รัฐธรรมนูญไทย
วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี ถือเป็นวันรัฐธรรมนูญของไทย เป็นวันคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทาน รัฐธรรมนูญแผ่งราชอาณาจักรสยาม เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยมีพระปรารภหวังว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะเป็นที่สถาพร มีประสิทธิภาพ เป็นบ่อเกิดแห่งความสุขของประชาชน และนำให้ประเทศชาติบ้านเมือง บรรลุถึงความเจริญวัฒนา เท่าเทียมนานาประเทศ
พระราชทานรัฐธรรมนูญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม วันที่ 10 ธันวาคม 2475 ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับถาวร สำหรับพระราชทานให้ใช้เป็นกฎหมายสูงสุด ในการปกครองอาณาจักรสยาม ในระบอบประชาธิปไตย | |
พระราชทานวโรกาส ให้คณะราษฎร ข้าราชการ ทหาร พลเรือนและประชาชน เข้าเฝ้าทูลละอองธุรีพระบาท เสด็จออก สีหบัญชร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมพระราชวังดุสิต หลังจากทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว | |
พิธีสมโภชรัฐธรรมนูณฉบับถาวร ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระบาทสมเด็จพระปกเเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตระเตรียมที่จะพระราชทานอำนาจอธิปไตย ให้แก่ราษฎรอยู่แล้ว แต่เมื่อมีคณะราษฏร์แสดงความปรารถนาอย่างแรงกล้า โดยเข้ายึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ทรงละพระบรมเดชานุภาพลงด้วย ไม่มีพระประสงค์จะให้มีการขัดใจระหว่างชาวไทยด้วยกัน ทรงเสด็จออก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทรงถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ในพิธีสมโภชรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2475 | |
รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับถาวร ที่ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 สำหรับให้ใช้เป็นกฎหมายสูงสุด ในการปกครองประเทศสยาม ในระบอบประชาธิปไตย |
ทรงสละราชสมบัติ ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่9) เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปในการพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ รัฐสภา ซึ่งเป็นที่ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์นั้น มีลายจารึกพระราชหัตเรขาจำลอง เมื่อครั้งประกาศสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 | |
พระบรมราชานุสาวรีย์ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้สร้างพระบรมรูป เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ ในการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ปวงชนชาวไทย | |
อำนาจนิติบัญญัติ เป็นอำนาจในการบัญญัตกฎหมายต่างๆ ซึ่งประชาชนเป็นผู้เลือกผู้แทนของตนเข้าไปเป็นตัวแทนในรัฐสภา ซึ่งเป็นสภาที่มีหน้าที่บัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งผู้แทนนี้คือ "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์" | |
อำนาจบริหาร เป็นอำนาจในการบริหารประเทศ ฝ่ายบริหารซึ่งได้แก่ คณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญกำหนด เพื่อวางแผนในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ที่ทำเนียบรัฐบาล |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น