป และยกเลิกการจดทะเบียนพรรคการเมือง แต่เปลี่ยนเป็นการจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองแทน (มาตรา 328 อนุ 1) อย่างไรก็ตาม ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง พรรคการเมืองต้องดำเนินการให้มีสมาชิกตั้งแต่ 5,000 คนขึ้นไป ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยสมาชิซึ่งมีที่อยู่ในแต่ละภาคตามบัญชีรายชื่อ ภาคและจังหวัดที่นายทะเบียนประกาศกำหนดและมีสาขาพรรคการเมืองอย่างน้อยภาคละ 1 สาขา (มาตรา 29 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541)
- การจัดองค์กรภายใน การดำเนินกิจการและข้อบังคับของพรรคการเมืองต้องสอดคล้องกับหลักการพื้นฐาน ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (มาตรา 47 วรรค 2)
- การเปิดโอกาสให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคการเมืองจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรรมการบริหารของพรรคการเมืองจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือสมาชิกพรรคการเมืองจำนวนไม่น้อยกว่า 50 คน (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 28) ซึ่งเห็นว่ามติหรือข้อบังคับในเรื่องใดของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ นั้น จะขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสิทธิร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติหรือข้อบังคับดังกล่าวเป็นอัน ยกเลิกไปหรือไม่ (มาตรา 47 วรรค 3 และ 4
- การบังคับให้ผู้สมัคร ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมืองและหาก ส.ส. พรรคใดขาดสมาชิกภาพพรรคเมื่อใดก็ต้องขาดจาก ส.ส. ไปด้วยเช่นกัน เหตุผลก็เพื่อรักษาเสถียรภาพและส่งเสริมประสิทธิภาพของระบบผู้แทนไว้ (มาตรา 117 อนุ 8)
- การให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ลงสมัครไม่น้อยกว่า 90 วัน (มาตรา 107 อนุ 4) ซึ่งจะมีผลทำให้อนาคตจะมีการย้ายพรรคได้ยากขึ้นหรือแทบเป็นไปไม่ได้
- การให้มีการสนับสนุนทางการเงินหรือประโยชน์อย่างอื่นแก่พรรคการเมือง โดยรัฐ (มาตรา 328 อนุ 5) โดยในการจัดสรรเงินสนับสนุนจะต้องจัดสรรเป็นรายปี และให้คำนึงถึงจำนวนสมาชิกซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค การเมือง จำนวนคะแนนเสียงจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่พรรคการเมืองได้รับในการ เลือกตั้งทั่วไปครั้งหลังสุด จำนวนสมาชิกของพรรคการเมืองและจำนวนสาขาพรรคการเมืองตามลำดับ (มาตรา 58 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541)
- การสนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนาสาขาพรรคโดยรัฐ (มาตรา 328 อนุ 4)
- การจำกัดวงเงินค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งและการควบคุมการรับบริจาคเงินของพรรคการเมือง (มาตรา 328 อนุ 5)
- การตรวจสอบสถานะทางการเงินของพรรคการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบและการเปิดเผยที่มาของรายได้และการใช้จ่ายของพรรคการเมือง (มาตรา 328 อนุ 6)
- การจัดทำบัญชีแสดงรายรับและรายจ่ายของพรรคการเมือง และบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของพรรคการเมือง ซึ่งต้องแสดงโดยเปิดเผยซึ่งที่มาของรายได้และการใช้จ่ายประจำปีของพรรคการ เมืองในทุกรอบปีปฏิทิน เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อตรวจสอบและประกาศให้สาธารณชนทราบ (มาตรา 328 อนุ 7)
การปฏิรูปสภาผู้แทนราษฎร
มีการเปลี่ยนแปลงหลายประเด็นทั้งในเรื่ององค์ประกอบ ที่มา อำนาจหน้าที่ ได้แก่
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนทั้งสิ้น 500 คน แยกเป็น2 ประเภท คือ ประเภทที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 400 คน และประเภทที่มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน (มาตรา 98)
- ระบบการเลือกตั้งมีการเปลี่ยนแปลงใหม่จากระบบที่ ส.ส. มาจากการเลือกตั้งเขตละ 1 ถึง 3 คน มาเป็นระบบการเลือกตั้งแบบผสมระหว่างเขตละ 1 คน และระบบบัญชีซึ่งพรรคการเมืองเสนอ ซึ่งได้แบบมาจากประเทศญี่ปุ่นและเยอรมัน (มาตรา 99 และมาตรา 102)
การมี ส.ส. เขตละ 1 คน นอกจากจะทำให้เกิดความเสมอภาคในหมู่ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งแล้ว ยังเป็นการทำให้คนดีมีความสามารถ สามารถต่อสู้กับผู้ที่ใช้เงินได้เพราะเขตเลือกตั้งไม่ใหม่นัก
การมี ส.ส. จากบัญชีรายชื่อก็เป็นอีกมาตรการหนึ่งที่ทำให้คนดีมีความสามารถและไม่ต้อง การใช้เงินในการเลือกตั้ง สามารถเข้าทำงานในสภาผู้แทนราษฎรได้
- กำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ หากผู้ใดไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่มีเหตุอันควร จะเสียสิทธิหรือผลประโยชน์ตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 68) ขณะเดียวกัน รัฐจะต้องอำนวยความสะดวกให้ผู้มีสิทธิที่อยู่นอกภูมิลำเนาด้วย วิธีการนี้มีขึ้นเพื่อทำให้การซื้อสิทธิขายเสียงเป็นไปได้ยากเพราะผู้ซื้อ เสียงจะต้องซื้อเสียงเป็นจำนวนมากและไม่แน่ว่าจะได้รับการเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังกำหนดให้รัฐสนับสนุนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเรื่อง ต่อไปนี้
(1) จัดที่ปิดประกาศและที่ติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งในสาธารณสถานซึ่งเป็นของรัฐ
(2) พิมพ์และจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งไปให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
(3) จัดหาสถานที่หาเสียงเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
(4) จัดสรรเวลาออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ให้แก่พรรคการเมือง
- กำหนดให้มีคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เป็นอิสระ และเป็นกลาง เป็นผู้จัดการเลือกตั้งแทนกระทรวงมหาดไทยและนักการเมือง (มาตรา 136-148)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจหน้าที่สำคัญ คือ การตรากฎหมาย (มาตรา 172-174) ซึ่งแยกเป็นกฎหมายธรรมดาและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ (มาตรา 172) การอนุมัติงบประมาณ (มาตรา 179-180) และยกเลิกงบ ส.ส. (มาตรา 180 วรรค 6) ทั้งนี้เพราะสภาผู้แทนราษฎรหรือกรรมาธิการจะแปรญัตติหรือกระทำการใดๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือกรรมาธิการมีส่วนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้งบประมาณ รายจ่ายจะกระทำไม่ได้ และการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ การตั้งกระทู้ธรรมดา (มาตรา 183) และการตั้งกระทู้สด (มาตรา 184) ยกเลิกการให้เปิดอภิปรายคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ แต่ให้มีการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี แทน (มาตรา 185) การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล (มาตรา 186) การตั้งกรรมาธิการสามัญและวิสามัญเพื่อกระทำกิจการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 189) และในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติใดมีสาระสำคัญเกี่ยวกับเด็ก สตรี และคนชรา หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ สภาผู้แทนราษฎรจะต้องตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นประกอบด้วยผู้แทนองค์การ เอกชนเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้น มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด (มาตรา 190)
การปฏิรูปวุฒิสภา
มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลายประการทั้งในเรื่ององค์ประกอบ ที่มาและอำนาจหน้าที่
สมาชิกวุฒิสภามีจำนวนทั้งสิ้น 200 คน (มาตรา 121)
1) สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน (มาตรา 121) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มาของวุฒิสภา การเลือกตั้งวุฒิสภาใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง (มาตรา 122) แต่ไม่ว่าจังหวัดนั้นจะมีสมาชิกวุฒิสภากี่คน ประชาชนแต่ละคนจะลงคะแนนเสียงได้เพียง 1 คะแนน เท่านั้น (มาตรา 123) ผู้สมัครวุฒิสภาจะหาเสียงไม่ได้ ซึ่งจะทำให้คนดีมีความสามารถและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในจังหวัดนั้นๆ เข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้ ระบบนี้ยังป้องกันไม่ให้สมาชิกวุฒิสภามีลักษณะกระจุกตัวอยู่แต่ในเฉพาะ กรุงเทพมหานคร
2) วุฒิสภานอกจากตะมีอำนาจในการยับยั้งร่างกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นอำนาจแต่เดิมแล้ว (มาตรา 175) วุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งนี้จะมีอำนาจในฐานะที่เป็นองค์กรตรวจสอบด้วย
บทบาทในฐานะที่เป็นองค์กรตรวจสอบนั้น แสดงออกใน 2 ลักษณะ
สมาชิกวุฒิสภามีจำนวนทั้งสิ้น 200 คน (มาตรา 121)
1) สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน (มาตรา 121) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มาของวุฒิสภา การเลือกตั้งวุฒิสภาใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง (มาตรา 122) แต่ไม่ว่าจังหวัดนั้นจะมีสมาชิกวุฒิสภากี่คน ประชาชนแต่ละคนจะลงคะแนนเสียงได้เพียง 1 คะแนน เท่านั้น (มาตรา 123) ผู้สมัครวุฒิสภาจะหาเสียงไม่ได้ ซึ่งจะทำให้คนดีมีความสามารถและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในจังหวัดนั้นๆ เข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้ ระบบนี้ยังป้องกันไม่ให้สมาชิกวุฒิสภามีลักษณะกระจุกตัวอยู่แต่ในเฉพาะ กรุงเทพมหานคร
2) วุฒิสภานอกจากตะมีอำนาจในการยับยั้งร่างกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นอำนาจแต่เดิมแล้ว (มาตรา 175) วุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งนี้จะมีอำนาจในฐานะที่เป็นองค์กรตรวจสอบด้วย
บทบาทในฐานะที่เป็นองค์กรตรวจสอบนั้น แสดงออกใน 2 ลักษณะ
- ประการแรก คือ เป็นผู้มีอำนาจในการแต่งตั้งสมาชิกขององค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ การตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา จำนวนไม่เกิน 3 คน (มาตรา 196) การตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจำนวน 11 คน (มาตรา 199) การตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 15 คน (มาตรา 255) การเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 คน ไปเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (มาตรา 274 อนุ 3) การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นตุลาการศาลปกครอง (มาตรา 279 อนุ 3) การเลือกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจำนวน 9 คน (มาตรา 297)
- ประการที่สอง คือ การมีอำนาจในการถอดถอนบุคคลต่างๆ ออกจากตำแหน่งได้แก่ การมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพ้นจากตำแหน่ง (มาตรา 299) การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการตรวจสอบเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการหรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตออกจาก ตำแหน่ง ในกรณีที่บุคคลนั้นมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
กระบวนการในการถอดถอนออกจากตำแหน่ง
การปฏิรูปกระบวนการนิติบัญญัติ
การปรับปรุงกระบวนการนิติบัญญัติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการ กำหนดให้สมัยประชุมมี 2 สมัย คือ สมัยประชุมทั่วไป และสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ (มาตรา 159 วรรค 2) ซึ่งจะทำให้สภาผู้แทนราษฎรสามารถตรากฎหมายได้มากขึ้น ขยายระยะเวลาสมัยประชุมเป็นสมัยละ 120 วัน (มาตรา 160)
กำหนดให้กฎหมายที่สำคัญมีกระบวนการนิติบัญญัติที่แตกต่างไปโดยระบุ ว่า ร่างกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีระบุไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาว่าจำเป็นต่อการ บริหารราชการแผ่นดิน หรือร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญใด หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ให้ความเห็นชอบและคะแนนเสียงที่ไม่ให้ความเห็นชอบ ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ คณะรัฐมนตรีอาจขอให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อมีมติอีกครั้งหนึ่ง หากรัฐสภามีมติให้ความเห็นชอบก็จะมีการตั้งบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็น สมาชิกของแต่ละสภามีจำนวนเท่ากัน ตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาเสร็จแล้วก็ส่ง ให้รัฐสภามีมติต่อไป (มาตรา 173)
กำหนดให้กฎหมายที่ค้างอยู่ในสภา สามารถถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาใหม่ได้โดยไม่ต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ ในกรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภา (มาตรา 178)
2. กลไกของรัฐในทางบริหาร
กลไกของรัฐในทางบริหารมีการเปลี่ยนแปลงใน 2 แนวทางด้วยกัน แนวทางแรก คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารโดยตรง แนวทางที่ 2 คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับระบบราชการ ซึ่งเป็นกลไกของฝ่ายบริหาร
การปฏิรูปฝ่ายบริหาร
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ทำการปฏิรูปฝ่ายบริหาร หรือรัฐบาลในหลายกรณีด้วยกัน
กำหนดให้กฎหมายที่สำคัญมีกระบวนการนิติบัญญัติที่แตกต่างไปโดยระบุ ว่า ร่างกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีระบุไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาว่าจำเป็นต่อการ บริหารราชการแผ่นดิน หรือร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญใด หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ให้ความเห็นชอบและคะแนนเสียงที่ไม่ให้ความเห็นชอบ ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ คณะรัฐมนตรีอาจขอให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อมีมติอีกครั้งหนึ่ง หากรัฐสภามีมติให้ความเห็นชอบก็จะมีการตั้งบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็น สมาชิกของแต่ละสภามีจำนวนเท่ากัน ตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาเสร็จแล้วก็ส่ง ให้รัฐสภามีมติต่อไป (มาตรา 173)
กำหนดให้กฎหมายที่ค้างอยู่ในสภา สามารถถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาใหม่ได้โดยไม่ต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ ในกรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภา (มาตรา 178)
2. กลไกของรัฐในทางบริหาร
กลไกของรัฐในทางบริหารมีการเปลี่ยนแปลงใน 2 แนวทางด้วยกัน แนวทางแรก คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารโดยตรง แนวทางที่ 2 คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับระบบราชการ ซึ่งเป็นกลไกของฝ่ายบริหาร
การปฏิรูปฝ่ายบริหาร
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ทำการปฏิรูปฝ่ายบริหาร หรือรัฐบาลในหลายกรณีด้วยกัน
- ประการแรก คือ การลดจำนวนคณะรัฐมนตรีให้เหลือเพียง 36 คน จากเดิมที่มีอยู่เกือบ 50 คน สาเหตุสำคัญที่มีการลดจำนวนรัฐมนตรีให้เหลือน้อยลงดังกล่าว ก็เนื่องมาจากการคำนึงถึงประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล เพราะอาจจะกล่าวได้ว่า ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนั้น คณะรัฐมนตรีของประเทศไทยมีขนาดใหญ่ เพราะไม่ได้ประกอบด้วยรัฐมนตรีเท่านั้น แต่ยังมีรัฐมนตรีช่วยว่าอีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ประเพณีการแบ่งสรรอำนาจของรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการก็มี ลักษณะที่แบ่งแยกกันเด็ดขาด รัฐมนตรีไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายหน่วยงานที่อยู่ในความดูแลของรัฐมนตรีช่วย ว่าการ ความเป็นเอกภาพของหน่วยงานจึงไม่เกิดขึ้น การกำหนดจำนวนคณะรัฐมนตรีมากเช่นนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการปูนบำเหน็จทาง การเมืองด้วย โดยไม่คำนึงถึงความจำเป็นในการบริหารราชการแผ่นดินแต่อย่างใด จำนวนรัฐมนตรีมิได้มีความสอดคล้องกับกระทรวง ทบวง กรม ที่มีอยู่ การลดจำนวนรัฐมนตรีลงจะทำให้การปูนบำเหน็จรางวัลเป็นไปได้ยากขึ้น การบริหารงานจะมีความเป็นเอกภาพ และคณะรัฐมนตรีจะสามารถเป็นศูนย์รวมของการตัดสินใจปัญหาของประเทศอย่างแท้ จริง
- ประการที่สอง คือ การปรับปรุงให้มีการให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งนารัฐมนตรีในสภาผู้แทน ราษฎร โดยกำหนดกลไกไว้ในมาตรา 202 ว่าจะต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และมติของสภาผู้แทนราษฎรซึ่งต้องกระทดโดยเปิดเผยจะต้องมีคะแนนเสียงมากกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กลไกตามาตรานี้มีขึ้นเพื่อให้การสรรหานายกรัฐมนตรีเป็นอย่างโปร่งใส และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย หลีกเลี่ยงการดำเนินการของหัวหน้าพรรคการเมืองหรือเลขาธิการพรรคการเมืองที่ มักจะอาศัยการตกลงภายในกับพรรคการเมืองอื่น เพื่อให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
- ประการที่สาม นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภาในขณะเดียวกันไม่ได้ ประเด็นนี้เป็นที่มีความขัดแย้งกันเป็นอย่างสูงในสภาร่างรัฐธรรมนูญ เจตนารมณ์ของมาตรา 204 คือ การห้ามฝ่ายบริหารดำรงตำแหน่งในฝ่ายนิติบัญญัติในขณะเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่แตกต่างจาก “ห้าม ส.ส. เป็นรัฐมนตรี” เพราะในกรณีหลังนั้นทำให้ไขว้เขวได้ว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญประสงค์ที่จะให้ “คนนอก” ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมาเป็นรัฐมนตรี ซึ่งความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะแม้จะมีเจตนามิให้ฝ่ายบริหารดำรงตำแหน่งในฝ่ายนิติบัญญัติในขณะเดียว กัน แต่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญก็ประสงค์ที่จะให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมาจากการ เลือกตั้ง หรือเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั่นเอง ดังจะเห็นได้มาตรา 204 วรรค 2 ที่บัญญัติว่า “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ให้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันถัดจากวันที่ครบ 30 วัน นับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง”
การที่รัฐธรรมนูญไม่ประสงค์ให้ฝ่ายบริหารเป็นฝ่ายนิติบัญญัติในขณะเดียวกัน มีเหตุผลที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1) บทบาทของฝ่ายบริหารและบทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นบทบาทที่ขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง ผ่ายบริหารมีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ในขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้น ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะเดียวกัน ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลดังกล่าวจะทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติในฐานะที่เป็น ผู้ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
1) บทบาทของฝ่ายบริหารและบทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นบทบาทที่ขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง ผ่ายบริหารมีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ในขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้น ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะเดียวกัน ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลดังกล่าวจะทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติในฐานะที่เป็น ผู้ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
2) เป็นที่ทราบกันดีว่าฝ่ายนิติบัญญัติในประเทศไทยตรากฎหมายได้น้อยมากในแต่ละ ปี แม้จะมีสาเหตุหลายประการก็ตาม แต่เหตุผลหนึ่งก็คือ ฝ่ายนิติบัญญัติในประเทศไทยไม่ได้ให้ความสนใจต่อการตรากฎหมายเท่าที่ควร ผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมักให้ความสนใจกับการตรากฎหมายค่อนข้าง น้อย แต่เน้นหนักความสนใจของตนเองไปที่การเป็นฝ่ายบริหารมากกว่า การห้ามมิให้ฝ่ายบริหารดำรงตำแหน่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติในขณะเดียวกัน จึงเท่ากับทำให้ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติสามารถทุ่มเทการทำงานของตน ได้อย่างเต็มที่ สอดคล้องกับหลักการ “แยกงานกันทำ” เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติเป็นส่วนรวม
3) การให้ฝ่ายนิติบัญญัติดำรงตำแหน่งเป็นฝ่ายบริหารได้ ยังเป็นช่องทางให้มีการแสวงหาประโยชน์จากการเป็นรัฐมนตรี เพราะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลายต่างก็มุ่งหวังว่าตนเองจะสามารถรวบรวม คะแนนเสียงได้จำนวนหนึ่ง เพื่อไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีตามโควต้า การห้ามมิให้ฝ่ายนิติบัญญัติดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหารในขณะเดียวกันจะทำให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตระหนักว่าเมื่อใดก็แล้วแต่ที่ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจะ ต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และหากมีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีก็จะกลับมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ ได้จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่
3) การให้ฝ่ายนิติบัญญัติดำรงตำแหน่งเป็นฝ่ายบริหารได้ ยังเป็นช่องทางให้มีการแสวงหาประโยชน์จากการเป็นรัฐมนตรี เพราะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลายต่างก็มุ่งหวังว่าตนเองจะสามารถรวบรวม คะแนนเสียงได้จำนวนหนึ่ง เพื่อไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีตามโควต้า การห้ามมิให้ฝ่ายนิติบัญญัติดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหารในขณะเดียวกันจะทำให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตระหนักว่าเมื่อใดก็แล้วแต่ที่ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจะ ต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และหากมีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีก็จะกลับมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ ได้จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่
การปฏิรูประบบราชการ
การปฏิรูปราชการส่วนกลางและภูมิภาค 1) รัฐธรรมนูญมาตรา 230 ได้เปิดช่องให้มีการจัดตั้ง รวม โอน หรือยุบกระทรวง ทบวง กรม ได้ โดยการตราพระราชกฤษฎีกาแทนที่จะเป็นการตราพระราชบัญญัติ นั่นก็หมายความว่ารัฐบาลจะมีความคล่องตัวในการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม มากขึ้น กระทรวง ทบวง กรมใดที่รัฐบาลเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องดำรงอยู่ต่อไปไม่ว่าจะเป็นเพราะ ความจำเป็นของสถานการณ์ที่หมดไป ไม่ว่าจะเป็นเพราะรัฐบาลโอนอำนาจหน้าที่ดังกล่าวไปให้หน่วยงานอื่นที่มิใช่ กระทรวง ทบวง กรม ควรจะไปอยู่รวมกับกระทรวง ทบวง กรมอื่น รัฐบาลก็สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่รัฐบาลประสงค์จะตั้งหน่วยงานใหม่ เช่น กระทรวงจราจร กระทรวงสิ่งแวดล้อม กระทรวงสตรีเด็กและเยาวชน อันเป็นนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภา รัฐบาลก็สามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงทีสอดคล้องกับสถานการณ์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น
2) รัฐธรรมนูญยังบัญญัติถึงเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่องอันมีผลต่อการปฏิรูประบบราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เช่น
2) รัฐธรรมนูญยังบัญญัติถึงเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่องอันมีผลต่อการปฏิรูประบบราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เช่น
- มาตรา 40 บัญญัติให้มีการจัดตั้ง “องค์กรของรัฐที่มีความเป็นอิสระ” ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคม อันจะมีผลทำให้ต้องหันกลับมาทบทวน “องค์กรนิติบุคคลมหาชน” ในประเทศไทยเสียใหม่ จากแต่เดิมที่มีส่วนราชการ ไม่ว่าจะเป็นราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจเท่านั้น
- มาตรา 46 บัญญัติถึง “ชุมชนท้องถิ่นดังเดิม” ที่มีสิทธิในการอนุรักษ์ หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ หรือวัฒนธรรมอันดีของทั้งถิ่น และของชาติ และมีส่วนรวมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล และยั่งยืนอำนาจหน้าที่ดังกล่าว เดิมเป็นของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ เมื่อมาตรา 46 บัญญัติไว้เช่นนี้หน่วยราชการต่างๆ ก็จะต้องปรับทัศนคติในการทำงานเพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมมีส่วนร่วมมาก ขึ้น หน่วยราชการต่างๆ ก็จะต้องปรับทัศนคติในการทำงานเพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมมีส่วนร่วมมาก ขึ้น หน่วยราชการต่างๆ จะต้องเรียนรู้การทำงานร่วมกับเอกชน และปรับวิธีการทำงานเสียใหม่ จากระบบ “ชี้นิ้วสั่งการ” ผู้อื่นมาเป็นระบบ “ทำงานร่วมกัน” กับคนอื่น
- มาตรา 58 รับรองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึง และรับทราบข้อมูล หรือข่าวสารของทางราชการ อันเป็นการกลับหลักเกณฑ์เดิมที่ถือว่าข้อมูลข่าวสารของทางราชการนั้น “การปิดลับเป็นหลัก การเปิดเผยเป็นข้อยกเว้น” มาสู่หลักเกณฑ์ “การเปิดเผยเป็นหลัก การปิดลับเป็นข้อยกเว้น” การรับรองสิทธิดังกล่าวข้างต้นเรียกร้องให้หน่วยราชการต้องปรับตัวในเรื่อง ระบบข่าวสารทั้งหมด ซึ่งมีรายละเอียดจะอยู่ในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540
- มาตรา 59 บัญญัติรับรองการมีส่วนรวมของประชาชนในกระบวนการประชาพิจารณ์ ซึ่งจะทำให้การดำเนินการโครงการหรือกิจกรรมใดของหน่วยราชการที่อาจมีผลกระทบ ต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียอื่นใดของประชาชน หรือชุมชนท้องถิ่น จะต้องให้ประชาชนมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชีแจ้ง และเหตุผล และมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวได้
- มาตรา 60 บัญญัติรับรองการมีส่วนรวมของประชาชนในการดำเนินการออกคำสั่งของหน่วยงานและ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งปัจจุบันมีพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการปกครอง พ.ศ.2539 บัญญัติถึงเรื่องนี้ไว้โดยตรง ฯลฯ
การปฏิรูปราชการส่วนท้องถิ่น
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ทำการปฏิรูปราชการส่วนท้องถิ่น 6 ประเด็นด้วยเช่นกัน
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ทำการปฏิรูปราชการส่วนท้องถิ่น 6 ประเด็นด้วยเช่นกัน
- โครงสร้าง มาตรา 258 บัญญัติให้
- ท้องถิ่นทั้งหลายต้องมีองค์กร 2 องค์กร ได้แก่ สภาท้องถิ่น และฝ่ายบริหารท้องถิ่นซึ่งมีผลกระทบต่อสุขาภิบาลที่เดิมมีองค์กรพียงองค์กร เดียว คือ คณะกรรมการสุขาภิบาล
- สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงเท่านั้น ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยา
- ฝ่ายบริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งหรือความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล
- วาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาท้องถิ่น และฝ่ายบริหารท้องถิ่น ถือ 4 ปี ซึ่งมีผลกระทบต่อเทศบาล
- อำนาจหน้าที่ มาตรา 284 บัญญัติให้มีการกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะระหว่าง รัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง โดยจะต้องคำนึงถึงการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นให้แก่ท้องถิ่นเป็นสำคัญนอกจากนี้ มาตรา 289 และ 290 ยังบัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น การจัดการศึกษาอบรม และการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่นนั้น ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- รายได้ มาตรา 284 บัญญัติให้มีการจัดสรรสัดส่วนภาษี และอากรระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยคำนึงถึงภาระหน้าที่ของรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเองเป็นสำคัญ
- การบริหารงานบุคคล มาตรา 288 บัญญัติให้มีองค์กรบริหารงานบุคคลท้องถิ่นที่มีอยู่กระจัดกระจายเขาเป็น องค์กรเดียว เรียกว่า คณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) ซึ่งเท่ากับเป็นการยกเลิก ก.ก ก.ท. ก.จ. และ ก.สภ. นอกจากนี้ยังกำหนดโครงสร้างของ ก.ถ. ว่าจะต้องประกอบด้วย ผู้แทนของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเท่าๆ กัน
- การให้ประชาชนมีส่วนรวมในการปกครองท้องถิ่นมากขึ้น ได้แก่ การให้ประชาชนถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่นได้ (มาตรา 286) และการให้ประชาชนสามารถเสนอร่างกฎหมายท้องถิ่นได้ (มาตรา 287)
- การกำกับดูแล มาตรา 283 วรรค 2 บัญญัติเงื่อนที่รัฐจะไปกำกับดูแลท้องถิ่นให้เข้มงวดมากขึ้น การกำกับดูแลของรัฐจะต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ต้องทำเท่าที่จำเป็น
- เพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น หรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม
- จะกระทบถึงสาระสำคัญแห่งหลักการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นไม่ได้
- จะกำกับดูแลนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้มิได้
2. กลไกของรัฐในทางตุลาการ
การปฏิรูปโครงสร้างศาล
เดิมทีนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า ประเทศไทยมีศาลเพียงศาลเดียว คือ ศาลยุติธรรมที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรคดี แม้จะมีศาลทหารแต่ก็เป็นศาลที่มีอำนาจหน้าที่อย่างจำกัด นอกจากนี้ ตุลาการรัฐธรรมนูญก็ยังมิใช่ศาลอย่างแท้จริง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้จัดตั้งศาลใหม่ขึ้นอีก 2 ประเภท ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง คู่ขนานไปกับศาลยุติธรรม
ศาลรัฐธรรมนูญ
1) องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ ตามาตรา 255 มี 15 คน มาจากผู้พิพากษาศาลฎีกา 5 คน ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ 3 คน อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ยังไม่มีศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญจะประกอบด้วยตุลาการ 13 คน
2) อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ คือ
(1) มาตรา 47 วินิจฉัยว่ามติหรือข้อบังคับของพรรคขัดรัฐธรรมนูญ
(2) มาตรา 63 วินิจฉัยกรณีบุคคลหรือพรรคการเมืองล้มล้างระบอบประชาธิปไตย อาจสั่งยุบพรรคได้
(3) มาตรา 96 พิจารณาคำร้องจากประธานสภาฯ ว่าสมาชิกผู้ใดขาดสมาชิกภาพ
(4) มาตรา 118 (8) พิจารณาคำร้องอุทธรณ์จาก ส.ส. ที่ถูกพรรคมีมติให้พ้นจากสมาชิกพรรค
(5) มาตรา142 พิจารณาคำร้องจากประธานรัฐสภา ว่ากรรมการการเลือกตั้งขาดคุณสมบัติ
(6) มาตรา 177วินิจฉัยกรณีเสนอร่างกฎหมายที่มีหลักการเดียวกันเข้ามาในรัฐสภาระหว่างการยับยั้ง
(7) มาตรา 180 วรรค 6-7 ส.ส. และ ส.ว. จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า ส.ส. ส.ว. และกรรมาธิการมีส่วนโดยอ้อม ในการใช้งบประมาณรายจ่ายหรือไม่
(8) มาตรา 198 พิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเสนอ
(9) มาตรา 219 วินิจฉัยว่าพระราชกำหนดขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
(10) มาตรา 262 วินิจฉัยว่าร่างกฎหมายที่ผ่านสภาแล้ว แต่ก่อนลงพระปรมาภิไธยผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ตามที่สมาชิกรัฐสภาหรือนายกรัฐมนตรีเสนอ
(11) มาตรา 263 วินิจฉัยว่าร่างข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
(12) มาตรา 264 วินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ตามที่ศาลส่งความเห็นมา เมื่อศาลเห็นเอง หรือคู่ความยกมาโต้แย้ง
(13) มาตรา 266 วินิจฉัยความเห็นที่องค์กรหรือประธานรัฐสภาส่งมากรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ
(14) มาตรา 315 พิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของระเบียบของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่กำหนด ขึ้นใช้ก่อนมีกฎหมายการเลือกตั้ง ส.ส. โดยมาใช้บังคับกับการเลือกตั้ง ส.ว.
(15) มาตรา 319 พิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของระเบียบที่คณะกรรมการการเลือก ตั้งกำหนดขึ้นใช้ก่อนมีกฎหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(16) มาตรา 321 พิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของระเบียบ ป.ป.ป. อันจำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ ป.ป.ช. ก่อนมีกฎหมาย ป.ป.ช
การปฏิรูปโครงสร้างศาล
เดิมทีนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า ประเทศไทยมีศาลเพียงศาลเดียว คือ ศาลยุติธรรมที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรคดี แม้จะมีศาลทหารแต่ก็เป็นศาลที่มีอำนาจหน้าที่อย่างจำกัด นอกจากนี้ ตุลาการรัฐธรรมนูญก็ยังมิใช่ศาลอย่างแท้จริง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้จัดตั้งศาลใหม่ขึ้นอีก 2 ประเภท ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง คู่ขนานไปกับศาลยุติธรรม
ศาลรัฐธรรมนูญ
1) องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ ตามาตรา 255 มี 15 คน มาจากผู้พิพากษาศาลฎีกา 5 คน ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ 3 คน อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ยังไม่มีศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญจะประกอบด้วยตุลาการ 13 คน
2) อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ คือ
(1) มาตรา 47 วินิจฉัยว่ามติหรือข้อบังคับของพรรคขัดรัฐธรรมนูญ
(2) มาตรา 63 วินิจฉัยกรณีบุคคลหรือพรรคการเมืองล้มล้างระบอบประชาธิปไตย อาจสั่งยุบพรรคได้
(3) มาตรา 96 พิจารณาคำร้องจากประธานสภาฯ ว่าสมาชิกผู้ใดขาดสมาชิกภาพ
(4) มาตรา 118 (8) พิจารณาคำร้องอุทธรณ์จาก ส.ส. ที่ถูกพรรคมีมติให้พ้นจากสมาชิกพรรค
(5) มาตรา142 พิจารณาคำร้องจากประธานรัฐสภา ว่ากรรมการการเลือกตั้งขาดคุณสมบัติ
(6) มาตรา 177วินิจฉัยกรณีเสนอร่างกฎหมายที่มีหลักการเดียวกันเข้ามาในรัฐสภาระหว่างการยับยั้ง
(7) มาตรา 180 วรรค 6-7 ส.ส. และ ส.ว. จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า ส.ส. ส.ว. และกรรมาธิการมีส่วนโดยอ้อม ในการใช้งบประมาณรายจ่ายหรือไม่
(8) มาตรา 198 พิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเสนอ
(9) มาตรา 219 วินิจฉัยว่าพระราชกำหนดขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
(10) มาตรา 262 วินิจฉัยว่าร่างกฎหมายที่ผ่านสภาแล้ว แต่ก่อนลงพระปรมาภิไธยผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ตามที่สมาชิกรัฐสภาหรือนายกรัฐมนตรีเสนอ
(11) มาตรา 263 วินิจฉัยว่าร่างข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
(12) มาตรา 264 วินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ตามที่ศาลส่งความเห็นมา เมื่อศาลเห็นเอง หรือคู่ความยกมาโต้แย้ง
(13) มาตรา 266 วินิจฉัยความเห็นที่องค์กรหรือประธานรัฐสภาส่งมากรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ
(14) มาตรา 315 พิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของระเบียบของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่กำหนด ขึ้นใช้ก่อนมีกฎหมายการเลือกตั้ง ส.ส. โดยมาใช้บังคับกับการเลือกตั้ง ส.ว.
(15) มาตรา 319 พิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของระเบียบที่คณะกรรมการการเลือก ตั้งกำหนดขึ้นใช้ก่อนมีกฎหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(16) มาตรา 321 พิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของระเบียบ ป.ป.ป. อันจำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ ป.ป.ช. ก่อนมีกฎหมาย ป.ป.ช
ศาลปกครอง
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมิใช่รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติ ให้มีศาลปกครอง เพราะรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2534 ก็มีบทบัญญัติในเรื่องศาลปกครองเช่นเดียวกัน แต่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญที่บัญญัติเรื่องศาลปกครองในระบบ “ศาลคู่” ซึ่งเป็นระบบที่แยกคดีปกครองออกจากคดีแพ่ง และคดีอาญาทั่วไป คดีปกครองมีศาลปกครองทำหน้าที่วินิจฉัย คดีแพ่งและคดีอาญามีศาลยุติธรรมทำหน้าที่ชี้ขาด ศาลปกครองและศาลยุติธรรมต่างก็มีศาล 3 ชั้นเคียงคู่ขนานกันไป
รัฐธรรมนูญมาตรา 276 บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นคดีข้อพิพาทระหว่าง หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับ เอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วย ราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
การปฏิรูปกระบวนการทำงานของศาล
การนั่งพิจารณาคดี มาตรา 236 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า “การนั่งพิจารณาคดีของศาลจะต้องมีผู้พิพากษาหรือตุลาการครบองค์คณะ และผู้พิพากษาหรือตุลาการซึ่งมิได้นั่งพิจารณาคดีใด จะทำคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยนั้นมิได้ เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย หรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้”
เพิ่มความอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
มาตรา 249 วรรค 2 บัญญัติว่า “การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของผู้พิพากษาและตุลาการไม่อยู่ภายใต้การบังคับ บัญชาตามลำดับขั้น นอกจากนี้” มาตรา 249 วรรค 5 ยังบัญญัติว่า “การโยกย้ายผู้พิพากษาและตุลาการ โดยมิได้รับความยินยอมจากผู้พิพากษาและตุลาการนั้นจะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นการโยกย้ายตามวาระที่กฎหมายบัญญัติ เป็นการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น เป็นกรณีที่อยู่ในระหว่างถูกดำเนินการทางวินัย หรือตกเป็นจำเลยในคดีอาญา
การจ่าย การเรียกคืน และการโอนสำนวนคดี
มาตรา 249 วรรค 3 และ วรรค 4 บัญญัติให้ การจ่ายสำนวนคดีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติและการเรียนคืนสำนวน คดีจะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษา อรรถคดี
การให้ผู้พิพากษาที่ครบเกษียณอายุราชการสามารถดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสได้
เป็นที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบันระบบศาลยุติธรรมของเรานั้น เป็นระบบที่มีการเลื่อนตำแหน่งไปตามอายุราชการโดยระบบอาวุโส ศาลชั้นต้นจึงแทบไม่มีผู้พิพากษาอาวุโสที่มีประสบการณ์นั่งพิจารณาพิพากษา คดีเลย อันกระทบต่อคุณภาพของคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นอย่างมาก รัฐธรรมนูญมาตรา 334 (2) ได้บัญญัติให้มีการตรากฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมซึ่งจะ มีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ในปีงบประมาณใด ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส เพื่อนั่งพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ จนถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้พิพากษาผู้นั้นอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และหากผู้พิพากษาอาวุโสใดผ่านการประเมินตามที่กฎหมายบัญญัติยังมีสมรรถภาพใน การปฏิบัติหน้าที่ ก็ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปจนถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้พิพากษาผู้นั้นมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์
การสร้างกลไกในการชี้ขาดข้อขัดแย้งระหว่างศาลต่างๆ
เดิมเรื่องนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของตุลาการรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้เปลี่ยน แปลงหลักการดังกล่าว โดยบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดหนึ่ง มาตรา 248 บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยคณะกรรมการคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลอื่น และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกิน 4 คน ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นกรรมการ
3. องค์กรอื่นๆ ตามรัฐธรรมนูญ
แนวความคิดที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการนั้น กล่าวได้ว่าเป็นแนวความคิดที่ไม่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะมีอำนาจอธิปไตยเพียงหนึ่งเดียว แต่แยกใช้โดยองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น และในปัจจุบันรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติถึงองค์กรนิติบัญญัติ องค์กรบริหาร และองค์กรตุลาการเท่านั้น องค์กรหลายองค์กรได้รับการจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ และมีอำนาจหน้าที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก จนน่าจะจัดองค์กรเหล่านี้ออกมาอีกกลุ่มต่างหาก
ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีองค์กรที่ได้รับจัดตั้งขึ้นใหม่อยู่ 6 องค์กรด้วยกัน
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีหน้าที่ที่สำคัญ 2 ประการ (มาตรา 89) คือ
รัฐธรรมนูญมาตรา 276 บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นคดีข้อพิพาทระหว่าง หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับ เอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วย ราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
การปฏิรูปกระบวนการทำงานของศาล
การนั่งพิจารณาคดี มาตรา 236 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า “การนั่งพิจารณาคดีของศาลจะต้องมีผู้พิพากษาหรือตุลาการครบองค์คณะ และผู้พิพากษาหรือตุลาการซึ่งมิได้นั่งพิจารณาคดีใด จะทำคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยนั้นมิได้ เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย หรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้”
เพิ่มความอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
มาตรา 249 วรรค 2 บัญญัติว่า “การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของผู้พิพากษาและตุลาการไม่อยู่ภายใต้การบังคับ บัญชาตามลำดับขั้น นอกจากนี้” มาตรา 249 วรรค 5 ยังบัญญัติว่า “การโยกย้ายผู้พิพากษาและตุลาการ โดยมิได้รับความยินยอมจากผู้พิพากษาและตุลาการนั้นจะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นการโยกย้ายตามวาระที่กฎหมายบัญญัติ เป็นการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น เป็นกรณีที่อยู่ในระหว่างถูกดำเนินการทางวินัย หรือตกเป็นจำเลยในคดีอาญา
การจ่าย การเรียกคืน และการโอนสำนวนคดี
มาตรา 249 วรรค 3 และ วรรค 4 บัญญัติให้ การจ่ายสำนวนคดีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติและการเรียนคืนสำนวน คดีจะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษา อรรถคดี
การให้ผู้พิพากษาที่ครบเกษียณอายุราชการสามารถดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสได้
เป็นที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบันระบบศาลยุติธรรมของเรานั้น เป็นระบบที่มีการเลื่อนตำแหน่งไปตามอายุราชการโดยระบบอาวุโส ศาลชั้นต้นจึงแทบไม่มีผู้พิพากษาอาวุโสที่มีประสบการณ์นั่งพิจารณาพิพากษา คดีเลย อันกระทบต่อคุณภาพของคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นอย่างมาก รัฐธรรมนูญมาตรา 334 (2) ได้บัญญัติให้มีการตรากฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมซึ่งจะ มีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ในปีงบประมาณใด ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส เพื่อนั่งพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ จนถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้พิพากษาผู้นั้นอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และหากผู้พิพากษาอาวุโสใดผ่านการประเมินตามที่กฎหมายบัญญัติยังมีสมรรถภาพใน การปฏิบัติหน้าที่ ก็ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปจนถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้พิพากษาผู้นั้นมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์
การสร้างกลไกในการชี้ขาดข้อขัดแย้งระหว่างศาลต่างๆ
เดิมเรื่องนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของตุลาการรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้เปลี่ยน แปลงหลักการดังกล่าว โดยบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดหนึ่ง มาตรา 248 บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยคณะกรรมการคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลอื่น และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกิน 4 คน ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นกรรมการ
3. องค์กรอื่นๆ ตามรัฐธรรมนูญ
แนวความคิดที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการนั้น กล่าวได้ว่าเป็นแนวความคิดที่ไม่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะมีอำนาจอธิปไตยเพียงหนึ่งเดียว แต่แยกใช้โดยองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น และในปัจจุบันรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติถึงองค์กรนิติบัญญัติ องค์กรบริหาร และองค์กรตุลาการเท่านั้น องค์กรหลายองค์กรได้รับการจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ และมีอำนาจหน้าที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก จนน่าจะจัดองค์กรเหล่านี้ออกมาอีกกลุ่มต่างหาก
ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีองค์กรที่ได้รับจัดตั้งขึ้นใหม่อยู่ 6 องค์กรด้วยกัน
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีหน้าที่ที่สำคัญ 2 ประการ (มาตรา 89) คือ
- ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม
- ให้ความเห็นต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือแผ่นอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
คณะกรรมการการเลือกตั้ง
คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอีก 4 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ ประจักษ์ (มาตรา 136)
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ออกประกาศกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายตามมาครา 144 วรรค 2
- มีตำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ปฏิบัติการทั้งหลายอันจำเป็นตามกฎหมาย ตามมาตรา 144 วรรค 2
- สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย ตามมาตรา 144 วรรค 2
- สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรืออกเสียงประชามติในหน่วยเลือกตั้งใดหน่วย เลือกตั้งหนึ่ง หรือทุกหน่วยเลือกตั้ง เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งหรือการออกเยงประชามติในหน่วย เลือกตั้งนั้นๆ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
- ประกาศผลการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ
- ดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ
ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคล ใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนให้ศาล พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการเพื่อประโยชน์แห่งการปฏิบัติหน้าที่การสืบสวน สอบสวน หรือวินิจฉัยชี้ขาด
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือผู้แทนองค์กรเอกชน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมาย (มาตรา 145)
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือผู้แทนองค์กรเอกชน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมาย (มาตรา 145)
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีจำนวนไม่เกิน 3 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา มีอำนาจหน้าที่พิจารณา และสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนและจัดทำรายงานพร้อมทั้งความเห็นและ ข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีก 10 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา โดยคณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่อย่างกว้างขวางทั้งการตรวจสอบและรายงานการ ละเมิดสิทธิมนุษยชน การเสนอแนะนโยบาย และการปรับปรุงกฎหมาย การส่งเสริมการศึกษาและการวิจัย การส่งเสริมความร่วมมือและประสานงานระหว่างองค์กรต่างๆ จัดทำรายงานประจำปี เพื่อเสนอต่อรัฐสภา
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีก 9 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชีของหน่วยงานต่างๆ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยประธานคณะกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก 8 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาโดยมีอำนาจหน้าที่ที่ สำคัญ 4 ประการ คือ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีก 10 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา โดยคณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่อย่างกว้างขวางทั้งการตรวจสอบและรายงานการ ละเมิดสิทธิมนุษยชน การเสนอแนะนโยบาย และการปรับปรุงกฎหมาย การส่งเสริมการศึกษาและการวิจัย การส่งเสริมความร่วมมือและประสานงานระหว่างองค์กรต่างๆ จัดทำรายงานประจำปี เพื่อเสนอต่อรัฐสภา
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีก 9 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชีของหน่วยงานต่างๆ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยประธานคณะกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก 8 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาโดยมีอำนาจหน้าที่ที่ สำคัญ 4 ประการ คือ
- ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวน พร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อวุฒิสภาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และบุคคลอื่นที่มาตรา 303 บัญญัติไว้มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย เพื่อให้วุฒิสภาถอดถอนออกจากตำแหน่ง
- ไต่สวนข้อเท็จจริง และสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นส่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมือง ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
- ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม เพื่อดำเนินการต่อไป ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
- ตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงทรัพย์สิน และหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามบัญชีและเอกสารประกอบที่ได้ยื่นไว้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น