จำนวนผู้เข้ามาเยี่ยมชม

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555


พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

หรือ พระพิพัฒน์สัจจา คือ พระราชพิธีศรีสัจปานกาล คำว่า "ปานะ" แปลว่า "เครื่องดื่ม" หรือ "น้ำสำหรับดื่ม"

พิธีศรีสัจปานกาล ก็หมายถึงพิธีดื่มน้ำกระทำสัตย์สาบานเพื่อความสวัสดิมงคลตามวาระ โดยมากเรียกกันสั้นๆ ว่า "ถือน้ำ" คือ ผู้ที่เข้าร่วมในพิธี จะต้องดื่มน้ำล้างอาวุธของพระราชา เพื่อแสดงว่าจะจงรักภักดีต่อพระราชาธิบดีของตน หากผู้ใดมิได้รักษาคำสัตย์ปฏิญาณที่ได้กล่าวไว้ในพิธีนั้น ก็อาจจะต้องมีอันเป็นไปด้วยอาวุธหอกดาบอันใช้จุ่มในน้ำที่ตนดื่ม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ว่า พระราชพิธีนี้เป็นพระราชพิธีใหญ่สำหรับแผ่นดิน เป็นพระราชพิธีสำคัญตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์โดยไม่มี เว้นว่างเพราะมีคำอ้างถึงว่าเป็นพิธีระงับยุคเข็ญของบ้านเมือง

ที่พระองค์กล่าวว่า โบราณ นั้นก็สันนิษฐานกันว่าตั้งแต่สมัยอยุธยาลงมา ด้วยไม่ทราบแน่ชัดว่าในสมัยพระมหากษัตริย์องค์ใด แต่ไม่ใช่สมัยสุโขทัยเพราะเหตุว่าการที่จะเน้นอำนาจกษัตริย์อย่างสูงสุดนั้น สุโขทัยไม่ค่อยมี เพราะฉะนั้นน่าจะมีในสมัยอยุธยาจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 พิธีก็หมดสิ้นไป จนกระทั่งในรัชสมัยพระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาตามแบบโบราณราชประเพณี ผนวกเป็นการเดียวกับพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รา มาธิบดี จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ .2512

วัตถุประสงค์อันสำคัญของพิธีนี้เพื่อหวังจะหล่อหลอมกล่อมขวัญของ บรรดาข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนให้ตั้งอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต ตั้งหน้าปฏิบัติราชการแผ่นดินแต่ในทางที่ถูกที่ควร ไม่ว่าประเทศใดชาติใด หากผู้มีส่วนในการปฏิบัติราชการแผ่นดินปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดีในชาติ ศาสนา และองค์พระประมุขอย่างแนบแน่นมั่นคงแล้วย่อมเป็นพลังขั้นมูลฐานที่สำคัญ ประการหนึ่งสำหรับสร้างความรุ่งเรืองและมั่นคงให้แก่ชาติ ดังนั้นจึงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านที่เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นผู้นำใน การการปฏิบัติราชการแผ่นดินในแขนงสำคัญต่างๆ

ประเพณีการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยานั้นมาจากตามแนวคิดที่ว่ากษัตริย์ เป็นสมมติเทพ ก็คือมาจากอินเดียโดยตรง เนื่องจากทั้งพระเจ้าแผ่นดิน ผู้ปกครองประเทศแต่ก่อนก็ล้วนทรงเป็นนักรบ ดังนั้นจึงได้ยึดถือเอาการกระทำสัตย์ปฏิญาณตนด้วยวิธีดื่มน้ำชำระล้างอาวุธ หรืออีกนัยหนึ่งที่เรียกกันว่า

"พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา" เป็นพิธีสำคัญของบ้านเมืองมาแต่โบราณ แต่ไม่มีหลักฐานว่า ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ประเทศไทยได้รับเอาพิธีนี้มาเป็น

พิธีสำคัญของบ้านเมืองหรือยัง แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีการถือน้ำพระพิพัฒน์สัต ยามาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าอู่ทองเริ่มสร้างกรุงศรีอยุธยาทีเดียว และก็ถือว่าการถือน้ำเป็นพิธีสำคัญซึ่งบรรดาข้าราชการผู้มีหน้าที่สำคัญ เกี่ยวกับความยุติธรรมแห่งบ้านเมืองจะขาดเสียไม่ได้ ถึงกับตราเป็นตัวบทไว้ในกฎมณเฑียรบาลไว้ว่า
  1. ผู้ที่ขาดการถือน้ำพิพัฒน์สัตยามีโทษถึงตาย เว้นแต่ป่วยหนัก
  2. ห้ามสวม "แหวนนากแหวนทอง" มาถือน้ำ
  3. ห้ามบริโภคอาหารหรือน้ำก่อนดื่มน้ำพิพัฒน์
  4. ดื่มน้ำแล้วห้ามยื่นน้ำที่เหลือให้แก่กัน
  5. ดื่มแล้วต้องราดน้ำที่เหลือลงบนผมของตน
ข้อปฏิบัติดังกล่าว เป็นการระวางโทษไว้เหมือนหนึ่งว่า เป็นกบฎ คือโทษใกล้ความตาย และทั้งนี้เพื่อประสงค์จะให้น้ำพิพัฒน์สัตยาที่ทำขึ้นนั้นเป็นน้ำ ศักดิ์สิทธิ์ และดื่มในโอกาสแรกของวันนั้น ต่อมาภายหลัง ปรากฏว่าวิธีการเช่นนั้น ทำความลำบากให้แก่ผู้เข้าร่วมพิธีโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ทนหิวไม่ได้จนอาจถึงกับมี อันเป็นไปก่อนได้ดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอนุญาตให้บริโภคอาหารมาก่อนได้และไม่ถือว่าเป็นกบฏ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น