จำนวนผู้เข้ามาเยี่ยมชม

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติบุคคลสำคัญของไทย

สมเด็จย่า

   
                                   สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี   
 
                                                                   พระราชประวัติ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระนามเดิมว่า สังวาลย์ ตะละภัฏ พระราชสมภพเมื่อ  วันอาทิตย์ที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๓   ทรงเป็นบุตรคนที่ ๓ ใน พระชนกชู และ พระชนนีคำ ทรงมีพระภคินี และพระเชษฐา ๒ คนซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัย คงเหลือแต่พระอนุชาอ่อนกว่าพระองค์ ๒ ปี คือ คุณถมยา
 
ต่อมาเมื่อ พระองค์ถูกส่งไปศึกษาที่โรงเรียนสตรีวิทยา โดยประทับอยู่บ้าน คุณหวน หงสกุล เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงตัดสินพระทัยเข้าโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช  ตามคำชักชวนจากพระยาดำรงแพทยกุล  หลังจากสำเร็จการศึกษา ทรงได้รับการคัดเลือกให้ไปทรงศึกษาวิชาพยาบาลต่อที่ โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดสหรัฐอเมริกา  พร้อมกับนางสาวอุบล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์
 
ขณะที่กำลังทรงศึกษาวิชาแพทย์ปีที่ ๑  สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงพบและพอพระทัยกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  ด้วยมีพระสิริโฉมงดงาม  พระอุปนิสัย  และพระคุณสมบัติอื่นๆ ดังนั้นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ  กรมขุน สงขลานครินทร์จึงทรงมีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชมารดาขอพระราชทานพระราชานุญาตหมั้นกับ นางสาวสังวาลย์  และเมื่อถึงวันศุกร์ที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้มีพิธีอภิเษกสมรสที่วังสระปทุม และหลังจากได้อภิเษกสมรสแล้ว  ทั้ง ๒ พระองค์ได้ตามเสด็จด้วยกันไปประพาสเมืองต่างๆ ในทวีปยุโรป และ สหรัฐอเมริกา เพื่อทรงไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และสถาบันเอ็มไอที เมืองบอสตัน  ส่วนสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงเรียนหลักสูตรเตรียมพยาบาลที่วิทยาลัยซิมมอนส์ เมืองบอสตัน
 
หลังจากทั้ง ๒ พระองค์ทรงจบการศึกษาแล้ว จึงทรงเสด็จไปที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนนี ได้ประสูติพระราชธิดาพระองค์แรก เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา มหิดล  ซึ่งภายหลังทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
 
ในเดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๖  ทั้ง ๒ พระองค์ได้เสด็จกลับเมืองไทยพร้อมด้วยพระราชธิดา  เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้สมเด็จพระบรมราชชนกทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย  ประทับอยู่ได้ประมาณ ๒๐ เดือน  ก็ ทรงประชวร แพทย์จึงถวายคำแนะนำให้ประทับในที่อากาศเย็น ที่เมือง ไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนี สมเด็จพระบรมราชชนนี และพระราชธิดาจึงได้ตามเสด็จไปประทับด้วย   
 
สมเด็จพระศรี นครินทราบรมราชชนนี ได้ประสูติพระราชโอรสพระองค์แรก เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระนามว่า หม่อมเจ้าอานันทมหิดล 
 
ในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต ทั้ง ๒ สมเด็จพระบรมราชชนกจึงทรงต้องเสด็จกลับกรุงเทพฯ เพียงพระองค์เดียว  เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพ และประทับอยู่จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๙
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี  ได้ประสูติพระราชโอรสองค์ที่สองที่  โรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์  สหรัฐอเมริกา ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า  พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช
 
                ขณะที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงศึกษาวิชาแพทย์ปีสุดท้ายอยู่ที่เมืองบอสตัน ทรงประชวรโรคพระวักกะกำเริบ และพระโรคหวัด  แต่ก็ยังทรงสามารถสอบได้ปริญญาแพทยศาสตร์ขั้นเกียรตินิยม แต่หลังจากสอบเสร็จ และประชวรพระโรคไส้ติ่งอักเสบ   ทั้งสองพระองค์ได้พาพระราชโอรสธิดาเดินทางกลับประเทศไทย  โดยประทับที่พระตำหนักใหม่สร้างขึ้นในวังสระปทุม ถนนพญาไท 
 
เมื่อเดือน เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกทรงรับเชิญเป็นแพทย์ประจำบ้าน จากโรงพยาบาลแมคคอร์มิก จังหวัดเชียงใหม่ และในเดือนต่อมาก็ทรงเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นก็ทรงพระประชวรอยู่ เป็นระยะเวลาประมาณ ๔ เดือนก็สิ้นพระชนม์ เมื่อ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ที่พระตำหนักใหม่ วังสระปทุม  ในขณะที่สมเด็จพระบรมราชชนกสิ้นพระชนม์  สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงมีพระชนมายุเพียง ๒๙ พรรษา ทรงต้องรับหน้าที่อบรมเลี้ยงดูพระราชโอรสธิดาทั้งสามพระองค์ตามลำพัง
 
               เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑  คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ประกาศสถาปนา  พระอิสริยยศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์    นอกจากนั้นพระองค์ยังพระราชทานเงินส่วนพระองค์สร้างโรงพยาบาลอานันทมหิดล  จังหวัดลพบุรี  สร้างสุขศาลา  จังหวัดสมุทรสาคร  เมื่อวันที่  ๒๔  มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑   
 
                                                  พระราชกรณียกิจ  
 
พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  ที่ ทรงมีต่อชาวไทยและประเทศชาตินั้นใหญ่หลวงมาก เพราะตั้งแต่ทรงเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ทรงมีพระอุตสาหวิริยะสูงในการทรงงาน เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ตั้งแต่เหนือสุด จรด ใต้สุด
 
                                     การแพทย์ พยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา  
 
สมเด็จย่าทรงจัดตั้งหน่วยและมูลนิธิที่สำคัญขึ้น  ดังนี้
 
 - หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี(พอ.สว.)   เป็น หน่วยแพทย์อาสาเคลื่อนที่ที่เดินไปในถิ่นทุรกันดาร ประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และสมาชิกสมทบอีกคณะหนึ่ง ซึ่งไม่ได้รับสิ่งตอบแทน และ เบี้ยเลี้ยง เงินเดือน - มูลนิธิขาเทียม   จัดตั้งเมื่อ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ - มูลนิธิถันยรักษ์   ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เพื่อใช้เป็นสถานที่ตรวจวินิจฉัยเต้านม - ทรงบริจาคเงินเพื่อสร้างโรงเรียนกว่า ๑๘๕ โรงเรียน  และทรงรับเอาโครงการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไว้ในพระราชูปถัมภ์
 
                               การอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม         
                      
                สมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็นพระราชวงศ์ที่โปรดธรรมชาติมาก ทรงสร้างพระตำหนักดอยตุง ขึ้นบริเวณดอยตุง เนื้อที่ ๒๙ ไร่ ๓ งาน ที่บ้านอีก้อป่ากล้วย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เอง ในพื้นที่เช่าของกรมป่าไม้เป็นเวลานาน ๓๐ ปี มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๑๐๐๐ เมตร โดยทรงเรียกพระตำหนักนี้ว่า บ้านที่ดอยตุง ทรงพัฒนาดอยตุง และส่งเสริมงานให้ชาวเขาอีกด้วย ดังนี้
 
 
                 -  โครงการพัฒนาดอยตุง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑
 
                 -  ทรงพระราชทานกล้าไม้แก่ผู้ตามเสด็จ และทรงปลูกป่าด้วยพระองค์เอง
 
                 -  ทรงนำเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิกา และไม้ดอกมาปลูก
 
                 -  โครงการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่ง  กล้วย  กล้วยไม้  
เห็ดหลินจือ  สตรอเบอร์รี่
 
                -  จัดตั้งศูนย์บำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ที่บ้านผาหมี ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 
 
                 จาก พระราชอุตสาหะดังกล่าว และโครงการที่ยังมิได้นำเสนอขึ้นมาข้างต้นนี้ ยอดดอยที่เคยหัวโล้นด้วยการถางป่า ทำไร่เลื่อนลอยปลูกฝิ่น จึงได้กลับกลายมาเป็นดอยที่เต็มไปด้วยป่าไม้ตามเดิม ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงได้รับขนานนามว่า สมเด็จย่าแม่ฟ้าหลวง จากชาวไทย ของชาวไทย
                 ใน วันอังคารที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงได้เสด็จสวรรคต แต่พระเกียรติคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงปรารถนาให้ชาวไทยมีความสุข ยังคงสถิตถาวรอยู่ในความทรงจำของพสกนิกรทั่วไทยตลอดกาล และในวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพครบรอบ ๑๐๐ ปี องค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้เฉลิมพระเกียรติยกย่องให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็น บุคคลสำคัญของโลก  


ที่มา: http://personinhistory.exteen.com/page-7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น