จำนวนผู้เข้ามาเยี่ยมชม

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

เป็นไทย

       เรื่องราวเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยเป็นที่สนใจสำหรับนักประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยาเป็นอย่างยิ่ง ได้มีการใช้หลักฐานทั้งที่เป็นเอกสารจดหมายเหตุของจีนและหลักฐานทางโบราณคดีซึ่งเพิ่งศึกษากันในราวปี พ.ศ. 2504 มาเป็นข้อมูลสำคัญ

ชนชาติไทยมาจากไหน

ทฤษฎีเก่า
       นักประวัติศาสตร์และนัก มานุษยวิทยาสันนิษฐานว่าชนชาติไทยนั้น แต่เดิมมีภูมิลำเนาอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ของจีน แถบมณฑลกวางตุ้งปัจจุบันนี้ Dr.William Dodd หมอสอนศาสนาได้เสนอข้อคิดเห็นดังกล่าวไว้ใน หนังสือชื่อ "The Thai Face Elder Brother of the Chinese" ซึ่งก็ตรงกับนักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ Wolfram Eberhard ซึ่งได้อาศัยหลัก Cultural Anthropology ที่ว่าชนชาติไทยมีแหล่งกำเนินอยู่ทางตะวันออก ของมณฑล Shang (สาง หรือ เสียง) อยู่ในบริเวณมณฑลกวางตุ้ง และก็มีนักประวัติศาสตร์บางคน เช่น ขุนวิจิตรวาท การ ว่าชนชาติไทยนั้นแต่เดิมมีหลักแหล่งอยู่แถบบริเวณภูเขาอัลไต (Altai) โดยมีบางคนสันนิษฐานว่าเพราะมีคำลงท้าย ว่า Tai ซึ่งที่จริงนั้นคำว่า Altai เป็นภาษามองโกล แปลว่า "ทอง" ภูเขาอัลไตแปลว่า "ภูเขาทอง" มิใช่คำผสมระหว่าง "อัล" และ "ไต" อย่างที่เขาใจกัน ต่อมาเมื่อ 1028 ปีก่อนคริสตศักราช หรือ 485 ปีก่อนพุทธศักราช ราชวงศ์โจวซึ่งเป็น จีนแท้ได้โจมตีราชวงศ์สางสำเร็จ ชนชาติไทยจึงได้อพยพลงมาตามลำน้ำแยงซีไปยังมณฑลเสฉวนและยูนนาน โดยมีเมือง สำคัญที่จารึกไว้ในจดหมายเหตุของจีน คือ เมืองเฉินตู และคุนมิง ในศตวรรษที่ 13 ชนชาติไทยจึงกระจัดกระจายไปในที่ ต่าง ๆ แถบแคว้นยูนนานของประเทศจีนปัจจุบัน

สำหรับแนวคิดเรื่องการถอยร่นลงมาจากเสฉวนจนถึงยูนนานนั้น ได้เป็นที่ยอมรับของ ดร.ขจร สุขพานิช นักประวัติ ศาสตร์ไทยซึ่งได้ใช้เวลาศึกษาแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยหลายปี ท่านได้เขียนหนังสือชื่อ "ถิ่นกำเนิดและแนวการอพยพ ของเผ่าไทย" คล้ายกับความคิดเห็นของ Wolfram Eberhard และยังได้เพิ่มเติมว่าก่อนอพยพเข้ามาที่อาณาจักรน่าน เจ้านั้น ชนชาติไทยเคยตั้งอาณาจักรที่มณฑลกวางตุ้งมาก่อนแล้ว

จากศตวรรษที่ 13-15 ชนชาติไทยสามารถรวมตัวกันเป็นอาณาจักรขึ้นมาได้ เรียกว่า อาณาจักรน่านเจ้า แปลว่า "เจ้า ทิศใต้" ซึ่งก็ได้สูญสิ้นชื่อไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. 1796 เพราะจักรพรรดิจีนองค์แรกในราชวงศ์หยวน คือ พระเจ้ากุบไลข่าน ผู้นำชาติมองโกลได้ยกทัพมาตีน่านเจ้าแตกไป ชนชาติไทยจึงต้องอพยพลงมาในแหลมอินโดจีนในดินแดนที่ต่อมาได้ชื่อว่า อาณาจักรเชียงแสน หรือล้านนาไทย ต้องต่อสู้กับพวกชนชาติที่อยู่เดิม คือ พวกละว้า และพวกขอมดำ ขณะเดียวกันชนชาติ ไทยบางพวกก็อพยพลงมาอยู่ที่แคว้นสามเทศ หรือสยามเทศ ซึ่งต่อมาเป็นแคว้นสุโขทัย และขณะนั้นอยู่ภายใต้การ ปกครองของอาณาจักรเขมรลพบุรี เมื่อพวกไทยรวมตัวกันและมีพลังมากขึ้นก็รวมตัวกันตั้งเป็นแคว้นอิสระ มีเมืองสุโขทัย เป็นราชธานีเมื่อปี พ.ศ. 1781 George Caedes ชาวฝรั่งเศส ผู้สนับสนุนทฤษฎีเก่านี้ สรุปว่าชนชาติไทยนั้นอพยพจากเหนือลงใต้ โดยอาศัย แม่น้ำเป็นหลัก เป็นการอพยพอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่ออาณาจักรน่านเจ้าถูกมองโกลรุกราน คนไทยจำนวนมากได้อาศัย ลำน้ำ 2 สาย คือ ลำน้ำโขง แล้วมาตั้งหลักแหล่งที่อาณาจักรล้านช้าง (เวียงจันทน์และหลวงพระบาง) บ้าง ที่ล้านนา (เชียงใหม่ เชียงแสน) บ้าง และที่สุโขทัย ส่วนที่อพยพไปตามลำน้ำสาละวินนั้นได้ไปตั้งหลักแหล่งถึงแคว้นอัสสัมของ อินเดียและรัฐฉานของพม่าก็มี

ทฤษฎีใหม่
นักโบราณคดีเสนอข้อสรุปว่าแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยนั้นก็คือ บริเวณภาคอีสานของไทย และแถบจังหวัด กาญจนบุรีของไทยปัจจุบัน มิได้อพยพมาจากตอนใต้ของประเทศจีนอย่างทฤษฎีเก่าอ้างไว้ แต่ถ้าหากจะมีการอพยพจริงก็ คงจะเป็นการอพยพจากใต้ขึ้นเหนือ เช่น อพยพขึ้นไปอยู่แถบแคว้นสิบสองจุไทย และแคว้น ยูนาน เพราะได้มีการพบ หลักฐานที่นักโบราณคดีขุดค้นหาซากโบราณที่บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี และที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี โดยการใช้ C14 ทดสอบ ทำให้ทราบอายุของโครงกระดูกที่กาญจนบุรี ว่ามีอายุเก่าแก่ถึง 5-6 พันปี

นายแพทย์สมศักดิ์ สุวรรณสมบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราช ทำการศึกษาความหนาแน่นของ กลุ่มเลือด ได้พบว่ากลุ่มเลือดของคนไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับคนภาคใต้ในชวา จึงเสนอความเห็นสนับสนุนทฤษฏีว่า ชนชาติไทยอพยพจากใต้ขึ้นเหนือ คือ อพยพจากเกาะชวาขึ้นมาอยู่ที่แผ่นดินใหญ่

เรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรน่านเจ้านั้นก็มีนักทฤษฎีใหม่ชื่อ Frederick Mote เขียนไว้ใน "ปัญหาก่อนประวัติศาสตร์" ว่าชนกลุ่มใหญ่ในอาณาจักรน่านเจ้าไม่ใช่ไทย แต่ไทยนั้นมีแหล่งกำเนิดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ต่อมาถูกขอมและ เขมรรุกรานจึงอพยพขึ้นไปทางเหนือ แต่แบ่งแยกออกเป็นหลายพวก เข้าไปในเวียดนามที่เกาะไหหลำและที่แคว้นยูนนาน

นอกจากนั้นแล้วนักประวัติศาสตร์จีน 2 คน คือ ตูยูตินและเชนลูฟาน (Tu Yu-tin และ Chen Lu-fan) เขียนบท ความเรื่อง "ชัยชนะของกุบไลข่านเหนือเมืองตาลีโกว (ตาลีฟู)" ได้ทำให้คนไทยจำนวนมากอพยพลงมาทางใต้หรือไม่ โดยศึกษาเอกสารของจีนในราชวงศ์หยวนและเหม็ง พบว่า เมื่อกุบไลข่านยกมาตีน่านเจ้านั้นได้ตกลงกันอย่างสันติวิธี มิได้มี การโจมตีอย่างรุนแรงจนทำให้ไทยต้องอพยพมาครั้งใหญ่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 1924 น่านเจ้าจึงสิ้นสุดลงเมื่อราชวงศ์เหม็ง ยึดอำนาจจากมองโกล ได้รวมน่านเจ้าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจีน ตอนนี้เองจึงได้มีการอพยพ ทั้งนี้ได้เสนอว่าคนไทยที่อยู่ น่านเจ้านั้นเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยใน 6 กลุ่ม ถิ่นกำเนิดของชาติไทยแต่เริ่มแรกจึงอยู่ที่ภาคเหนือของไทยปัจจุบันนี้ มิได้ อพยพมาจากจีนตอนใต้ และไทยในน่านเจ้าไม่เคยอพยพลงมาที่ประเทศไทยปัจจุบัน ดังนั้น ไทยในน่านเจ้าและ ไทย ปัจจุบันนี้จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน

ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

ถิ่นเดิมของชนชาติไทย

โดย รศ.ปรีชา กาญจนาคม คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในบริเวณเอเชียตะวันตกและเอเชีย กลาง สมมติฐานนี้อิงอยู่กับทฤษฎีความเชื่อที่ว่าแหล่งอารยธรรมของโลกตะวันออกมี จุดดั้งเดิมอยู่ที่บริเวณเอเชียกลางใกล้ทะเลสาบแคสเปียน ก่อนที่จะแพร่กระจายออกไปในทิศทางต่างๆ แต่จากการขุดค้นพบโครงกระดูกคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ใกล้กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี พ.ศ.2470 และการศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีของจีน ทำให้สมมติฐานข้อนี้ไม่เป็นที่ยอมรับอีกต่อไป
  • ถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ที่บริเวณตอนเหนือและบริเวณตะวัน ตกเฉียงเหนือของมณฑลเสฉวน สมมติฐานนี้อิงอยู่กับประวัติศาสตร์จีนสมัยราชวงศ์ฮั่นที่มีบันทึกเกี่ยวกับ อาณาจักรในบริเวณนี้ว่าชื่ออาณาจักรต้ามุง อาณาจักรลุง อาณาจักรปา และอาณาจักรอ้ายลาว เป็นอาณาจักรของกลุ่มคนที่พูดภาษาไทย สมมติฐานนี้ยังสัมพันธ์กับทฤษฎีที่ว่าอาณาจักรน่านเจ้าเป็นของคนไทย โดยพวกอ้ายลาวได้สถาปนาขึ้นภายหลังที่หนีการรุกรานของจีนลงมาจากทางเหนือ ต่อมาอาณาจักรน่านเจ้าถูกรุกรานจากพวกมองโกลและได้อพยพผู้คนลงมาสู่ทางใต้ใน บริเวณแหลมอินโดจีนจนเกิดเป็นรัฐต่างๆ ขึ้นในเวลาต่อมา

    สมมติฐานนี้ถูกคัดค้านเมื่อมีการศึกษาค้นคว้าทางด้านชาติพันธุ์ วิทยาและภาษาศาสตร์ พบว่ากลุ่มคนที่พูดภาษาไทยเป็นพวกที่ประกอบการกสิกรรมเพาะปลูกพืชเมืองร้อน เช่น ปลูกข้าวเจ้าเป็นหลัก ถิ่นเดิมของคนที่พูดภาษาไทยจึงน่าจะอยู่ในเขตร้อนชุ่มชื้นมากกว่า

    และการสำรวจหลักฐานข้อมูลจากจดหมายเหตุจีนทั้งหมด ยังพบว่า ไม่เคยมีคนที่พูดภาษาไทยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีนมาก่อน ไม่มีแม้แต่การอพยพผู้คนทั้งชนชาติเพื่อหนีการครอบงำของชนชาติจีน และยังได้พบอีกว่าภาษาของคนส่วนใหญ่ของอาณาจักรน่านเจ้าไม่ใช่ภาษาไทย ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของคนน่านเจ้าส่วนมากก็ไม่ได้ใกล้ เคียงกับพวกกลุ่มคนไทย
  • ถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ที่บริเวณมณฑลยูนนาน และทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน สมมติฐานนี้อิงอยู่กับทฤษฎีของการจัดกลุ่มภาษาไทย-กะได-อินโดนีเซีย ซึ่งถือเป็นบรรพบุรุษของกลุ่มคนที่พูดภาษาไทย โดยนำมาศึกษาค้นคว้าร่วมกับแนวคิดของนักมานุษยวิทยา และเชื่อว่ากลุ่มคนที่พูดภาษาไทยมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในบริเวณที่ราบ ลุ่มในเขตร้อนชุ่มชื้น นอกจากนั้นยังเชื่อว่ากลุ่มคนที่พูดภาษาไทยจะต้องอพยพเคลื่อนย้ายจากทิศใต้ ไปทิศเหนือ อย่างไรก็ตาม สมมติฐานนี้ก็ไม่มีหลักฐานข้อมูลใดๆ ที่สนับสนุนอย่างชัดเจน
  • ถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่บริเวณตอนกลางของจีน และที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโห กับแม่น้ำแยงซีเกียง เป็นสมมติฐานว่าด้วยถิ่นกำเนิดชนชาติไทยที่เก่าแก่ที่สุด หลักฐานข้อมูลทางภาษาศาสตร์และประวัติศาสตร์ พบว่าในบริเวณนี้เป็นอู่อารยธรรมของจีนมานาน และมีกลุ่มคนที่พูดภาษาไทยตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณดังกล่าวก่อนที่จะอพยพ เข้ามาอยู่ที่น่านเจ้า แต่ในขณะเดียวกันพวกจีนยังคงอยู่ที่ราบสูงตอนบนของลุ่มแม่น้ำฮวงโห

    สมมติฐานนี้ถูกล้มล้างไประยะหนึ่ง จนเมื่อ แชมเบอร์เลน นักภาษาศาสตร์ ศึกษาศัพท์สัตววิทยาในภาษาไทยดั้งเดิม เชื่อว่า ถิ่นเดิมชนชาติไทยน่าจะอยู่บริเวณชายทะเลเหนือปากแม่น้ำแยงซีเกียง หรือลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงตอนล่าง การศึกษาค้นคว้านั้นยังได้สนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับศัพท์ของกล้าข้าวประเภท ต่างๆ ในภาษาไทยที่สะท้อนว่ากลุ่มคนที่พูดภาษาไทยอาจเป็นคนกลุ่มแรกที่รู้จักการ เพาะปลูกข้าวนาลุ่ม สอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีที่ว่า บริเวณที่ราบลุ่มของแม่น้ำแยงซีเกียงตอนล่าง มีการทำนาลุ่มมาแล้วตั้งแต่ 5,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และอาจเป็นแห่งแรกของโลกด้วยก็ได้
  • ถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ที่บริเวณตอนใต้ของจีน กับบริเวณตอนใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง และบริเวณรอยต่อตอนเหนือของเวียดนาม เป็นสมมติฐานที่น่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากที่สุด โดยมีหลักฐานข้อมูลหลายสาขาสนับสนุน เช่น ทางมานุษยวิทยาเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของกลุ่มคนที่พูดภาษาไทย พบว่ากลุ่มคนพวกนี้เลือกที่จะอาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบหุบเขาหรือเชิงเขา ปลูกข้าวนาลุ่ม หรือพืชเมืองร้อน เป็นพวกที่อพยพมาจากบริเวณที่ราบลุ่มในเขตร้อนชุ่มชื้นมากกว่าที่จะมาจากทาง ตอนเหนือ ดังนั้น พวกนี้จึงอาจมีถิ่นเดิมอยู่ในมณฑลกวางสีและมณฑลกวางตุ้ง

    ด้านภาษาศาสตร์ นักภาษาศาสตร์รวมทั้งแชมเบอร์เลนกล่าวว่าบริเวณทางตอนใต้ของจีนเป็นถิ่น กำเนิดของกลุ่มคนที่พูดภาษาไทย หลักฐานข้อมูลทางพงศาวดารและประวัติศาสตร์เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย น่าจะอยู่ที่บริเวณตอนใต้ของจีน การแพร่ขยายของกลุ่มคนที่พูดภาษาไทยน่าจะเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 8 ต่อจากนั้นมาก็เริ่มปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับคนไทยมากขึ้นตามลำดับ และเป็นการอพยพในแนวทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก
  • ถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ที่บริเวณประเทศไทย สมมติฐานล่าสุดอิงอยู่กับหลักฐานทางโบราณคดีและมานุษยวิทยากายภาพ โดยศึกษาเปรียบเทียบโครงกระดูกคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ขุดค้นพบที่บ้าน เก่า จ.กาญจนบุรี กับคนไทยปัจจุบัน พบว่าลักษณะคล้ายคลึงกัน เป็นแนวความคิดของ ศ.น.พ.สุด แสงวิเชียร สมมติฐานนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับเพราะไม่อาจพิสูจน์ได้ชัดเจนถึงภาษาและ วัฒนธรรม และผลการขุดค้นทางโบราณคดีเกี่ยวกับชุมชนโบราณสมัยประวัติศาสตร์ในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือเมื่อไม่นานนี้ ปรากฏว่าขัดแย้งกับสมมติฐานข้างต้น เพราะชุมชนเหล่านั้นไม่ใช่กลุ่มคนที่พูดภาษาไทย

    สมมติฐานทั้ง 6 ข้อ มีเพียงสมมติฐานข้อที่ 3-6 เท่านั้นที่ยังมีคุณค่าทางวิชาการที่น่าศึกษาค้นคว้าต่อไป เพราะสมมติฐานเหล่านั้นอิงอยู่กับหลักฐานข้อมูลทั้งทางภาษาศาสตร์ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และมนุษยวิทยา โดยสมมติฐานที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด น่าจะเป็นสมมติฐานข้อที่ 5 

    การตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทย

    มีความเข้าใจมาช้านานแล้วว่าในบริเวณที่เป็นประเทศไทยใน ปัจจุบัน เคยมีชื่อเรียกว่า "สุวรรณภูมิ" ตามความเข้าใจของชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายแถบนี้ แต่ปัญหาที่มักเป็นคำถามอยู่เสมอในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยก็คือ ดินแดนสุวรรณภูมิเป็นของชนชาติใด ชนชาติไทยมาจากไหน มาจากตอนใต้ของจีนหรือมีพัฒนาการมาจากดินแดนในประเทศไทยในปัจจุบัน ปัญหาเหล่านี้มักจะเป็นข้อสงสัยในประวัติศาสตร์ไทยอยู่ตลอดเวลา

    ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์นั้น ในปัจจุบันนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีได้แบ่งช่วงสมัยของประวัติศาสตร์ ออกอย่างกว้าง ๆ เป็น 2 สมัย โดยยึดถือหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญ คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์คือช่วงระยะเวลาตั้งแต่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาและดำรง ชีพ

    ตามธรรมชาติเช่นเดียวกับสัตว์โลกอื่นๆต่อมามนุษย์บางกลุ่มสามารถ ปรับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นโดยการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ไฟ น้ำ หิน โลหะ ไม้ เป็นต้น มาใช้ประโยชน์ สร้างสมความเจริญและถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง จนสามารถพัฒนาเป็นสังคมเมือง การเรียนรู้เรื่องราวในยุคนี้ได้จากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น โครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ และภาพศิลปะถ้ำต่าง ๆ สมัยประวัติศาสตร์ หมายถึง สมัยที่มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้บันทึกบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์ในช่วงยุคสมัยนี้ชัดเจนมากขึ้นโดยอาศัยหลักฐาน ทางโบราณคดีสนับสนุน ช่วงสมัยนี้สามารถแบ่งย่อยได้ เช่น การตั้งเมืองหลวง การเปลี่ยนราชวงศ์ เป็นต้น  

    หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาเรื่องราวของชนชาติไทย

    การศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติไทยนั้น เราศึกษาได้จาก
    หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหลักฐานที่ปรากฏเป็นตัวอักษรบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับคนไทยในสมัยโบราณไว้ อาจจะปรากฏอยู่ตามฐานเจดีย์ กำแพงโบสถ์ ผนังถ้ำ แผ่นไม้ ใบลาน สมุดข่อย เช่น จารึกสุโขทัย จารึกมอญ เป็นต้น
    - หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น โครงกระดูกมนุษย์ พระพุทธรูป ร่องรอย การตั้งถิ่นฐานของชุมชนเป็นต้น นอกจากนี้การศึกษาประวัติศาสตร์อาจแบ่งหลักฐานได้อีก 2 ประเภท ดังนี้
    - หลักฐานชั้นต้นหรือปฐมภูมิ หมายถึง บันทึกหรือคำบอกเล่าของผู้พบเห็นเหตุการณ์ หรือผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ หรือผู้ร่วมสมัยกับเหตุการณ์ เช่น บันทึก จดหมายเหตุ เป็นต้น
    - หลักฐานชั้นรองหรือทุติยภูมิ หมายถึง ผลงานการค้นคว้าที่เขียนขึ้นหรือเรียบเรียงขึ้น ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยหลักฐานชั้นต้นและเพิ่มเติมด้วยความคิดเห็น คำวินิจฉัย ตลอดจนเหตุผลอื่น ๆ ประกอบ เช่น พงศาวดาร ตำนาน คำให้การ เป็นต้น
    สำหรับการศึกษาเรื่องราวของชนชาติไทยนั้น นอกจากจะใช้หลักฐานต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังจะต้องอาศัยหลักฐาน การวิเคราะห์ ประเมินคุณค่า การตีความ จากนักวิชาการในหลายสาขาวิชาด้วยกัน เช่น นักมานุษยวิทยา นักโบราณคดี นักภาษาศาสตร์ นักภูมิศาสตร์ นักสังคมวิทยา นักวิทยาศาสตร์ เป็นต้น เพื่อให้ข้อมูลตรงกับความเป็นจริงให้มากที่สุด

    แนวความคิดเกี่ยวกับคนไทยมาจากไหน

    การศึกษาเกี่ยวกับที่มาของชนชาติไทยยังคงเป็นประเด็นถก เถียงกันอยู่และหาข้อยุติแน่นอนไม่ได้ แต่ข้อสันนิษฐานหรือแนวคิดต่าง ๆ ที่มีหลักฐานน่าเชื่อถือ มีผลให้การศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติไทยมีความชัดเจนมากขึ้น สรุปได้เป็น 5 แนวทาง ดังนี้

    1. แนวคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยอยู่บริเวณเอเชียกลาง
    แนวคิดนี้เกิดขึ้นหลัง พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา โดยนักประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นต่างมีความเชื่อ

    กันว่าแหล่งกำเนิดอารยธรรมของโลก มีจุดกำเนิดอยู่ทางแถบเอเชียกลางใกล้ทะเลแคสเปียน ก่อนที่กระจายไปยังทิศทางต่าง ๆ

    ดร.วิลเลียม คลิฟตัน ดอดดื หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ได้นำความเชื่อนี้ไปกล่าวไว้ในงานเขียนเกี่ยวกับชนชาติไทยของเขาว่า พวกมุงซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบรรพบุรุษของคนไทยได้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาจากถิ่น กำเนิดของตนในเอเชียกลางมายังชายแดนด้านตะวันตกของจีน

    ขุนวิจิตรมาตรา ( สง่า กาญจนาคพันธ์ ) ได้แสดงความคิดเห็นไว้ในหนังสือหลักไท ( พ.ศ. 2471 ) เชื่อว่า แหล่งกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไตของเอเชียกลาง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของพวกมองโกลด้วยกัน ภายหลังจึงได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานแถบบริเวณลุ่มแม่น้ำเหลือง และแม่น้ำแยงซีต่อมาเมื่อถูกรุกรานจึงค่อย ๆ อพยพลงมาสู่สุวรรณภูมิ

    ต่อมาภายหลัง เมื่อมีการศึกษาทางด้านโบราณคดีและด้านภูมิศาสตร์ ทำให้แนวความคิดนี้ไม่ได้รับการยอมรับอีกต่อไป เพราะทางแถบบริเวณเทือกเขาอัลไตของเอเชียกลางนั้นเป็นเขตแห้งแล้ง อากาศมีความหนาวเย็น และถ้าอพยพโยกย้ายลงมาก็ต้องผ่านทะเลทรายที่กว้างใหญ่และทุรกันดารมาก จึงไม่เหมาะสำหรับจะเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์

    2. แนวคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยอยู่บริเวณมณฑลเสฉวน
    เท เรียน เดอ ลา คูเปอรี ศาสตราจารย์ชาวฝรั่งเศส เจ้าของแนวความคิดที่เชื่อว่าความเป็น มาของคนไทยอยู่บริเวณมณฑลเสฉวนของจีน ได้แสดงความเห็นไว้ว่า คนเชื้อชาติไทยตั้งถิ่นฐานเป็นอาณาจักรอยู่ในดินแดนจีนมาก่อน เมื่อประมาณ 2,208 ปีก่อนคริสตกาล ชนชาติ " ไท" ได้ถูกระบุไว้ในรายงานสำรวจภูมิประเทศจีนในสมัยพระเจ้ายู้ จีนเรียกชนชาติไทยว่า "มุง" หรือ "ต้ามุง" ถิ่นที่อยู่ของคนไทยซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุจีนนี้อยู่ในเขตที่เป็นมณฑลเสฉวน ปัจจุบัน

    สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเสนอความเห็นไว้ว่า คนไทยน่าจะอยู่แถบดินแดนทิเบตต่อกับจีน ( มณฑลเสฉวนปัจจุบัน ) ราว พ.ศ. 500 ถูกจีนรุกรานจึงอพยพมาอยู่ที่ยูนนานทางตอนใต้ของจีน แล้วกระจายไปตั้งถิ่นฐานบริเวณเงี้ยว ฉาน สิบสองจุไท ล้านนา ล้านช้าง

    หลวงวิจิตรวาทการ ได้กล่าวถึงถิ่นกำเนิดของคนไทยไว้ว่า คนไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในดินแดนซึ่งเป็นมณฑลเสฉวน ฮูเป อันฮุย และเกียงซี ตอนกลางของประเทศจีนปัจจุบัน ก่อนที่จีนจะอพยพเข้ามา แล้วค่อย ๆ อพยพสู่มณฑลยูนนาน และแหลมอินโดจีนต่อมาภายหลังเมื่อมีการศึกษาค้นคว้าทางด้านมานุษยวิทยาและ ภาษาศาสตร์รวมทั้งการตรวจสอบหลักฐานจดหมายเหตุของจีนเป็นจำนวนมาก ปรากฏว่าสมมติฐานดังกล่าวไม่น่าจะเป็นไปได้ ทำให้แนวความคิดที่ว่าคนไทยมีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณมณฑลเสฉวนของจีน ไม่ได้รับการยอมรับอีกต่อไป

    3. แนวคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยอยู่บริเวณทางใต้ของจีน และทางตอนเหนือของภาคพื้น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย
    อาร์ซิบอล อาร์ โคลฮูน นักสำรวจชาวอังกฤษ ได้เขียนรายงานการสำรวจที่ปรากฏอยู่ ในหนังสือชื่อ ไครเซ ซึ่งตีพิมพ์ในประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2428 ได้พบคนเชื้อชาติไทยในบริเวณภาคใต้ของจีนตั้งแต่กวางตุ้งไปจนถึงมัณฑะเลย์ใน พม่า

    วูลแฟรม อีเบอร์ฮาด นักสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา ชาวเยอรมันได้กล่าวว่า เผ่าไทยอยู่บริเวณมณฑลกวางตุ้ง ต่อมาชนเผ่าไทยได้อพยพเข้าสู่ยูนานและดินแดนในอ่าวตังเกี๋ย และได้มาสร้างอาณาจักรเทียนหรือแถน ที่ยูนนานซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีน เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ถังเผ่าไทยก็สถาปนาอาณาจักรน่านเจ้าขึ้นที่ยูนนาน

    วิลเลียม เจ. เก็ตนีย์ นักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกันผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับภาษาไทยในเวียดนามตอน เหนือ ลาว และจีนตอนใต้ ได้เสนอความเห็นไว้เมื่อ พ.ศ. 2508 ว่า ถิ่นกำเนิดของภาษาไทยมิได้อยู่ทางมณฑลยูนนาน แต่อยู่ที่มณฑลทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนแถวเส้นเขตแดนระหว่างมณฑลกวางสีของ จีนกับเมืองเดียนเบียนฟูของเวียดนามตอนเหนือ

    ฟรเดอริค โมต ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์จีนได้ให้ทัศนะไว้นบทความที่เขียนขึ้นใน พ.ศ. 2507 ว่า หลักฐานประวัติศาสตร์จีนแม้จะไม่ระบุไว้อย่างชัดเจน เกี่ยวกับกำเนิดของชนชาติไทยว่าอยู่บริเวณใด แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจีนใด ๆ ที่จะคัดค้านสมมติฐานที่ว่า ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในบริเวณตอนใต้ของจีนและบริเวณต่อเนื่องกับเขต แดนของเวียดนาม

    เจมส์ อาร์ แชมเบอร์เลน นักภาษาศาสตร์ กล่าวว่า "ถิ่นกำเนิดเริ่มแรกของชนชาติไทยนั้นน่าจะอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลเหนือปากแม่ น้ำแยงซีตอนล่าง เพราะเป็นวิถีชีวิตของกลุ่มคนที่พูดภาษาไทยที่เพราะปลูกข้าวนาลุ่มมาแต่แรก ข้อมูลเกี่ยวกับคำศัพท์ของกล้าข้าว ประเภทต่าง ๆ ในภาษาไทยสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มคนที่พูดภาษาไทยอาจเป็นคนกลุ่มแรกที่รู้จัก เพาะปลูกข้าวนาลุ่ม

    พอล เบเนดิกต์ นักภาษาศาสตร์และมนุษยวิทยาชาวอเมริกันได้เสนอว่า ถิ่นกำเนิดของกลุ่มคนที่พูดภาษาไทยนั้นอยู่บริเวณทางตอนใต้ของจีน

    ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช กล่าวว่าคนไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของจีนแถบมณฑลกวางตุ้ง กวางสี ต่อมาประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าไทยจึงได้อพยพมาทางตะวันตก ตั้งแต่มณฑลเสฉวน เมืองเชียงตู ลงล่างเรื่อยมาจนเข้าเขตยูนนาน และลงมาทางใต้ผ่านสิบสองจุไทลงสู่ประเทศลาว

    จิตร ภูมิศักดิ์ เสนอทัศนะไว้ว่า คนเผ่าไทยอาศัยอยู่กระจัดกระจายในบริเวณทางตอนใต้ของจีน และบริเวณภาคเหนือของไทย ลาว เขมร พม่า และรัฐอัสสัมของอินเดีย แนวความเชื่อนี้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีหลักฐานในสาขาวิชาการต่าง ๆ ทั้งทางด้านภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี มานุษยวิทยา และอื่น ๆ มาสนับสนุนเป็นจำนวนมาก

    4. แนวความคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่เป็นประเทศไทยใน ปัจจุบัน
    คอริช เวลส์ เป็นนักวิชาการตะวันตกคนแรกที่เสนอสมมติฐานว่า ถิ่นเดิมของชนชาติไทย อยู่บริเวณประเทศไทยปัจจุบัน โดยอาศัยหลักฐานจากกะโหลกศรีษะที่ขุดได้จากตำบลพงตึก จังหวัดกาญจนบุรีที่มีอายุราวต้นคริสต์ศตวรรษ ซึ่งเวลส์เห็นว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับกระโหลกศรีษะของคนไทยปัจจุบัน นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ได้ทำการศึกษาโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่ 37 โครง ซึ่งพบบริเวณสองฝั่งแม่น้ำแควน้อยและแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี พบว่าโครงกระดูกของมนุษย์หินใหม่เหมือนกับโครงกระดูกของคนไทยปัจจุบันเกือบ ทุกอย่าง จึงสรุปว่าดินแดนไทยเมื่อครั้งอดีตน่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของบรรพบุรุษของคน ไทยปัจจุบันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว

    ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโบราณคดี ได้เสนอว่า มีร่องรอยของผู้คนอาศัยอยู่ตั้งแต่ยุคหินเก่าเรื่อยมาจนกระทั่งยุคหินกลาง หินใหม่ ยุคโลหะ และเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ โดยแต่ละยุคได้มีการสืบเนื่องทางวัฒนธรรมสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันด้วย

    แนวความคิดนี้มีนักวิชาการหลายท่านพยายามนำหลักฐานทางด้านโบราณคดี และเอกสารมาพิสูจน์ให้เห็นจริงว่าคนไทยน่าจะอยู่บริเวณนี้มาก่อน โดยไม่ได้อพยพมาจากดินแดนอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไป ซึ่งแนวความคิดนี้ในปัจจุบันยังไม่ถือว่าเป็นข้อยุติ

    5. แนวความคิดที่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณคาบสมุทรอินโดจีนหรือ คาบสมุทรมลายูบริเวณหมู่เกาะชวา
    นายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ ได้ทำวิจัยทางด้านพันธุศาสตร์เกี่ยวกับหมู่เลือดลักษณะของจำนวนยีน พบว่าหมู่เลือดของคนไทยคล้ายคลึงกับชาวเกาะชวา ที่อยู่ทางใต้มากกว่าคนจีนซึ่งอยู่ทางเหนือ รวมทั้งลักษณะและจำนวนของยีนระหว่างคนไทยกับคนจีนก็ไม่เหมือนกันด้วย

    ดร.ถาวร วัชราภัย ได้ทำวิจัยกลุ่มเลือดที่ทันสมัย สรุปได้ว่าไทยดำและผู้ไทยมีลักษณะเลือดใกล้เคียงกับชาวจีน แต่ไม่ใกล้เคียงกับชาวมาเลย์ แต่ชาวมาเลย์มีลักษณะเลือดใกล้เคียงกับชาวเขมร ขากรรไกรและฟันก็ได้ผลเช่นเดียวกัน ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้ทำผลงานการวิจัยเรื่องฮีโมโกลบิน อี พบว่า ฮีโมโกลบิน อี มีมากในผู้คนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ไทย ลาว เขมร พม่า มอญ และอื่น ๆ คนจีนเกือบไม่มีอยู่เลย แต่ปัจจุบันนี้ได้เลิกใช้ฮีโมโกลบิน อี เป็นเครื่องพิสูจน์ว่ากลุ่มใดมีบรรพบุรุษร่วมกับกลุ่มใด เพราะมีการพิสูจน์ได้ว่าดินแดนที่มีฮีโมโกลบิน อี มาก คือดินแดนที่มีไข้มาลาเรียมาก

    แนวความคิดนี้ปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดและยังไม่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางนัก

    ไท และไทยสยาม

    คำว่า “ไทย” เดิมรู้จักกันในนามของ “สยาม” และมีปรากฏในหลักฐานหลายแห่งที่เก่าที่สุด คือ ในศิลาจารึกของอาณาจักรกัมพูชาก่อนสมัยพระนครหลวง และพบในจารึกจาม พ.ศ.1593 จารึกพม่า พ.ศ.1663 และในแผนที่ภูมิศาสตร์ของจีนที่ทำขึ้นใน พ.ศ.1753 กำหนดเขตแดนของเสียมหรือสยามไว้ ส่วนคำว่า “ไท” มีความหมายกว้างกว่า คำว่า “ไทย” ดังนี้

    ความหมายของคำว่า “คนไท” และ “คนไทย”
    “ไท” มีความหมายกว้างกว่า คำว่า “ไทย” ไท หมายถึง ไทย (คนไทยในประเทศไทย)*และรวมถึงคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศต่าง ๆ ด้วย ดังนั้น คนไท คือ บุคคลซึ่งมีเชื้อชาติไทย พูดภาษาตระกูลไทย มีขนบธรรมเนียมประเพณีของคนเชื้อชาติไทย ทั้งนี้ไม่จำกัดเฉพาะ ภาษาไทยในประเทศไทย ขนบธรรมเนียมที่ใช้ในประเทศไทย แต่หมายถึง ภาษาในเครือ ภาษาไทยซึ่งมีลักษณะเป็นคำโดดและเรียงคำ คำบางคำอาจใช้แตกต่างกัน ขนบธรรมเนียมก็อาจจะแตกต่างกันได้ ทั้งนี้เป็นไปตามเผ่าแต่ละเผ่า

    ความหมายของคำว่า “สยาม”
    คำว่า “สยาม” เป็นคำที่ชนชาติอื่นใช้เรียกประเทศไทย ปรากฏตามอักษรจำหลักใต้ รูปกระบวนแห่งที่ปราสาทนครวัดว่า “พลเสียม” หรือ “พลสยาม” จึงเข้าใจว่าคนชาติอื่นใช้เรียกประเทศตามขอม พระเจนจีนอักษร ได้แปลจดหมายเหตุจีน อธิบายคำว่า “สยาม” ไว้ว่าประเทศนี้เดิมเป็นอาณาเขต “เสียมก๊ก” อยู่ข้างเหนือ “โลฮุกก๊ก” อยู่ข้างใต้ ต่อมารวมเป็นอาณาเขตเดียวกัน จึงได้สนามว่า “เสียมโลฮุกก๊ก” แต่คนเรียกทิ้งคำ “ฮก” เสีย คงเรียกกันว่า “เสียมโลก๊ก” สืบมาเป็นอาณาเขตอยู่ดังกล่าว

    “สยาม” เป็นคำที่เริ่มใช้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 4 ก่อนหน้านี้ประเทศไทยเรียกตัวเองว่า “กรุงศรีอยุธยา” ดังจะเห็นได้จากข้อความที่ปรากฏตามหนังสือสัญญาที่ทำกับประเทศอังกฤษ ในสมัยรัชกาลที่ 3 เรียกประเทศว่า “กรุงศรีอยุธยา” และเพิ่งปรากฏหลักฐานว่าประเทศไทย เรียกตัวเองว่า “ประเทศสยาม” ในสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อทรงทำสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ และทรงลงพระนามาภิไธยว่า “REX SIAMNIS”** และทรงหล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า “พระสยามเทวาธิราช”

    ต่อมาใน พ.ศ.2481 นายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม (ยศและบรรดาศักดิ์ขณะนั้น เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” และเมื่อเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 แล้ว นายควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีประมาณ 3 เดือนเศษ รัฐบาลนี้เรียกชื่อประเทศไทยเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสว่า “SIAM” อีกครั้ง ถึงเดือนเมษายน 2491 รัฐบาลพิบูลสงครามเข้ารับตำแหน่งแทน ได้เปลี่ยนชื่อประเทศไทยในภาษาอังกฤษว่า “THAILAND” และในภาษาฝรั่งเศส “THAILAND” 5 ซึ่งรัฐบาลต่อ ๆ มาได้ใช้ตราบจนปัจจุบัน

    แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดคนไทย

    การศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของผู้คนในดินแดนต่าง ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย เริ่มขึ้นโดยชาวตะวันตกซึ่งใช้วิธีการค้นคว้า คือ เดินทางไปสำรวจด้วย ตนเอง สอบสวนค้นคว้าทางภาษา การแต่งกาย ความเป็นอยู่ สภาพบ้านเมือง ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะและอื่น ๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้จากประจักษ์พยานไปประมวลเป็นงานเขียนหรือรายงานการสำรวจ และอีกวิธีคือ สืบค้นนำข้อมูลที่ได้จากประจักษ์พยานไปประมวลเป็นงานค้นคว้าของชาวต่าง ประเทศที่เรียบเรียงไว้ ดังนั้นวิธีการดังกล่าวรวมทั้งการศึกษาค้นคว้าของคนไทยได้ก่อให้เกิดความ หลากหลายในทัศนะเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของคนไทย ดังนี้

    1. กลุ่มที่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดคนไทยอยู่ในบริเวณมณฑลเสฉวน ประเทศจีน
    เตเรียน เดอ ลาคูเปอรี (Terrien de la couperie) ศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ ประจำมหาวิทยาลัยลอนดอน ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาศาสตร์ของอินโดจีน เป็นเจ้าของความคิดนี้ ผลงานของท่านชื่อ The Cradle of the Shan Race ตีพิมพ์ พ.ศ.2428 อาศัยหลักฐานจีนโดยพิจารณาความคล้ายคลึงกันทางภาษาของผู้คนในจีนและเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ แล้วสรุปว่า คนเชื้อชาติไทยตั้งถิ่นฐานในดินแดนจีนก่อนจีน คือเมื่อ 2208 ปีก่อนคริสตกาล ดังปรากฏในรายงานการสำรวจภูมิประเทศจีน ถิ่นที่อยู่ของคนไทยที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีนนี้อยู่ในเขตมณฑลเสฉวนในปัจุบัน

    งานของลาคูเปอรี ได้รับการสืบทอดต่อมาในงานเขียนของนักวิชาการไทย เช่น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประภาศิริ เสฐียรโกเศศ พระยาอนุมานราชธน หลวงวิจิตรวาทการ และศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์

    2. กลุ่มที่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดคนไทยอยู่แถบเทือกเขาอัลไต ทางตอนเหนือของประเทศจีน
    เจ้าของความคิด คือ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ชื่อ วิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ (William Clifton Dodd) ได้เดินทางไปสำรวจความเป็นอยู่ของชาติต่าง ๆ ในดินแดนใกล้เคียงพร้อมทั้งเผยแพร่ศาสนาด้วย โดยเริ่มจากเชียงราย เชียงตุง สิบสองปันนา ยูนนาน จนถึง ฝั่งทะเลกวางตุ้ง ผลจากการสำรวจปรากฏในงานเขียนเรื่อง The Thai Race : The Elder Brother of the Chinese ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ.2452 งานเขียนนี้สรุปว่าไทยสืบเชื้อสายจากมองโกลและเป็นชาติเก่าแก่กว่าจีนและฮิ บรู งานเขียนของหมอดอดด์ ได้รับความสนใจทั้ง ชาวไทยและต่างประเทศ นักวิชาการไทยคนสำคัญที่สืบทอดความคิดของหมอดอดด์ คือ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ได้เขียนงานเขียนชื่อ “หลักไทย” เป็นหนังสือแต่งทางประวัติศาสตร์ ได้รับพระราชทานรางวัลของพระบาทสมเด็กพระปกเกล้าฯ กับประกาศนียบัตรวรรณคดีของราชบัณฑิตยสภา ใน พ.ศ.2471 ในหนังสือ หลักไทย สรุปว่าแหล่งกำเนิดของคนไทยอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไต (แหล่งกำเนิดของมองโกลด้วย) หลักสูตรไทยได้ใช้เป็นตำราเรียนประวัติศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นเวลา นาน แต่ปัจจุบัน แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับน้อยมาก

    3. กลุ่มที่เชื่อว่าไทยมีถิ่นกำเนิดกระจัดกระจายทั่วไปในบริเวณตอนใต้ของจีนและ ทางเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนแคว้นอัสสัมของอินเดีย
    นักสำรวจชาวอังกฤษ ชื่อ โคลกูฮุน (Archibal R. Colguhon) เป็นผู้ริเริ่มความเชื่อนี้ เขาได้เดินทางจากกวางตุ้งตลอดถึงมัณฑเลย์ในพม่าและได้เขียนหนังสือชื่อ Chrysi เล่าเรื่องการเดินทางสำรวจดินแดนดังกล่าว และเขียนรายงานไว้ว่าพบคนไทยเชื้อชาติไทยในแถบนี้ งานเขียนนี้ตีพิมพ์ในอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2428 ผู้เขียนได้รับรางวัลเหรียญทองจากสมาคมภูมิศาสตร์ของอังกฤษ ต่อมาหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสและเยอรมัน ทำให้แนวคิดนี้แพร่หลายออกไป

    นอกจากนี้มีงานค้นคว้าประเภทอาศัยการตีความหลักฐานจีนอีก เช่น งานของ E.H. Parker ปาร์คเกอร์ กงสุลอังกฤษประจำเกาะไหหลำ เขียนบทความเรื่องน่านเจ้า พิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2437 โดยอาศัยตำนานจีน บทความนี้พูดถึงอาณาจักรน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของคนไทยเฉพาะราชวงศ์สินุโลและ คนไทยเหล่านี้ถูกคนจีนกดดันถึงอพยพลงมาทางใต้ งานของเขียนปาร์คเกอร์ได้รับการสนับสนุนจากทั้งนักวิชาการตะวันตกและจีน (ศาสตราจารย์ติง ศาสตราจารย์ โชนิน ศาสตราจารย์ชุนแชง) และญี่ปุ่น (โยชิโร ชิราโทริ)

    งานค้นคว้าที่เดิ่นอีกคืองานของ วิลเลียม เคร์ดเนอร์ (Willian Credner) ซึ่งค้นคว้าเกี่ยวกับยูนนานโดยสำรวจภูมิประเทศและเผ่าพันธุ์ที่ตกค้างในยู นนาน สรุปว่าถิ่นเดิมของชนเผ่าไทยควรอาศัยในที่ต่ำใกล้ทะเล เช่น มณฑลกวางสี กวางตุ้ง ส่วนแถบอัลไตคนไทยไม่น่าจะอยู่เพราะคนไทยชอบปลูกข้าว ชอบดินแดนแถบร้อนไม่ชอบเนินเขา

    นอกจากนี้ วูลแกรม อีเบอร์ฮาด (Wolgram E berhard) ชาวเยอรมันผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมวิทยา มานุษยวิทยา และโบราณคดีจีน ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของไทยในงานเขียนชื่อ A History of China (พิมพ์เป็นภาษาเยอรมัน ต่อมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ) สรุปว่าเผ่าไทยอยู่บริเวณมณฑลกวางตุ้ง ต่อมาอพยพมาอยู่แถบยูนนานและดินแดนในอ่าวตังเกี๋ย (สมัยราชวงศ์ฮั่น) ได้สร้างอาณาจักรเทียนหรือแถน และถึงสมัยราชวงศ์ถัง เผ่าไทยได้สถาปนาอาณาจักรน่านเจ้าขึ้นที่ยูนนาน

    งานเขียนของบุคคลเหล่านี้ได้ให้แนวคิดแก่นักวิชาการไทยและต่าง ประเทศในระยะต่อมา เช่น ยอร์ช เซเดส์ ชาวฝรั่งเศส ได้สรุปว่าชนชาติไทยอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจีน แถบตังเกี๋ย ลาว สยาม ถึงพม่า และอัสสัม

    ส่วนนักวิชาการไทยที่สนใจศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของคนไทยทั้งจาก เอกสารไทยและต่างประเทศคือพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) งานเขียนของท่าน คือ พงศารโยนก ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ.2441-2442 งานชิ้นนี้สรุปว่าคนไทยมาจากตอนใต้ของจีนและ นักวิชาการไทยอีกท่านหนึ่งคือ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้ใช้วิธีการทางนิรุกติศาสตร์ วิเคราะห์ตำนาน พงศาวดารท้องถิ่นทางเหนือของไทยและตรวจสอบกับจารึกของประเทศข้างเคียง เขียนหนังสือ ชื่อ “ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และจาม และลักษณะสังคมของชื่อชนชาติ” พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ.2519 จิตรสรุปว่าที่อยู่ของคนเผ่าไทย อาศัยอยู่กระจัดกระจายในบริเวณทางตอนใต้ของจีนและบริเวณภาคเหนือของไทย ลาว เมขร พม่า และรัฐอัสสัมในอินเดีย และให้ความเห็นเกี่ยวกับน่านเจ้าว่า น่านเจ้าเป็นรัฐทางใต้สุด เดิมจีนเรียกอาษาจักรไต - หลอหลอ (น่านเจ้า แปลว่า เจ้าทางทิศใต้)

    จะเห็นได้ว่าในบรรดานักวิชาการที่เชื่อว่าอดีตของเผ่าไทยอยู่กระจัด กระจายในบริเวณตอนใต้ของจีนและบริเวณทางเหนือของไทย ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา และรัฐอัสสัม และอินเดีย ต่างก็มีทัศนะที่ต่างกันในรายละเอียด โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับอาณาจักรน่านเจ้าและนักวิชาการกลุ่มนี้เริ่มศึกษาค้น คว้า เรื่องราวของคนไทยโดยอาศัยหลักฐานหลายด้าน ทั้งด้านนิรุกติศาสตร์ มานุษยวิทยา หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี

    4. กลุ่มที่เชื่อว่าถิ่นเดิมของไทยอยู่บริเวณประเทศไทยปัจจุบัน
    พอล เบเนดิคท์ (Paul Benedict) นักภาษาศาสตร์และมนุษยวิทยาชาวอเมริกัน ค้นคว้าเรื่องเผ่าไทยโดยอาศัยหลักฐานทางภาษาศาสตร์และสรุปว่า ถิ่นเดิมของไทยน่าจะอยู่ในดินแดนประเทศไทย ตั้งแต่เมื่อประมาณ 4000-3500 ปีมาแล้ว พวกตระกูลมอญ เขมร อพยพมาจากอินเดียเข้าสู่แหลมอินโดจีนได้ผลักดันคนไทยให้กระจัดกระจายไปหลาย ทางขึ้นไปถึงทางใต้ของจีนปัจจุบัน ต่อมาถูกจีนผลักดันจนอพยพลงใต้ไปอยู่ในเขตอัสสัม ฉาน ลาว ไทย และตังเกี๋ย จึงมีกลุ่มชนที่พูดภาษาไทยกระจัดกระจายไปทั่ว

    นักวิชาการไทย นายแพทย์สุด แสงวิเชียร และศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ให้ความเห็นว่าดินแดนไทยปัจจุบันเป็นที่อาศัยของหมู่ชนที่เป็นบรรพบุรุษของ ไทยปัจจุบัน มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสรุปว่าบรรพบุรุษไทยอยู่ในดินแดนประเทศ ไทยมาตลอด เนื่องจากหลักฐานทางโบราณคดีได้แสดงถึงความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมรวมทั้งการ ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะโครงกระดูกที่ขุดพบ

    5. กลุ่มที่เชื่อว่า ถิ่นเดิมของไทยอาจอยู่ทางบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยหรืออินโด จีน หรือบริเวณคาบสมุทรมลายู และค่อย ๆ กระจายไปทางตะวันตก และทางใต้ของอินโดจีนและทางใต้ของจีน
    กลุ่มนี้ศึกษาประวัติความเป็นมาของชนชาติไทยด้วยวิธีทางวิทยา ศาสตร์บนรากฐานของวิชาพันธุศาสตร์ คือการศึกษาความถี่ของยีนและหมู่เลือดและการศึกษาเรื่องฮีโมโกลบินอี เช่น นายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ ได้ศึกษาความถี่ของยีนและหมู่เลือด พบว่าหมู่เลือดของคนไทยคล้ายกับชาวชวาทางใต้มากกว่าจีนทางเหนือ จากการศึกษาวิธีนี้สรุปได้ว่า คนไทยมิได้สืบเชื้อสายจากคนจีน ส่วนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฮีโมโกลบินอีนั้น นายแพทย์ประเวศ วะสี และกลุ่มนักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น สรุปว่า ฮีโมโกลบินอี พบมากในผู้คนในแถบเอเชียอาคเนย์ คือ ไทย ลาว พม่า มอญ และอื่น ๆ สำหรับประเทศไทยผู้คนทางภาคอีสานมีฮีโมโกลบินอีมากที่สุด (คนจีนเกือบไม่มีเลย)

    สรุป ปัจจุบันความก้าวหน้าทางวงการศึกษามีมากขึ้นและมีการแตกแขนงวิชาออกไปมากมาย เพื่อหาคำตอบเรื่องของมนุษย์และสังคมที่มนุษย์อยู่ ทำให้ความรู้และความเชื่อเดิมของมนุษย์ถูกตรวจสอบอย่างจริงจัง ด้วยเหตุนี้ความเชื่อในเรื่องถิ่นกำเนิดของคนไทยซึ่งอยู่ที่มณฑลเสฉวนและทาง ภูเขาอัลไตจึงถูกวิพากษ์ถึงความสมเหตุสมผล และเมื่อมีการประสานกันค้นคว้าจากสหวิชาการจึงได้คำตอบในแนวใหม่ว่าคนเผ่าไท เป็นเผ่าที่อยู่กระจัดกระจายในแนวกว้างในบริเวณตอนใต้ของยูนนาน ทางตอนเหนือของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และรัฐอัสสัมของอินเดีย พื้นฐานความเชื่อใหม่นี้อาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดี ทำให้ทราบได้ว่า คนเผ่านี้รู้จักกันในชื่อต่าง ๆ ในแต่ละท้องถิ่น เช่น ไทใหญ่ ไทอาหม ผู้ไท ไทดำ ไทขาว ไทลื้อ ไทลาว ไทยวน เป็นต้น การค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดียังสอดคล้องกับการค้นคว้าทางด้าน นิรุกติศาสตร์และภาษาศาสตร์ที่พบว่า คนในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เรียกชนชาติไทยว่า ชาม ชาน เซม เซียม ซียาม เสียมบ้าง และในภาษาจีนเรียกว่า ส่าน ส้าน (สำหรับคนไทโดยทั่วไป) และเซียม (สำหรับไทสยาม) และความหมายของคำที่เรียกคนไทก็มีความหมายสอดคล้องกับลักษณะชีวิตทางด้าน สังคมและการทำมาหากินของคนไทยเช่นคำว่า “ส่าน” ซึ่งเป็นคำภาษาจีนเรียกคนไท แปลว่า “ลุ่มแม่น้ำ” ความหมายนี้มีลักษณะสอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของชนชาติไทที่ก่อตั้ง ชุมชนขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและทำอาชีพกสิกรรม รู้จักทำทำนบหยาบ ๆ พร้อมทั้งคันคูระบายน้ำคือ เหมือง ฝาย รู้จักใช้แรงงานสัตว์และใช้เครื่องมือในการทำนา เช่น จอบ คราด ไถ

    ปัจจุบันการศึกษาค้นคว้าเรื่องถิ่นเดิมของชนชาติไทย และคนไทยในประเทศไทยปัจจุบัน คือการหันมาให้ความสนใจทางด้านวัฒนธรรมมากกว่าเรื่องเชื้อชาติ เพราะไม่มีเชื้อชาติใดในโลกนี้ที่เป็นเชื้อชาติบริสุทธิ์และยิ่งใหญ่เหนือชน เชื้อชาติอื่น ดินแดนประเทศไทยเป็นทางผ่านที่คนหลายเผ่าพันธุ์ หลายตระกูลเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งรกราก ประเทศไทยเป็นแหล่งสะสมของคนหลายหมู่เหล่าก่อนที่จะพัฒนาขึ้นมาเป็นรัฐประชา ชาติที่เรียกว่าประเทศไทย ดังนั้นการเป็นคนไทจึงควรมองที่วัฒนธรรมไทยมากกว่าเรื่องเชื้อชาติ

    การจัดระดับชั้นของสังคมไทย

    มิได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง เพราะมีปัจจัยทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง คือ
  • วงศ์ตระกูล เป็นสิ่งที่ได้มาโดยกำเนิด เช่น เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ หรือเป็นสิ่งที่ได้มาโดยความสามารถ เช่น เป็นขุนนาง ขุน หลวง พระยา ( ดูสกุล )
  • ตำแหน่งทางการเมือง ผู้มีอำนาจทางการเมืองสูง จะมีอำนาจและได้รับการยกย่อง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้แทนราษฏร ฯลฯ
  • ตำแหน่งทางราชการ เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มีเหรียญตรา เช่น ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด นายพล เป็นต้น
  • อำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งของรัฐและเอกชน ที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจ และการเมือง เช่น พ่อค้าคหบดี นักหนังสือพิมพ์ หัวหน้ากรรมกร
  • ความมั่งคั่ง ผู้มีทรัพย์สินเงินทอง มักจะได้รับการยกย่องอยู่ในระดับสูง ความมั่งคั่งจึงคล้ายเป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จและได้รับเกียรติในสังคม
  • ระดับการศึกษา ผู้ที่ได้รับการศึกษาสูงมักจะได้รับการยกย่อง ยิ่งศักดิสูงเท่าไรยิ่งจะได้รับการยกย่องมากขึ้นเท่านั้น แม้แต่การทำงาน คนมีศึกษาสูงย่อมได้ตำแหน่งหน้าที่การงานดีกว่าคนที่มีการศึกษาต่ำ
  • อาชีพ ปกติคนที่มีอาชีพเป็นที่ยกย่องจะได้รับสถานภาพสูงในสังคม เช่น นักการเมือง นักการทูต ครู อาจารย์ นักกฏหมาย แพทย์ ทหาร ตำรวจ ฯลฯ
ส่วนผู้มีอาชีพแบบใช้งาน งานจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า เช่น อาชีพที่ต้องใช้แรงงาน ช่างฟิต ช่างทาสี กรรมกรแบกหาม เป็นต้น
  • ชั้นสูงสุด 1 . พระมหากษัตริย์ และพระราชินี พระบรมวงศานุวงศ
  • ชั้นสูงธรรมดา 2 . คณะรัฐมนตรี่ รัฐบุรุษชั้นนำ
  • ชั้นค่อนข้างสูง 3 . ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นักธุรกิจอุตสาหกรรมชั้นนำ ที่มีอิทธิพล
  • ชั้นกลางสูง 4 . ปัญญาชนชั้นนำ ข้าราชการชั้นพิเศษ
  • ชั้นกลางธรรมดา 5 . ข้าราชการชั้นเอก พ่อค้า
  • ชั้นต่ำปานกลาง 6 . ข้าราชการชั้นผู้น้อย ช่างฝีมือ
  • ชั้นกลางค่อนข้างต่ำ 7 . เสมียนพนักงาน ลูกจ้าง
  • ชั้นต่ำ 8 . กรรมกร ชาวนา พ่อค้าหาบเร่
ยิ่งไปกว่านั้นชั้นชนในสังคมไทยยังอาจแบ่งได้ 8 ชั้น ดังนี้
  1. ชั้นสูงสุด (supreme) มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถอยู่บนยอดสุด รองลงมามีเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง เช่น พระบรมวงศ์เธอ
  2. ชั้นสูง (elite) ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี บุคคลชั้นรัฐมนตรีทั้งหลาย องคมนตรีและรัฐบุรุษผู้มีชื่อ
  3. ชั้นค่อนข้างสูง (upper) ประกอบด้วย บุคคลชั้นปลัดกระทรวง นายพล อธิบดี อธิการบดีมหาวิทยาลัย ผู้นำทางการค้าและเศรษฐกิ
  4. ชั้นกลางสูง (upper – middle) ประกอบด้วยปัญญาชนชั้นนำ ช้าราชการชั้นพิเศษ ผู้อำนายการกองหรือสำนักงาน อาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ของสถาบันขั้นมหาวิทยาลัย ครู อาจารย์อื่นที่มีคุณวุฒิสูงและมีชื่อเสียง นักธุรกิจชั้นนำ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ นักเขียนผู้มีชื่อ นักวิชาการ นายแพทย์ชั้นนำ
  5. ชั้นกลางธรรมดา (middle) ประกอบด้วยข้าราชการชั้นเอกธรรมดา และชั้นโท พ่อค้า ปัญญาชนชั้นรอง ผู้ทีสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีและโทในประเทศหรือจากต่างประเทศ ทนายความ นายแพทย์ นักธุรกิจชั้นรอง ครู อาจารย์ทั่วไป
  6. ชั้นกลางค่อนข้างต่ำ (Lower-middle) ประกอบด้วยข้าราชการชั้นตรี นักธุรกิจบุคคลผู้ที่พอมีพอกิน การศึกษาไม่สูงนัก ราว ๆ ม .8 หรือ มศ .5 หรืออย่างมากก็อาชีวศึกษาชั้นสูง หรืออนุปริญญา ช่างกลหรือช่างเครื่องยนต์
  7. ชั้นตำปางกลาง (upper-lower) ได้แก่เสมียน พนักงานอันดับต่ำในวงราชการองค์การอุตสาหกรรม ลูกจ้างชั้นสูง ช่างฝีมือ เช่น ช่างไม้ ช่างเหล็ก ช่างปูน ช่างทาสี
  8. นต่ำ (lower-lower) ได้แก่กรรมกรหาเช้ากินค่ำ ผู้ไม่มีฝีมือ (unskilled labours) ที่ใช้แต่กำลังแรง ชาวนาที่ปลูกพืช หรือเลี้ยงสัตว์บางอย่างในปริมาณน้อยพอกินพอใช้ในครอบครัวแม่ค้าหาบเร่ หรือตามแผงลอย
การจัดระดับชั้นชนที่กล่าวมาไม่ถึงกับเป็นกฏตายตัวแน่นอน เพราะสังคมไทยเป็นสังคมเปิด ทุกคนจึงสามารถที่จะเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นหรือถูกเลื่อนไปทาง ที่ต่ำลงได้ เช่น ชาวนา ชาวไร่ ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นชาวนาชาวไร่ตลอด หากมีความรู้ความสามารถก็อาจเป็นผู้แทนราษฏร ปลัด แพทย์ พยาบาล ผู้ว่าราชการจังหวัด รัฐมนตรี ฯลฯ ในขณะเดียวกันคนที่มีตำแหน่งสูก็ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในระดับสูงอยู่อย่าง นั้นตลอดไป ยกเว้นพระราชโอรสพระธิดาของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งประสูติแต่พระมารดาที่เป็นพระ ขนิษฐาภคินี ( น้องสาว ) ต่างพระมารดาของพระเจ้าแผ่นดินโดยตรงเท่านั้น นอกเหนือจากนี้แล้วเชื้อสายของเจ้านายอื่นๆ จะกลายเป็นสามัญชนในช่วงสี่อายุคน พระราชโอรสพระธิดาของพระเจ้าแผ่นดินที่ประสูติแต่พระราชินีที่เป็นพระขนิษฐา ภคินีต่างพระมารดาของเจ้านายเหล่านี้จะมีฐานันดรต่ำลงมาตามลำดับ และเมื่อถึงหลานทวดจะไม่มีฐานันดรเลย ลักษณะจะข้ามวรรณะกันไม่ได้ แต่ปัจจุบันระบบวรรณะนี้จะอ่อนลง สังเกตได้จากคนที่อยู่ในวรรณะจัณฑาลนอกจากจะถูกจัดว่าเป็นชนชั้นต่ำต้อยที่ สุดแล้ว ยังได้รับการเหยียดหยามจากวรรณะอื่น รวมทั้งไม่อาจทำงานในระดับสูงได้ ต้องทำงานอะไรก็ตามที่วรรณะอื่นเขาไม่ทำกันเท่านั้น

ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของรัฐไทย ในที่นี้ จะกล่าวถึง 2 เรื่อง คือ แนวคิดเรื่องถิ่น กำเนิดชนชาติไทย คือความพยายามสืบค้นหาถิ่นกำเนิดของบรรพบุรุษของคนไทยว่า เคยอยู่ ณ แหล่งใด มาก่อนที่จะมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย และ อาณาจักรต่าง ๆ ในดินแดนที่ชนชาติไทยอาศัยอยู่

แนวคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย

แนวความคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยเกิดขึ้นตามการเปลี่ยนเเปลงของเหตุปัจจัย ในบ้านเมือง และสถานการณ์ของโลกทำให้จุดมุ่งหมายของการสืบค้น วิธีการสืบค้น และแนวความคิดที่ได้จากการสืบค้น เกี่ยวกับถิ่นกำเนิด ของชนชาติไทย แตกต่างกันถึง 4 เเนวทาง คือ
1. เเนวคิดที่ว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในประเทศจีนตั้งแต่เทือกเขาอัลไต ทางตอนเหนือและ อพยพมาสู่มณฑลยูนนานทางตอนใต้แล้วจึงอพยพลงสู่ดินแดนในประเทศไทยเรียกเส้นทางอพยพนี้ง่าย ๆ ว่า อัลไต - เสฉวน - ยูนนาน

2. เเนวคิดที่ว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยกระจายเป็นแนวกว้างตั้งแต่ภาคใต้ ภาคตะวันออก เฉียงใต้ของจีน แถบมณฑลยูนนาน กวางตุ้ง กวางสี รวมไปถึงตอนเหนือของภาคพื้นเอเซียตะวันออก เฉียงใต้ในประเทศเวียดนาม ลาว ไทย และพม่า ตลอดจนบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย

3. เเนวคิดที่ว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในดินแดนประเทศไทยเป็นการพิจารณาโดย มุมมอง ทางวัฒนธรรม โดยใช้ข้อมูลแสดงให้เห็นร่องรอยของความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมของผู้คนที่ตั้งหลักแหล่ง อยู่ตามที่ราบลุ่มปากแม่น้ำต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยังพบหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อน ประวัติศาสตร์เช่น โครงกระดูก ขวานหิน เครื่องมือสำริด เครื่องปั้นดินเผา ที่ยืนยันว่า ชนชาติไทย อาศัยอยู่ในดินเดนที่เป็นประเทศไทย ปัจจุบันมาเป็นเวลานานกว่า 4,000 ปี มาแล้ว

4. เเนวความคิดที่ว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอาจกระจายอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ในอินโดจีน ในบริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะเป็นการสืบค้นโดยใช้หลักฐานด้าน พันธุศาสตร์โดยคณะนักวิชาการสายการแพทย์แขนงต่าง ๆ ร่วมกับสายสังคมศาสตร์ได้พยายามค้นหาดัชนี ความเป็นไทย โดยอาศัยหลักฐานจากหมู่เลือด 5 หมู่ รูปร่างของฟันหน้า ขนาดของฟันหลัง (กราม) ความลึก ความกว้างและความโค้งของขากรรไกร ตลอดจนโครงสร้างของ ดีเอนเอของกลุ่มคน 5 กลุ่ม คือ ผู้ไท ไทดำ มลายู เขมรและจีน พบว่าไทดำและ ผู้ไทมีลักษณะหมู่เลือด ลักษณะฟันและขากรรไกร ใกล้เคียงกับจีน และชาวมลายูมีลักษณะเหล่านี้ใกล้เคียงกับเขมร การใช้หลักฐานทางการแพทย์สืบค้นเรื่องถิ่นกำเนิดของ ชนชาติไทย นับได้ว่าเป็นก้าวใหม่ของการศึกษาและเป็นสิ่งที่ ผู้เขียนและประชาชน จะต้องติดตามศึกษา ความก้าวหน้าของศาสตร์ด้านนี้ต่อไปในอนาคต

แม้ว่าในวงการศึกษายังไม่มีข้อสรุปถึง ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยที่ชัดเจน แต่ผลการศึกษาแนว ความคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ทำให้ผู้เรียนได้เห็นถึงกระบวนการในการสืบค้นเรื่องราว ในอดีตว่า ต้องอาศัยหลักฐานและการวิเคราะห์ การตีความหลักฐานเป็นสำคัญ อันจะเป็นพื้นฐานในการศึกษาค้นคว้า ความรู้อื่น ๆ ของผู้เรียนต่อไป

ดินแดนประเทศไทยเป็นดินเเดนเก่าแก่ที่มีความเจริญสืบเนื่องตั้งเเต่ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่และยุคโลหะ ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น