จำนวนผู้เข้ามาเยี่ยมชม

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติบุคคลสำคัญของไทย

สมัยธนบุรี

 
 
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  
 
พระราชประวัติ
                          สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีนามเดิมว่า  สิน  ประสูติเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗   ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  เป็นบุตรของนายไหฮอง และนางนกเอี้ยง   เจ้าพระยาจักรีรับไปเป็นบุตรบุญธรรม   ต่อมาเข้ารับราชการจนได้ตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองตาก และเป็นเจ้าเมืองตากครั้นเมื่อพม่าล้อมกรุงใน พ.ศ. ๒๓๐๘  พระยาตากถูกเรียกตัวเข้าป้องกันพระนครหลวง  แต่เกิดท้อใจว่าหากสู้กับพม่าที่อยุธยาต้องเสียชีวิตโดยเปล่าประโยชน์เป็นแน่  จึงพาทัพตีฝ่าหนีไปตั้งตัวที่จันทบูร พอถึงเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยา  ก็เสียแก่พม่า แต่หลังจากนั้น ๗ เดือน  พระยาตากก็ได้ยกทัพมาขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาได้ทั้งหมด แต่เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาเสียหายมาก  จึงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง  และประกอบพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔   แต่คนทั่วไปนิยมออกพระนามว่า  สมเด็จพระเจ้าตากสิน  พร้อมทั้งพระราชทานนามเมืองว่า  กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร   เหตุที่เลือกธนบุรีเป็นเมืองหลวง  เนื่อง จากทรงเห็นว่าธนบุรีเป็นเมืองเล็กป้องกันรักษาง่ายอยู่ใกล้ปากอ่าวสะดวกแก่ การติดต่อค้าขายกับต่างชาติ และการลำเลียงอาวุธ มีเส้นทางคมนาคมสะดวกโดยเฉพาะทางเรือมีแม่น้ำคั่นกลาง  เช่นเดียวกับพิษณุโลกและสุพรรณบุรี  เพื่อจะได้ใช้กองทัพเรือสนับสนุนการรบ  และตั้งอยู่ไม่ไกลศูนย์กลางเดิมมากนัก เป็นแหล่งรวมขวัญและกำลังใจของผู้คน โดยอาศัยมีผู้นำที่เข้มแข็ง  

 
พระราชกรณียกิจที่สำคัญที่สุด
        การรวบรวมบรรดาหัวเมืองต่างๆ เข้าอยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน เนื่องจากมีคนพยายามตั้งตัวขึ้นเป็นผู้นำในท้องถิ่นต่างๆ มากมาย  เช่น  ชุมนุมเจ้าเมืองพิษณุโลก ชุมนุมเจ้าเมืองพิมาย ชุมนุมเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น    ตลอด รัชกาล มีศึกสงครามเกิดขึ้นมากมาย ได้แก่ ศึกพม่าที่บางกุ้ง ศึกเมืองเขมร ศึกเมืองเชียงใหม่ ศึกเมืองพิชัย ศึกบางแก้ว ศึกอะแซหวุ่นกี้ ศึกจำปาศักดิ์ ศึกวียงจันทน์   ซึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรีได้รับชัยชนะในการศึกมาโดยตลอดในสมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย  จากหลักฐานต่างๆ มีระบุไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีสติฟั่นเฟือน  ไม่อยู่ในทศพิธราชธรรม  กระทำการข่มเหงประชาราษฎร์ให้ได้รับความเดือดร้อน  เป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายในกรุงธนบุรี  พระยาสรรค์กับพวกควบคุมสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไว้  ต่อมาสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)  ได้ยกทัพกลับจากการปราบจลาจลที่เขมร  และปรึกษากับเหล่าขุนนางกรณีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  โดยเห็นว่าควรนำไปประหารชีวิต สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  สวรรคตเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕


 ที่มา: http://personinhistory.exteen.com/page-1

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น