จำนวนผู้เข้ามาเยี่ยมชม

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

กบฎไพร่ สมัยอยุธยา

จาก : ศิลปวัฒนธรรม : ตุลาคม 2526
โดย : สุเนตร ชุตินธรานนท์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของประวัติ ศาสตร์การเมืองสมัยอยุธยาคือ การแย่งชิงอำนาจทางการเมืองกันภายในกลุ่มผู้นำอยุธยา อันได้แก่พระญาติพระวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่ จุดมุ่งหมายหลักของผู้ประสงค์จะแย่งชิงอำนาจอยู่ที่การเลื่อนฐานะของตนเอง ขึ้นมาเป็นผู้นำสูงสุดเหนือพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจทั้งในการเมืองและเศรษฐกิจของเมืองในเขตลุ่ม น้ำเจ้าพระยาตอนล่างทั้งหมด ลักษณะอีกประการหนึ่งที่ปรากฎอยู่สม่ำเสมอคือความพยายามของผู้นำเมืองสำคัญ ๆ ที่มักแข็งข้อต่อส่วนกลาง โดยมีจุดมุ่งหมายหลักที่จะเอาเมืองที่ตนครองอยู่เป็นฐานกำลังในการแย่งชิง อำนาจจากกษัตริย์ที่ส่วนกลางในภายหลัง หรือมิฉะนั้นก็มีความต้องการเพียงจะแข็งข้อเพื่อไม่ให้ส่วนกลางขยายอำนาจ เข้ามาตักตวงผลประโยชน์ที่ตนจะพึงหาได้ ลักษณะเช่นนี้มักปรากฏในกลุ่มเมืองที่เป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เช่นเมืองนครศรีธรรมราช และตะนาวศรี

กลุ่มผู้แย่งชิงอำนาจทางการเมืองหรือแสดงออกซึ่งการแข็งข้อทางการ เมืองจะเป็นพวกพระญาติพระวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่ทั้งส่วนกลางและระดับท้องถิ่น เป็นสำคัญ

บทบาทของไพร่ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแย่งชิงอำนาจ หรือแข็งข้อต่อกษัตริย์ที่ส่วนกลาง กบฎที่ได้รับความสนใจและถูกขนานนามว่า “กบฎไพร่” บ้างหรือ “กบฎชาวนา” ได้แก่ กบฎญาณพิเชียร (2124) กบฎธรรมเถียร (2237) และ กบฎบุญกว้าง (2241) การนำคติความคิดเรื่องพระศรีอาริย์มาเป็นคำอธิบายหลักของกบฎในสมัยอยุธยา ทั้ง ๆ ที่เอกสารเท่าที่ปรากฎไม่ได้ระบุถึงความผูกพันระหว่างคติพระศรีอาริย์กับกบ ฎทั้งสามครั้ง อย่างมากที่สุดเอกสารจะกล่าวแต่เพียงว่าผู้นำกบฎบางคนแสดงตนเป็นผู้มีบุญ ซึ่งก็ไม่จำเป็นว่าการอ้างตนเป็นผู้มีบุญจะต้องผูกพันกับคติความเชื่อเรื่อง โลกพระศรีอาริย์เสมอไป กบฎทั้งสามครั้งที่เกิดขึ้นเป็นกบฎประเภทเดียวกันทั้งสิ้นคือมีโครงสร้างและ ความเคลื่อนไหว เช่นเดียวกันหมด กบฎทั้งสามครั้งจึงไม่มีทางเลือกที่จะเป็นอื่น นอกไปจากจะต้องเป็น “กบฎไพร่” ซึ่งเป็นกบฎที่มีปัจจัยมาจากปัญหาความอ่อนแอทางการเมืองที่เป็นส่วนกลาง ปัญหาเศรษฐกิจสังคมอันเกิดจากภาวะสงคราม ข้าวยากหมากแพง ตลอดไปจนถึงความทุกข์ยากของไพร่ภายใต้ระบบศักดินาเป็นสำคัญ

ข้อยุติใหม่ที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการประวัติศาสตร์ ปัจจุบันก็คือ ในสมัยอยุธยา ไพร่ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ได้รวมตัวกันขึ้นเพื่อต่อต้านอำนาจของกษัตริย์ที่ส่วนกลางและต่อสู้เพื่อให้ ได้มาซึ่งสภาพความเป็นอยู่ที่ดีกว่า ดังจะเห็นได้จากกบฎญาณพิเชียร กบฎธรรมเถียร และกบฎบุญกว้าง

กบฎทั้งสามครั้งที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยานั้น หากพิจารณาโดยผิวเผินแล้ว ก็ย่อมทำให้เกิดความเข้าใจว่า เป็นกบฎที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เช่นมีผู้นำที่เป็นชาวบ้านที่เคยบวชเรียนมาก่อนและได้ใช้ความรู้ในทางพุทธ และไสยศาสตร์มาเป็นเครื่องมือในการรวบรวมผู้คนเพื่อก่อการกบฎ แต่เมื่อศึกษาให้ลึกลงไปแล้วจะเห็นว่ากบฏทั้งสามครั้งมีลักษณะเฉพาะของตัว เองที่ไม่ซ้ำซ้อนกันอยู่หลายประการ

กบฎญาณพิเชียร
ในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ กล่าวว่า พ.ศ. 2124 ญาณประเชียรเรียนศาสตราคมและคิดเป็นขบถ คนทั้งปวงสมัครเข้าด้วยมาก และยกมาจากเมืองลพบุรี

ญาณประเชียร หรือญาณพิเชียรนั้น สำแดงคุณโกหกแก่ชาวชนบท และได้ช่องสุมหาพวกได้เป็นจำนวนมาก แรกทีเดียวญาณพิเชียรได้ชุมนุมกำลังอยู่ที่ตำบลบางยี่ล้น เมื่อทางเมืองหลวงส่งเจ้าพระยาจักรีออกไปปราบญาณพิเชียรก็ได้พาสมัครพรรคพวก ยกลงมาตึถึงที่ตั้งทัพของเจ้าพระยาจักรีที่ตำบลบ้านมหาดไทย ชาวมหาดไทยซึ่งยืนหน้าช้างเจ้าพระยาจักรีก็ได้หันไปเป็นพวกญาณพิเชียรกัน สิ้น ผลของการรบปรากฎว่าเจ้าพระยาจักรีและนายทหารหลายคนถูกทหารฝ่ายญาณพิเชียร สังหารในที่รบ หลังจากนั้นทัพของญาณพิเชียรซึ่งมีชายฉกรรจ์ร่วมทัพถึง 3,000 คน ได้ยกทัพจะไปชิงเมืองลพบุรี แต่ครั้นไปถึงญาณพิเชียรได้ถูกชาวอมรวดี ( ชาวตะวันตก ) ใช้อาวุธปืนลอบยิงถึงแก่ชีวิตขณะยืนช้างอยู่ ณ ตำบลหัวตรี เป็นเหตุให้พรรคพวกของญาณพิเชียรถึงกับแตกพ่ายไป

เมื่อพิจารณาให้ดีแล้วจะเห็นว่ากบฎครั้งนี้เป็นกบฎใหญ่ และเข้มแข็งเกินกว่าจะเป็นกบฎที่อาศัยกองกำลังของพวกชาวนาที่ไร้ระเบียบเป็น สำคัญลักษณะเด่นประการแรกของกบฎครั้งนี้คือการเตรียมงาน และวางแผนทางยุทธศาสตร์อย่างมีขั้นตอน เห็นได้จากชัยชนะที่พวกกบฎมีต่อกองทัพของเจ้าพระยาจักรีซึ่งเป็นกองทัพใหญ่ และเข้มแข็ง จากนั้นพวกกบฎยังมีแผนจะยึดเมืองลพบุรีซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญ และเป็นฐานกำลังของอยุธยา แทนที่จะยกเลยลงมาตีอยุธยาอย่างไร้ระเบียบดังกบฎที่เกิดขึ้นในสมัยหลัง ตัวผู้นำกบฎคือญาณพิเชียรเองก็ไม่ควรจะเป็นเพียงชาวชนบทธรรมดาที่เคยผ่านการ บวชเรียนมาเท่านั้น จากข้อมูลที่ปรากฎในพงศาวดาร ญาณพิเชียรน่าจะเคยเป็นบุคคลสำคัญในวงราชการคนหนึ่ง เอกสารส่วนใหญ่เรียกญาณพิเชียรว่า “ขุนโกหก” และความในพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์เรียกว่า “พระยาพิเชียร” คำว่า “ขุน” หรือ “พระยา” สะท้อนให้เห็นว่า ญาณพิเชียรนั้นมี “ศักดิ์ศรี” เหนือชาวบ้านหรือสามัญชนธรรมดา

เมื่อหันมาพิจารณาในด้านกองกำลังของญาณพิเชียรจะเห็นว่าเป็นกอง กำลังที่เข้มแข็งประกอบด้วยทหารชำนาญศึก เจ้าพระยาจักรีนั้นได้สิ้นชีวิตลงด้วยฝีมือของทหารญาณพิเชียรคนหนึ่งซึ่งมี ยศระดับพันชื่อพันไชยทูตซึ่งได้ปีนขึ้นทางท้ายช้างของเจ้าพระยาจักรีและ สังหารเจ้าพระยาจักรีลงในที่รบ หลักฐานได้ยืนยันเพิ่มเติมให้เห็นว่ากองทัพของญาณพิเชียรนั้นควรเป็นกองทัพ ทหารมากกว่าจะเป็นทัพชาวนาเพราะหลังจากได้ชัยชนะแล้ว ญาณพิเชียรได้ปูนบำเหน็จให้นายทหารสองคนคือให้พันไชยทูตเป็นพระยาจักรีและ หมื่นศรียี่ล้นเป็นพระยาเมืองบุคคลทั้งสองนี้ อาจเป็นนายทัพคนสำคัญของญาณพิเชียรและเคยรับราชการมาก่อน

ด้วยเหตุที่กองกำลังของญาณพิเชียรมีเป็นจำนวนมากและเป็นกองกำลังที่ เข้มแข็งชำนาญศึก มีการวางแผนขั้นตอนการรบอย่างเป็นระเบียบทำให้ฝ่ายตรงข้ามจำเป็นต้องพึ่งกอง กำลังต่างชาติและอาวุธที่ทันสมัยกว่าในการปราบปราม ฉะนั้นจึงยากที่จะเชื่อว่ากบฎครั้งนี้เป็นเพียงกบฎภายใต้การนำของชาวบ้าน ธรรมดาเท่านั้น

สาเหตุของกบฎครั้งนี้ไม่ควรจะสืบเนื่องมาจากปัญหาทางธรรมชาติที่กระทบ กระเทือนต่อการปลูกข้าวดังที่เข้าใจกัน เพราะไม่มีหลักฐานปรากฎว่าในปีที่เกิดกบฎ ( 2124 ) หรือปีก่อนหน้านั้นได้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงขึ้น ปัญหาเรื่อง “น้ำน้อย น้ำมาก” จะจำกัดอยู่ระหว่างปีพ.ศ. 2113 - 2118 ซึ่งก็ไม่จำเป็นอีกว่าระหว่างปีเหล่านั้น อยุธยาจะถึงกับประสบปัญหาข้าวยากหมากแพงเช่นในรัชกาลพระบรมไตรโลกนารถในปี พ.ศ. 2000 และรัชกาลพระรามาธิบดีที่ 2 ในปีพ.ศ. 2069 ซึ่งหลักฐานระบุอย่างแน่ชัดถึงราคาข้าวที่สูงขึ้น

สรุปได้ว่าปัญหาด้านการเกษตรไม่ควรจะเป็นปัญหาหลักที่ผลักดันให้เกิดกบฎในครั้งนี้

ดังได้เสนอไว้ในตอนต้นแล้วว่ากบฎญาณพิเชียรเป็นกบฎของขุนนางมากกว่า กบฎชาวนา ดังนั้นสาเหตุของการกบฎครั้งนี้ควรสืบเนื่องมาจากปัญหาทางการเมืองเป็นหลัก

ก่อนที่จะเกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่าขึ้นในรัชกาลของพระมหาจักรพรรดินั้น การเมืองภายในของอยุธยาไม่ได้สงบราบรื่นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มพระญาติพระ วงศ์และขุนนางมีปรากฎอย่างเห็นได้ชัด จากหลักฐานเท่าที่ปรากฎในพงศาวดาร พอจะช่วยในการอนุมานว่าญาณพิเชียรน่าจะเป็นขุนนางที่สำคัญคนหนึ่งในเขต ลพบุรี และบริเวณใกล้เคียงซึ่งเป็นเขตที่ญาณพิเชียรใช้สะสมผู้คน การที่ทหารชาวตำบลบ้านมหาดไทยซึ่งยืนข้างหน้าช้างเจ้าพระยาจักรีเปลี่ยนใจ เข้ากับพวกญาณพิเชียร ย่อมแสดงให้เห็นว่าญาณพิเชียรเคยเป็นขุนนางที่มีบารมีในเขตนั้นมาก่อน และการที่ญาณพิเชียรกำหนดแผนเข้ายึดลพบุรีอาจเป็นได้ว่า ลพบุรีเคยเป็นฐานกำลังคนของญาณพิเชียรมาก่อนเช่นกันญาณพิเชียรจึงต้องการยึด ครองลพบุรีเพื่อรวบรวมสมัครพรรคพวกให้มากขึ้นก่อนจะเข้าตีกรุงศรีอยุธยา สงครามระหว่างไทยกับพม่าตามด้วยสงครามระหว่างไทยกับเขมรในปีพ.ศ.2113, 2118 และ 2121 ซึ่งฝ่ายอยุธยาตกอยู่ในฐานะฝ่ายรับและเสียเปรียบได้บั่นทอนความเข้มแข็งและ บารมีของกรุงศรีอยุธยาในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของเมืองในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และราชวงศ์พระร่วงของพระมหาธรรมราชาลงอย่างมาก ขณะเดียวกันก็เป็นแรงผลักดันให้ขุนนางที่เสียอำนาจในระดับท้องถิ่นสามารถ กระด้างกระเดื่องและก่อการกบฎขึ้น ประกอบกับกำลังคนของอยุธยาขณะนั้นเบาบางมากเนื่องจากได้เสียชีวิตลงในสงคราม และยังถูกพม่าและเขมรกวาดต้อนไปเป็นเชลย เป็นเหตุให้ญาณพิเชียรขุนนางเก่าสามารถจะแสดงตนแข็งข้อต่อส่วนกลางอย่างเปิด เผย

กบฎธรรมเถียร
เกิดขึ้นในรัชกาลพระเพทราชา ( พ.ศ. 2231 - 2246 ) ผู้นำกบฎครั้งนี้เป็นข้าหลวงเดิมของเจ้าฟ้าอภัยทศ (บางฉบับเรียกพระขวัญ ) พระอนุชาสมเด็จพระนารายณ์ หัวหน้ากบฎกระทำการโกหกปลอมตัวเป็นเจ้าฟ้าอภัยทศหลอกลวงชาวชนบทให้เข้าเป็น พวกกบฎครั้งนี้เกิดขึ้นในแขวงนครนายก แต่ก็กินบริเวณถึงสระบุรี ลพบุรีด้วย

ในชั้นต้นผู้นำกบฎคือ ธรรมเถียรพยายามชักจูงให้พระพรหม ณ วัดปากคลองช้างพระอาจารย์ที่เจ้าฟ้าอภัยทศเคยนับถือให้เข้าร่วมการกบฎด้วย แต่กลับถูกพระภิกษุรูปนั้นปฎิเสธ โดยอ้างว่าธรรมเถียรกระทำการโกหกเป็นเหตุให้กองกำลังส่วนหนึ่งของธรรมเถียร ถอนตัวออกไป

เดิมทีนั้นธรรมเถียรตั้งทัพอยู่ ณ พระตำหนักนครหลวง แต่เมื่อการนิมนต์พระพรหมไม่ประสบความสำเร็จธรรมเถียรได้เคลื่อนกองทัพลง มาตีกรุงศรีอยุธยา

ภาพสะท้อนที่ได้จากพงศาวดารแสดงให้เห็นว่า ทัพของธรรมเถียรต่างกับทัพของญาณพิเชียรมาก ถึงแม้ว่ากองกำลังของธรรมเถียรบางส่วนจะมีพวกขุนนางซึ่งเข้าใจว่าเป็นฝ่าย ตรงข้ามกับราชวงศ์บ้านพลูหลวงปะปนอยู่ แต่กำลังส่วนใหญ่เป็นพวกชาวไร่ชาวนาไม่ใช่ไพร่ทหารที่ชำนาญการรบ

“ต่างคนก็ถือเครื่องศัสตราวุธต่าง ๆ ตามมี ที่ไม่มีอาวุธสิ่งใดก็ถือพร้าบ้าง บ้างก็ได้ปะฎักและเคียว แห่ห้อมล้อมช้างธรรมเถียรมาเป็นอันมาก” ทั้งยังเป็นทัพที่ขาดระเบียบและการกำหนดแผนการโจมตีอย่างเป็นระบบ เห็นได้จากความตอนหนึ่งในพงศาวดารว่า

“เห็นพันชัยธุชอันธรรมเถียรตั้งไว้ให้ถือธง ขี่กระบือนำหน้าพลมาก่อน ตำรวจจับเอาตัวได้มาถวายกรมพระราชวัง"

ถึงแม้ว่ากองทัพของธรรมเถียรจะประกอบด้วยกำลังคนเป็นจำนวนมาก แต่ก็เป็นกองทัพที่ขาดประสิทธิภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ผลของการกบฎลงเอยเช่นเดียวกับกบฎญาณพิเชียร คือถูกกองทัพของอยุธยาใช้อาวุธที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าทำลายล้าง

ในด้านผู้นำกบฎครั้งนี้ธรรมเถียรไม่ใช่เป็นคนที่สร้างบารมีมาก่อนใน ท้องถิ่นที่ตนซ่องสุมผู้คนเช่นญาณพิเชียร เป็นเหตุให้ธรรมเถียรต้องอาศัยบารมีของผู้อื่นมาเป็นข้ออ้างในการหาสมัคร พรรคพวกการอ้างตนเป็นเจ้าฟ้าอภัยทศแสดงว่าธรรมเถียรยังขาดบารมี ส่วนการอ้างตัวเองเป็นผู้มีบุญของธรรมเถียรนั้นทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าตนเป็น ผู้วิเศษที่ฆ่าไม่ตาย อีกประการหนึ่งเป็นการอ้างตนในทำนอง “ผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่” โดยเน้นชาติกำเนิดเป็นหลัก

"และประกาศแก่คนทั้งหลายว่า ตัวกูคือเจ้าฟ้าอภัยทศ จะยกลงไปตีเอาราชสมบัติคืนให้จงได้”

กล่าวได้ว่ากบฎธรรมเถียรนั้นถึงแม้ตัวธรรมเถียรเองจะเป็นข้าหลวง เก่า แต่ก็ไม่ได้มีความชำนาญพิเศษในการทำสงครามแต่อย่างใด กองกำลังของธรรมเถียรส่วนใหญ่เป็นชาวชนบทที่เข้ามารวมกลุ่มกันอย่างไร้ ระเบียบ เมื่อฝ่ายปกครองสืบทราบแน่ชัดว่าผู้นำกบฎไม่ใช่เจ้าฟ้าอภัยทศจริงความวิตก กังวลก็ลดน้อยลง และกบฎก็ถูกปราบลงอย่างง่ายดาย

สาเหตุอันนำซึ่งการกบฎครั้งนี้เป็นสาเหตุทางการเมืองสืบเนื่องจาก การขึ้นครองราชย์ของพระเพทราชาซึ่งถึงแม้ว่าในปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ พระเพทราชาจะเป็นขุนนางผู้ใหญ่ที่คุมกำลังไพร่พลจำนวนไม่น้อยแต่ในขณะนั้น ก็ยังมีผู้เหมาะสมและมีสิทธิในการขึ้นครองราชสมบัติอยู่อีกหลายคน เช่นพระปีย์ซึ่งมีฐานกำลังอยู่ทางตอนเหนือ หรือเจ้าฟ้าอภัยทศซึ่งเป็นพระอนุชาของพระนารายณ์ พระเพทราชาเองก็ตระหนักในปัญหานี้จึงได้หาทางกำจัดบุคคลทั้งสองเสียก่อนจะ ขึ้นครองราชย์ กระนั้นก็ตีความชอบธรรมที่พระเพทราชาจะพึงมีต่อการสถาปนาตนเองขึ้นเป็น กษัตริย์สืบต่อจากพระนารายณ์นั้นยังดูไม่มั่นคงและพร้อมจะถูกท้าทายได้จาก บุคคลหลายฝ่าย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่การแข็งข้อของขุนนางระดับท้องถิ่นเช่นจากพระยา ยมราชสังข์เจ้าเมืองนครราชสีมา และจากพระยารามเดโชเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเป็นต้น

ความจำกัดตัวและความสับสนของเหตุการณ์ปลายรัชกาลพระนารายณ์ประกอบ กับปัญหาความชอบธรรมของพระเพทราชาในการสืบราชสมบัติเปิดช่องว่างให้คนอย่าง ธรรมเถียร สามารถอ้างตนเป็นเจ้าฟ้าอภัยทศและชักจูงชาวชนบทที่ไม่รู้ซึ้งถึงข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้นหรือไม่ก็ทราบแต่เพียงข่าวกระเส็นกระสายจากปากสู่ปากให้ร่วมใน การกบฎครั้งนี้ด้วย เป็นที่น่าสนใจว่ามีชาวชนบทจำนวนไม่น้อยเข้าร่วมในการกบฎครั้งนี้ ซึ่งสาเหตุสำคัญประการหนึ่งควรสืบเนื่องจากลักษณะหลักบางประการที่เอื้อใน การเลื่อนฐานะทางการเมืองของไพร่สมัยอยุธยาตอนปลาย

ดังจะเห็นได้ว่า จากรัชสมัยของพระเจ้าปราสาททองเป็นต้นมา การเลื่อนฐานะของสามัญชนขึ้นมาเป็นขุนนางจะเกิดขึ้นเสมอ เมื่อเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันขึ้นระหว่างกษัตริย์และขุนนาง ฐานอำนาจของฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ มักจะได้รับการปูนบำเหน็จในลักษณะต่าง ๆ นอกเหนือจากนี้ความพยายามของกษัตริย์ในอันที่จะลดทอนอำนาจของขุนนางฝ่าย ปกครอง ก็ช่วยเปิดโอกาสให้ขุนนางระดับต่ำซึ่งก็มีบ้างที่เคยเป็นไพร่มาก่อนได้รับ การเลื่อนฐานะทางสังคให้ขุนนางผู้ใหญ่ดังปรากฎใน

บันทึกของฟานฟลีตว่า“พวกไพร่จำนวนมากกลับกลายเป็นเสนาบดี และพวกที่มีอำนาจที่สุดในราชสำนัก” ภาวะการเลื่อนฐานะทางสังคมจากสามัญชนขึ้นมาเป็นขุนนางได้ปลูกฝังความหวังให้ กับชนชั้นไพร่และชาวชนบท ว่าหากตนได้เข้าร่วมเป็นกำลังให้กับเจ้าฟ้าอภัยทศแล้วก็ย่อมจะได้รับการปูน บำเหน็จรางวัลในภายหลังซึ่งนั่นหมายถึงการเลื่อนฐานครั้งใหญ่ทั้งในทาง เศรษฐกิจและสังคม ธรรมเถียรเองก็เข้าใจถึงความต้องการนี้เป็นอย่างดี จึงได้แต่งตั้งตำแหน่งหน้าที่ให้กับผู้เข้าร่วมการกบฎครั้งนี้ตามความชอบ การจัดตั้งตำแหน่งต่าง ๆ ในกองทัพไม่ว่าจะถูกต้องตามรูปแบบที่เป็นทางการหรือไม่ก็ตาม เท่ากับเป็นการเลื่อนฐานะของชาวชนบทให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เป็นการทำให้ความหวังที่ชาวชนบทมีอยู่นั้นดูใกล้เคียงความจริงยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่ากบฎธรรมเถียรจะได้รับการสนับสนุนจากชาวชนบทก็ยากจะสรุป ได้ว่ากบฎนี้เป็นกบฎไพร่เพราะปรากฎเป็นที่แน่ชัดว่า ผู้นำการกบฎครั้งนี้เป็นข้าหลวงเก่าของเจ้าฟ้าอภัยทศซึ่งมีฐานะเป็นขุนนาง จุดมุ่งหมายหลักของผู้นำการกบฎก็มุ่งที่การเลื่อนฐานะตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ ไม่ใช่ต้องการล้มล้างหรือปฎิรูประบบไพร่ให้ดีขึ้น ส่วนพวกชาวชนบทที่เข้าร่วมกับธรรมเถียรก็มีความต้องการที่จะได้มาซึ่ง บำเหน็จรางวัล

ถึงแม้ว่าการเข้าร่วมในการกบฎของชาวชนบทจะสะท้อนถึงความไม่พอใจใน สภาวะที่เป็นอยู่และต้องการจะเลื่อนฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นแต่กบฎครั้ง นี้ก็ยังไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นกบฎของชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง โดยวัดเอาง่าย ๆ จากจำนวนผู้เข้าร่วมในการกบฎส่วนใหญ่ว่าเป็นไพร่ เพราะหากจะวัดกันด้วยมาตรฐานดังกล่าวนี้กบฎทุกครั้งในสมัยอยุธยาก็จะเป็นกบ ฎไพร่ทั้งสิ้น เพราะไม่เคยปรากฎว่ามีกบฎใดที่ไม่ใช่กำลังไพร่เป็นหลัก

กบฏบุญกว้าง
กบฎบุญกว้างเป็นกบฎที่เกิดขึ้นในรัชกาลของพระเพทราชาอีก เช่นกัน แต่กบฎครั้งนี้เกิดขึ้นในท้องถิ่นที่ห่างไกลจากส่วนกลาง เพราะเป็นกบฎที่เกิดขึ้นที่เมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญที่ส่วนกลางใช้เป็นฐานอำนาจในการควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ฟากตะวันออกเฉียงเหนือ

กบฎครั้งนี้เกิดภายใต้ภาวะแวดล้อมและปัจจัยที่แปลกออกไปโดยเฉพาะ เงื่อนไขทางสังคม ซึ่งรวมถึงลักษณะของประชากร ซึ่งเป็นคนเชื้อชาติลาว และลักษณะวัฒนธรรมและความเชื่อของคนเชื้อชาตินั้น กบฎครั้งนี้ เป็นกบฎลาว ผู้นำกบฎชื่อบุญกว้าง มีถิ่นฐานอยู่แขวงหัวเมืองลาวตะวันออก บุญกว้างเป็นคนที่มี “ความรู้ วิชาการดี” มีสมัครพรรคพวกรวม 28 คน บุญกว้างได้นำสมัครพรรคพวกเข้ายึดครองนครราชสีมาโดยอาศัยวิทยาคุณทางไสย ศาสตร์กำหราบเจ้าเมืองและขุนนางคนอื่น ๆ ต่อมาเจ้าเมืองนครราชสีมากระทำกลอุบายแหย่ให้บุญกว้างนำกองทัพยกลงไปตีกรุง ศรีอยุธยา จนเป็นเหตุให้บุญกว้างเสียทีและถูกจับกุมตัวประหารชีวิตในภายหลัง

พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศได้ให้ข้อมูลที่แตกต่างกันออกไปกล่าวคือ
หลังจากที่บุญกว้างและพวกทั้ง 28 คนยึดเมืองนครราชสีมาได้แล้วทางอยุธยาได้ยกกองทัพใหญ่ขึ้นไปล้อมเมืองเป็น เวลานานถึง 3 ปีก็ตีเมืองไม่สำเร็จชาวเมืองต่างอดอยากเป็นอันมากพวกกบฎทั้ง 28 คนจึงได้หลบหนีออกจากเมืองตามจับตัวไม่ได้ ส่วนแม่ทัพนายกองฝ่ายอยุธยาได้กิตติศัพท์ ว่าพระเพทราชาสวรรคตจึงถอยทัพกลับลงมาด้วยเข้าใจว่าข่าวนั้นเป็นจริง เป็นอันว่าการตีนครราชสีมาครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จ

ส่วนกลาง (พ.ศ. 2231) ยังความไม่พอใจมาให้กับขุนนางท้องถิ่นที่เป็นฐานอำนาจเดิมของพระนารายณ์ คือพระยายมราชสังข์ เจ้าเมืองนครราชสีมาและพระยาเดโชเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช พระเพทราชาต้องใช้เวลาปราบกบฎทั้งสองครั้งนี้ราว 10 ปีจึงปราบสำเร็จ อย่างไรก็ดีท้ายที่สุดกองทัพอยุธยาก็สามารถตีเมืองนครราชสีมาได้แต่พระยาราช สังข์ก็สามารถพาครอบครัวหลบหนีออกจากเมืองได้เช่นกัน หลังจากสงครามครั้งนี้ประมาณ 6 ปี จึงได้เกิดกบฎบุญกว้างขึ้น

ศึกนครราชสีมาภายใต้การนำของพระยายมราชสังข์ดูจะเป็นกุญแจสำคัญที่ พอจะใช้คลี่คลายเงื่อนงำของกบฎบุญกว้างที่เกิดตามมาในภายหลังได้ แต่ก่อนจะไปถึงประเด็นดังกล่าวจำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่า ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นเป็นเขตที่ชนเชื้อชาติลาวอาศัยรวมกันอยู่หนา แน่น การที่อยุธยาจะรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้อง สร้างฐานอำนาจที่มั่นคงในเขตนั้นให้ได้ เมืองที่สำคัญจะเป็นศูนย์อำนาจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือขณะนั้นคือเมือง นครราชสีมา กษัตริย์ที่ส่วนกลางจึงจำเป็นต้องส่งขุนนางที่เข้มแข็ง ทั้งในการปกครองและการรบไปครองเมืองนี้ และที่สำคัญคือขุนนางผู้นั้นต้องเป็นบุคคลที่ซื่อสัตย์และไว้ใจได้ ด้วยเหตุนี้พระนารายณ์จึงทรงเลือกให้พระยายมราชสังข์ไปครองเมืองนครราชสีมา ครั้นเมื่อพระเพทราชาขึ้นครองราชย์พระยายมราชสังข์ก็พยายามแยกหัวเมืองภาค ตะวันออกเฉียงเหนือออกเป็นอิสระจากส่วนกลาง ซึ่งก็สามารถทำได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

อย่างไรก็ดีภายหลังจากที่พระยายมราชสังข์สิ้นอำนาจลง ปัญหาที่เกิดตามมา คือขุนนางที่ขึ้นมาครองเมืองนครราชสีมาสืบต่อขาดซึ่งอำนาจบารมีพร้อมทั้งฐาน กำลังสนับสนุนเช่นพระยายมราชสังข์เป็นไปได้ว่าสถานการณ์ขณะนั้นไม่เปิดโอกาส ให้พระเพทราชาคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมขึ้นแทนอำนาจพระยายมราชสังข์เช่นกัน ทั้งนี้เพราะการปราบกบฎก็ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะเมืองนครศรีธรรมราชในขณะนั้นก็ยังคงแข็งเมืองอยู่

ความอ่อนแอของเจ้าเมืองใหม่และการสลายตัวของกลุ่มอำนาจเดิมย่อมผลัก ดันให้เกิดภาวะความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในชุมชนของชาวลาวซึ่งกระจายตัวอยู่ใน เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเปิดโอกาสให้บุญกว้างและสมัครพรรคพวกอ้างตัว เป็นผู้มีบุญและก่อการกบฎขึ้น

เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่ากบฎบุญกว้างเป็นกบฎเดียวในสมัยอยุธยาที่ มีส่วนใกล้เคียงกับกบฎผู้มีบุญภาคอีสานในสมัยรัตนโกสินทร์ การตั้งตัวเป็น “ผู้มีบุญ” ของบุญกว้างย่อมต้องได้รับการสนับสนุนจากชาวลาว ซึ่งมีเชื้อชาติเดียวกันและใช้วัฒนธรรมร่วมกัน หากความในพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศเชื่อถือได้ก็ไม่ใช่ของแปลกที่ชาว นครราชสีมาต่างให้ความร่วมมือกับพวกกบฎเป็นอันดีในการพิทักษ์รักษานครได้ถึง 3 ปี ซึ่งหากพวกกบฎไม่ได้รับการสนับสนุนจากชาวลาวด้วยกันแล้ว ก็ยากที่จะอาศัยกำลังเพียง 28 คนในการเข้ายึดครองเมืองนครราชสีมาและต้านศึกอยุธยาได้เป็นเวลาช้านาน

ที่มา:http://www.baanjomyut.com/library_2/proletarian_revolt/index.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น