จำนวนผู้เข้ามาเยี่ยมชม

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

การตั้งประเทศไทย

         ดินแดนประเทศไทยเป็นดินแดนเก่าแก่ ที่มีความเจริญสืบเนื่องกันมาตั้งแต่ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่ และยุคโลหะในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึง ช่วงเวลาที่มนุษย์ยังมิได้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ ส่วนสมัยประวัติศาสตร์ หมายถึง สมัยที่มนุษย์รู้จักใช้ตัวอักษรในการขีดเขียนบันทึกเรื่องราวของชุมชนตนไว้ เป็นหลักฐาน การเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของดินแดนต่าง ๆ ในโลกนี้มิได้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับพัฒนาการความก้าวหน้าของดินแดนนั้น ๆ ในกรณีของดินแดนประเทศไทย อาจารย์ชิน อยู่ดี ได้ใช้จารึกเก่าที่สุดในประเทศไทย ค้นพบที่พะเนียด อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งทำขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1000 เป็นเส้นกำหนดในการแบ่ง พัฒนาการจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ โดยจะเริ่มจากสมัยสุโขทัยเป็นต้นไปดังนี้

อาณาจักรโบราณในประเทศไทย

  1. อาณาจักรทวารวดี เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 มีศูนย์กลางอยู่บริเวณนครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี มีความเจริญ ทางการค้า ศิลปวัฒนธรรม และพุทธศาสนา เช่น วงล้อพระธรรมจักร และกวางหมอบที่พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
     
  2. อาณาจักรโคตรบูร เป็นอาณาจักรอยู่ที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 11-15 มีศูนย์กลางอยู่ที่นครพนมมีวัฒนธรรมประเพณีแบบอินเดีย นับถือพระพุทธศาสนานิกายหินยาน (เถรวาท) โบราณสถานทางพระพุทธศาสนา คือ พระธาตุพนม
     
  3. อาณาจักรศรีวิชัย เป็นอาณาจักรอยู่ในภาคใต้ ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 12-17 มีศูนย์กลางอยู่ที่ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงไปจนจดแหลมมลายู เป็นอาณาจักรที่เป็นศูนย์กลาง การค้าขายทางทะเลมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางพระพุทธศาสนา
     
  4. อาณาจักรล้านนา เป็นอาณาจักรอยู่ในภาคเหนือ ตั้งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 มีความเจริญทางศิลปวิทยาการ มีตัวหนังสือของตนเองใช้เรียกว่า "อักษรไทยยวน (ไทยโยนก)" เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา
     
  5. อาณาจักรละโว้หรืออาณาจักรลพบุรี เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 13 มีความเจริญรุ่งเรืองด้านพระพุทธศาสนา ได้รับเอาศิลปวัฒนธรรมแบบขอมเข้ามาผสมผสานเป็นลักษณะเฉพาะของลพบุรี เช่น พระปรางค์สามยอด ลพบุรี
     
  6. อาณาจักรตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ตั้งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 เป็นศูนย์กลางการค้า และการปกครองแล้ว ยังมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านพระพุทธศาสนา
     
  7. อาณาจักรหริภุญชัย เป็นอาณาจักรอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาทางภาคเหนือ   

อาณาจักรสุโขทัย

การก่อตั้งกรุงสุโขทัย อาณาจักรสุโขทัยก่อตั้งขึ้นประมาณ พ.ศ. 1780 พ่อขุนศรีอินทรา- ทิตย์ ทรงพระนามเดิมว่า พ่อขุนบางกลางหาว ทรงสถาปนาสุโขทัยขึ้นมา สร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับชนชาติไทย โดยขยายเขตการปกครองออกไปอย่างกว้างขวาง สุโขทัยเป็นราชอาณาจักรของชาติไทย อยู่ประมาณ 200 ปี จึงถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1981

กษัตริย์ของกรุงสุโขทัย
1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
2. พ่อขุนบานเมือง
3. พ่อขุนรามคำแหง
4. พระยาเลอไทย
5. พระยางั่วนำถม
6. พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)
7. พระมหาธรรมราชาที่ 2
8. พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย)
9. พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)

การปกครองกรุงสุโขทัย
1. แบบพ่อปกครองลูก พระมหากษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดแบบเครือญาติ เรียกพระมหากษัตริย์ว่า พ่อขุน
2. แบบธรรมราชา พระมหากษัตริย์ เป็นแบบอย่างของธรรมราชา เรียกพระมหากษัตริย์ว่าพระมหาธรรมราชา

การจัดรูปแบบการปกครอง
1. การปกครองราชธานี กรุงสุโขทัยเป็นศูนย์กลางการปกครองในอาณาจักร
2. การปกครองส่วนภูมิภาค เป็นการปกครองเมืองต่าง ๆ ที่อยู่นอกเมืองหลวงออกไป แบ่ง ออกเป็น 3 ประเภท
- หัวเมืองชั้นใน (เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่รอบ ราชธานี ทั้ง 4 ทิศ
- หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) อยู่ไกลจากราชธานีมากกว่าเมือง ลูกหลวง กษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือขุนนางชั้นสูงไปปกครองดูแลดินแดน
- หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ไกลราชธานีออกไปมาก เป็นเมืองของคน ต่างชาติ ต่างภาษา ที่อยู่ใต้การปกครองของสุโขทัย
เศรษฐกิจสมัยสุโขทัย
1. เกษตรกรรม การเพาะปลูกเป็นอาชีพหลักของประชาชน ประชาชนที่ดินทำกินเป็นของตนเอง มีระบบชลประทานเข้าช่วยในการทำการเกษตร
2. หัตถกรรม เครื่องสังคโลก เป็นสินค้าส่งออกไปขายยังต่างประเทศ
3. พาณิชยกรรม ระบบการค้าแบบเสรีไม่เก็บภาษี เงินตรา คือ เงินพดด้วง แบ่งออกเป็น สลึง บาท และตำลึง

ความเจริญทางศิลปวัฒนธรรม
  1. ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา เช่น ประเพณีการบวช ทอดกฐิน การ สร้างวัด เป็นต้น
  2. ศาสนา พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (หีนยาน) ลัทธิลังกาวงศ์ เป็นศาสนาประจำชาติ
  3. ศิลปกรรม ส่วนใหญ่สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนา สถาปัตยกรรมที่ สำคัญ คือ เจดีย์ทรงกลมตามแบบอย่างลังกา เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือดอกบัวตูม
  4. ภาษา และวรรณคดี พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 1826
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
  • ความสัมพันธ์กับล้านนา และอาณาจักรพะเยา เป็นไมตรีกันตลอดมา
  • ความสัมพันธ์กับอาณาจักรมอญ มอญสวามิภักดิ์ต่อสุโขทัย ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช เพราะทรงสนับสนุนมะกะโทราชบุตรเขยเป็นกษัตริย์ 3. ความสัมพันธ์กับอาณาจักรนครศรีธรรมราช สุโขทัยรับเอาพุทธศาสนา นิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ มาจากลังกา โดยผ่านเมืองนครศรีธรรมราช
  • ความสัมพันธ์กับลังกา สุโขทัยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับลังกา ลังกาได้ถวายพระ พุทธสิหิงค์แก่สุโขทัย
  • ความสัมพันธ์กับจีน สุโขทัยทำการค้ากับจีนมาเป็นเวลานาน จีนได้ส่งคณะทูตเข้ามา เจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ซึ่งเป็นประโยชน์กับไทยทั้งการเมือง และการค้า
ความเสื่อมของกรุงสุโขทัย
1. การแย่งชิงราชสมบัติระหว่างเชื้อพระวงศ์ของสุโขทัยทำให้อำนาจการปกครองอ่อนแอ ลง
2. พระมหากษัตริย์ของสุโขทัยสมัยต่อมา ทรงสนพระทัยทางด้านศาสนามากกว่าการ ป้องกันประเทศ
3. อาณาจักรอยุธยา สถาปนาขึ้นทางตอนใต้ มีความเข้มแข็งมากขึ้น จึงผนวกอาณาจักร สุโขทัยเป็นอาณาเขตเดียวกัน

อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา

อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจลงนั้น พระเจ้าอู่ทองผู้นำคนไทยที่อยู่บริเวณตอนล่างของ แม่น้ำเจ้าพระยา พระองค์ไดรวบรวมผู้คนก่อตั้งราชธานีขึ้นที่บริเวณหนองโสน หรือบึงพระราม ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การปกครองในสมัยอยุธยา
ภายหลังจากที่พระเจ้าอู่ทอง (พระรามาธิบดีที่ 1) สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้ว ระหว่างปี พ.ศ. 1983 จนถึง พ.ศ. 2310 เป็นเวลา 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 34 พระองค์ มี 5 ราชวงศ์คือ

1. ราชวงศ์อู่ทอง (พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 1952)
2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1952 ถึง พ.ศ. 2112)
3. ราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 2112 ถึง พ.ศ. 2172)
4. ราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ. 2172 ถึง พ.ศ. 2231)
5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง (พ.ศ. 2231 ถึง พ.ศ. 2310)

รูปแบบการปกครองในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ถึง พระเจ้าสามพระยา
1. การปกครองส่วนกลาง (ภายในราชธานี) เป็นแบบจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา
2. การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ เมืองหน้าด่าน หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช

การปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
1. การปกครองส่วนกลาง แบ่งออกเป็น สมุหกลาโหม และสมุหนายก
2. การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็นหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก เมืองประเทศ ราช

ลักษณะสังคมสมัยอยุธยา
1. พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุดในสังคม ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาด
2. เจ้านาย เป็นชนชั้นสูงถัดจากพระมหากษัตริย์ลงมา
3. ขุนนางหรือข้าราชการ จะมีศักดินาตามตำแหน่ง และความรับผิดชอบของตน ลดหลั่นลงไป
4. ไพร่ คือประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ตามกฎหมายนั้นชายฉกรรจ์ทุกคน ที่อยู่ใน ฐานะไพร่ จะต้องไปขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย
5. พระสงฆ์ มีความสำคัญต่อสังคมมาก พระสงฆ์ยังเป็นตัวกลางเชื่อมโยงชนชั้นปกครอง กับชนชั้นใต้การปกครองให้เข้ากันได้โดยอาศัยวัดเป็นศูนย์กลาง
6. ทาส เป็นบุคคลระดับต่ำในสังคมอยุธยา ไม่มีอิสระตกเป็นสมบัติของนายเงิน

สภาพทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา เศรษฐกิจสมัยอยุธยาขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม คือ การทำนา และพืชผลอื่น ๆ
รายได้ของแผ่นดิน
1. จังกอบ คือ ภาษีผ่านด่านทั้งทางบก และทางน้ำ
2. อากร คือ การเก็บผลประโยชน์จากการประกอบอาชีพของราษฎร
3. ฤชา คือ ค่าธรรมเนียม ซึ่งเรียกเก็บจากราษฎร ที่มาใช้บริการของรัฐ เช่น ค่าธรรมเนียม ในการออกโฉนดตราสาร หรือค่าปรับที่เรียกเก็บจากฝ่ายแพ้คดีความ
4. ส่วย คือ สิ่งของหรือเงินทดแทนแรงงานจากไพร่ที่ไม่ได้มาเข้าเวรรับราชการ
5. การค้ากับต่างประเทศ นอกจากการเก็บภาษีอากรภายในประเทศแล้ว กรมพระคลังยังมี

รายได้จากการเก็บภาษีการค้ากับต่างประเทศอีก ได้แก่
- ภาษีสินค้าขาเข้า
- ภาษีสินค้าขาออก
- กำไรที่ได้จากการผูกขาดสินค้าของกรมพระคลังสินค้า
- การแต่งเรือสำเภาหลวงไปค้าขาย

ศิลปวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา
วัฒนธรรมไทยในสมัยอยุธยา ได้รับอิทธิพลจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ โดยอินเดีย ถ่ายทอด มายังขอม แล้วไทยรับมาอีกต่อหนึ่ง โดยผสมผสานกับวัฒนธรรมเดิมในสมัยสุโขทัย

ศิลปะในสมัยอยุธยา
1. ในระยะแรกอิทธิพลของศิลปะแบบเขมรปรากฏชัดมาก ได้แก่การสร้างพระปรางค์ และ พระพุทธรูปที่เรียกกว่าพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง
2. ศิลปะแบบสุโขทัยได้รับการฟื้นฟูในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ เช่น การสร้างเจดีย์รูป ดอกบัวตูม การสร้างพระพุทธรูปที่เรียกว่าพระพุทธรูปสมัยอยุธยา
3. ศิลปะแบบจีน และแบบตะวันตกได้เผยแพร่เข้ามาในระยะหลัง สำหรับศิลปแบบ ตะวันตกนั้น ปรากฏชัดมาก ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เช่น พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์

ด้านศิลปกรรม
สถาปัตยกรรม
- ศิลปะการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นแบบขอม
- วัสดุที่นำมาใช้คล้ายคลึงกับในสมัยสุโขทัย
- การก่อสร้าง ในระยะเลียนแบบสมัยสุโขทัย แต่ต่อมาได้พัฒนาขึ้น เป็นแบบฉบับ ของสมัยอยุธยาโดยเฉพาะ
- ในระยะที่มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศ ได้เปลี่ยนเป็นการรับเอาศิลปะแบบ ตะวันตกเข้ามาบางอย่าง เช่น การสร้างพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ที่ลพบุรี

จิตรกรรม
- ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
- ภาพเขียนบุคคล ภาพบ้านเรือนตามแบบจีน แต่ดัดแปลงให้เป็นศิลปะแบบไทย

ปฎิมากรรม
- การหล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์
- การสร้างพระพิมพ์

ประณีตศิลป์
- เครื่องจำหลักไม้ ได้แก่ ประตูจำหลัก ธรรมาสน์ ตู้ใส่หนังสือลายรดน้ำ
- เครื่องมุก ได้แก่ บานประตูอุโบสถวัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก
- เครื่องถม ได้แก่ เครื่องถมเมืองนครศรีธรรมราช
- การร้อยกรอง ได้แก่ การร้อยดอกไม้เพื่อประดิษฐ์เป็นรูปต่าง ๆ เช่น รูปสัตว์ รูปโคม เป็นต้น

วรรณคดี
วรรณคดีที่สำคัญ ในระยะแรกมีหลายเรื่อง คือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ ลิลิตยวนพ่าย มหาชาติ คำหลวง ลิลิตพระลอ
  • สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กวีที่สำคัญ คือ พระโหราธิบดี พระศรีมโหสถ ศรีปราชญ์ วรรณคดีที่สำคัญ ได้แก่ จินดามณี สมุทรโฆษคำฉันท์ อนิรุทธ์คำฉันท์ กำสรวลศรีปราชญ์
  • สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กวีที่สำคัญ คือ เจ้าฟ้าธรรมนิเบศรฯ (เจ้าฟ้ากุ้ง) วรรณคดีที่สำคัญได้แก่ นันโทปนันทสูตร คำหลวง พระมาลัยคำหลวง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง กาพย์แห่เรือ ดาหลัง อิเหนา
ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรอยุธยากับต่างประเทศ
  • พม่า : ส่วนใหญ่เป็นการทำสงครามกัน ส่วนมากลักษณะของสงครามคือ พม่าเป็นฝ่ายยก ทัพเข้ามารุกรานไทย และไทยเป็นฝ่ายตั้งรับ
  • ล้านนา : ส่วนใหญ่เป็นการทำสงครามกันโดยไทยต้องการขยายอาณาเขตไทยเคยรวบรวม อาณาจักรล้านนา มาไว้ในอาณาจักรหลายครั้ง แต่ในบางครั้งล้านนาก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า กัมพูชา ส่วนใหญ่เป็นการทำสงครามระหว่างกัน เพราะไทยมีนโยบายครอบครอง
  • กัมพูชา : กัมพูชาพยายามตั้งตัวเป็นอิสระ ไทยจึงต้องยกกองทัพไปปราบปรามอยู่บ่อยครั้ง
  • ลาว : ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาว เป็นไปในลักษณะของ "บ้านพี่เมืองน้อง" จุดมุ่งหมายที่ไทยกับลาวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันคือ เพื่อต่อต้านอำนาจของพม่า
  • ญวน : ไทยกับญวนมักจะมีเรื่องขัดแย้งกัน เพราะต่างมีอำนาจเท่าเทียมกัน และมักจะขยาย อำนาจเข้ามาในดินแดนลาวกับกัมพูชา
  • มลายู : ไทยได้ขยายอำนาจไปยังเมืองมลายู หลังจากได้เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นหัวเมืองมลายู ส่วนที่ตกเป็นเมืองขึ้นของไทย ได้แก่ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู การปกครองหัวเมืองมลายูไทย ให้เจ้านายพื้นเมืองปกครอง ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก
  • โปรตุเกส : โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรก ที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยา และทำ สัญญาการค้าอย่างเป็นทางการ ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ชาวโปรตุเกส เคยอาสาสมัครเข้าช่วยรบในกองทัพไทย ส่วนทางด้านศิลปะวิทยาการต่าง ๆ ไทยยังได้เรียนรู้ศิลปะ และวิทยาการที่ชาวโปรตุเกสนำมาเผยแพร่เช่น การทำปืนไฟ การสร้างป้อมปราการ การฝึกทหารแบบตะวันตก การทำขนมฝรั่ง ฝอยทอง
  • สเปน : ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสเปน เริ่มขึ้นตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระ นเรศวรมหาราช โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่าง กรุงศรีอยุธยา กับฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของสเปน
  • ฮอลันดา : ฮอลันดา ติดต่อกับประเทศทางตะวันออกก็เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าเป็นหลักไทยกับ ฮอลันดามีการทำสัญญาการค้าฉบับแรก ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับฮอลันดาไม่ค่อยราบรื่นนักในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เพราะฮอลันดาพยายามเรียกร้องผลประโยชน์ทางการค้าจากไทยมากเกินไป ความขัดแย้งกับฮอลันดาเป็นเหตุให้ไทยเริ่มผูกมิตรกับฝรั่งเศสแน่นแฟ้นขึ้น เพื่อถ่วงดุลกับฮอลันดา
  • อังกฤษ : อังกฤษเข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เพื่อเปิดสัมพันธ์ด้านการค้า และพยายามเรียกร้องสิทธิพิเศษทางการค้าต่าง ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะถูกฮอลันดา คอยขัดขวางจึงได้ยกเลิกสถานีการค้าในเวลาต่อมา ในสมัยพระนารายณ์มหาราชไทยได้ ทำสงครามกับอังกฤษที่มะริดเพราะอังกฤษเรียกร้องให้ไทยรับผิดชอบเรือสินค้า อังกฤษ ถูกโจรสลัดปล้นแต่ไทยปฏิเสธการรับผิดชอบ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอังกฤษ จึงเสื่อมลง
  • ฝรั่งเศส : ฝรั่งเศส เป็นชาวตะวันตกชาติหลังสุดที่เข้ามาติดต่อกับอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฝรั่งเศสมุ่งเผยแผ่คริสต์ศาสนา และฝ่ายไทยก็หวังให้ฝรั่งเศสเป็นตัวถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดาฝรั่งเศสได้ตั้ง สถานีการค้าในอยุธยา ต่อมาฝรั่งเศสได้เปลี่ยนโยบายเป็นการแสดงหาผลประโยชน์ทางการค้า และการเมืองควบคู่กัน ทำให้เกิดความขัดแย้งจนกลายเป็นการจลาจลระหว่างคนไทยกับกองทหารฝรั่งเศส ต่อมามีการขับไล่กองทหารฝรั่งเศสออกจากเมืองไทยได้สำเร็จ 

สมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

กรุงรัตนโกสินทร์มีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยกษัตริย์มีอำนาจสูงสุดเพียงผู้เดียวในแผ่นดิน แต่พระองค์ก็มิได้ทรงใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรม เพราะทรงไว้ ซึ่งทศพิธราชธรรม ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้เริ่มแนวคิดระบบประชาธิปไตยขึ้นแล้ว คือ พระองค์ไม่ตั้งรัชทายาท แต่ให้ขุนนางข้าราชการเลือกผู้สมควรสืบราชสมบัติกันเอง ในรัชกาลที่ 4 ได้ริเริ่มยอมรับอารยธรรมตะวันตก มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อความอยู่รอดของบ้านเมืองในอนาคต ส

สมัยการปฏิรูปการปกครอง
ในสมัย รัชกาลที่ 5 ได้ปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองหลายด้าน เช่น การให้ความเสมอภาค ด้านการศึกษา การเลิกทาส เลิกระบบไพร่ ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และสภาที่ปรึกษาในพระองค์ ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารบ้านเมืองทั้งส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น

ในสมัย รัชกาลที่ 6 ได้สานต่อพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 5 ในการที่จะให้ ประเทศไทย ได้มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยการจัดตั้ง "ดุสิตธานี" ขึ้น เพื่อทดลองจัดการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

สมัยประชาธิปไตย
ในสมัย รัชกาลที่ 7 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร และความยินยอมพร้อมใจของพระมหากษัตริย์ และได้มีรัฐธรรมนูญฉบับแรก ใช้บังคับ เมื่อ 10 ธันยาคม พ.ศ. 2475

ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ เป็น ประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเข้าใจ ระบอบประชาธิปไตยมากนัก จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทย ให้เป็นไปอย่างเชื่องช้า

สิทธิ และเสรีภาพ สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือประโยชน์อันชอบธรรมของบุคคล ซึ่งกฎหมายรับรอง และ คุ้มครองให้ ผู้ใดจะมาขัดขวางมิได้

เสรีภาพ หมายถึง ความเป็นอิสระที่จะทำอะไรก็ได้ตามสิทธิที่มีอยู่ แต่การกระทำนั้น จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น
สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
  1. เสรีภาพในร่างกาย บุคคลย่อมมีเสรีภาพในร่างกายของเราจะกระทำอย่างไร กับร่างกาย ของเราก็ได้
  2. เสรีภาพในการนับถือศาสนา บุคคลย่อยมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา
  3. เสรีภาพในเคหสถาน บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถานเราสามารถจะทำอะไรก็ได้ตาม ความพอใจของเรา
  4. สิทธิในทรัพย์สิน รัฐธรรมนูญได้กำหนดคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลได้ว่า บุคคลจะมีสิทธิในทรัพย์สินของเขา โดยจะมีกฎหมายกำหนดขอบเขตของสิทธิในทรัพย์สินเอาไว้ตั้งแต่เรื่องการได้มา ซึ่งสิทธิ
  5. เสรีภาพในการศึกษาอบรม คนไทยทุกคนมีเสรีภาพในการที่จะเลือกรับ หรือให้ การศึกษาอบรมได้ตามที่ต้องการ
  6. เสรีภาพในการสื่อสาร พลเมืองไทยมีเสรีภาพที่จะติดต่อสื่อสารถึงกันได้
  7. เสรีภาพในการเดินทาง ทุกคนมีเสรีภาพที่จะเดินทางไปไหนมาไหน เมื่อไรก็ได้
  8. เสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร นอกจากจะมีเสรีภาพในการเดินทางแล้ว พลเมืองไทยยังมีเสรีภาพที่จะเลือก เอาจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านใดเป็นที่อยู่อาศัยก็ได้
  9. สิทธิในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ ส่วนตัวทุกคนจะได้รับการ คุ้มครองโดยกฎหมาย
  10. สิทธิของบุคคลในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพ และการแข่งขัน โดยเสรี อย่างเป็นธรรม
  11. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองในทางอาญา สิทธินี้เป็นสิทธิที่เกี่ยวกับคดีอาญา
  12. เสรีภาพในการพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา การสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
  13. เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ หรือหมู่คณะอื่น
  14. สิทธิเสรีภาพในทางการเมือง มีสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการที่จะมีส่วนร่วมในทาง การเมือง
  15. เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธพลเมืองไทยทุกหมู่เหล่าย่อมมีสิทธิ ที่จะมาร่วมชุมนุมกันโดยสงบ
  16. สิทธิในการร้องทุกข์บุคคลใดก็ตามที่ได้รับความไม่เป็นธรรม
  17. สิทธิฟ้องหน่วยราชการ หมายถึงการฟ้องร้องหน่วยราชการ ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ
การใช้สิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
1. ต้องเคารพต่อกฎหมาย และหลักแห่งความสงบเรียบร้อย
2. ต้องใช้สิทธิในทางที่จะไม่ก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่น
3. ต้องใช้สิทธิโดยสุจริต

หน้าที่ของพลเมืองในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุข
1. หน้าที่รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
2. หน้าที่จะใช้สิทธิในการเลือกตั้งโดยสุจริต
3. หน้าที่ในการป้องกันประเทศ
4. หน้าที่ในการรับราชการทหาร
5. หน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
6. หน้าที่เสียภาษีอากร
7. หน้าที่ช่วยเหลือราชการ
8. หน้าที่ในการรับการศึกษาอบรม
9. หน้าที่รักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

สังคมประชาธิปไตย
ความเป็นมาของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ในการปกครองประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ทรงใช้พระราชอำนาจตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

หลักสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
1. อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
2. ยึดหลักเสรีภาพ
3. ยึดความเสมอภาค
4. ยึดหลักกฎหมาย
5. ผู้ปกครองประเทศหรือรัฐบาลต้องมาจากการเลือกตั้ง

ลักษณะของสังคมประชาธิปไตย
1. เคารพในสิทธิเสรีภาพ
2. เคารพในศักดิ์ศรี และความเท่าเทียมกันของมนุษย์
3. รักความยุติธรรมในสังคม
4. การใช้หลักเหตุผลตัดสินปัญหาข้อขัดแย้ง
5. การยึดมั่นในหลักการมากกว่าตัวบุคคล

คุณสมบัติที่สำคัญของสมาชิกในสังคมประชาธิปไตย
1. การยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตย
2. การรู้จักใช้เหตุผล และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3. การกล้าแสดงความคิดเห็น
4. การเคารพในสิทธิของผู้อื่น
5. การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม 

การปกครองในสมัยปัจจุบัน (รัตนโกสินทร์ตอนปลาย-ปัจจุบัน)

การเมืองการปกครองของไทยระหว่าง พ.ศ. 2475 ถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 พระยา มโนปกรณ์นิติธาดานายกรัฐมนตรี บริหารประเทศตามรัฐธรรมนูญฉบับถาวร พ.ศ. 2475 ไปได้เพียง 2-3 เดือน ก็ได้เกิดความขัดแย้ง ในหมู่คณะรัฐมนตรี และคณะราษฎรด้วยเรื่องการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีความคิดเห็นแตกต่างกัน ความขัดแย้งถึงขั้นรุนแรงจะนำไปสู่การประกาศพระพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทน ราษฎร

การปลุกความคิดชาตินิยม พันเอกหลวงพิบูลสงคราม ซึ่งเป็นผู้ที่มีความคิดชาตินิยมอยู่แล้ว จึงดำเนินนโยบายสร้างชาติไทยให้เข้มแข็งก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลของพันเอกหลวงพิบูลสงคราม ได้ประกาศนโยบายดังนี้ คือ

- ส่งเสริมการทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ผลิตเครื่องใช้ด้วยตนเอง
- ชักจูงโฆษณาให้คนไทย ใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ รัฐบาลประกาศคำขวัญว่า ไทยทำ ไทย ใช้ ไทยเจริญ
- ส่งเสริมให้คนไทยประกอบอาชีพค้าขาย และสงวนอาชีพบางอย่างห้ามคนต่างด้าวทำ
- ตั้งกรมโฆษณาการ เพื่อทำหน้าที่ปลุกใจประชาชน โฆษณาถึงความรักชาติ ให้เชื่อฟังผู้นำ โดยใช้คำขวัญ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย"

การเมืองการปกครองของไทยช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
  1. การประกาศสถานการณ์ความเป็นกลางของไทยในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไทยประกาศยืนยันนโยบายเป็นกลางอย่างเคร่งครัด
     
  2. การประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตร นายปรีดี พนมยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ไม่เห็นด้วยกับการประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตร จึงมิได้ลงนามในคำประกาศสงคราม
     
  3. บทบาทของขบวนการเสรีไทย นายปรีดี พนมยงค์ จัตั้งขบวนการเสรีไทย ใช้รหัสย่อว่า x.o Group รวบรวมคนไทย ซึ่งมีอุดมการณ์ตรงกันคือ ความมุ่งหมายในการขับไล่ญี่ปุ่นให้ออกไปจากผืนแผ่นดินไทย
การเมืองการปกครองของไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 – พ.ศ. 2500
  1. การแก้ปัญหาเนื่องจากไทยอยู่ในฐานะผู้แพ้สงคราม ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของไทย ประกาศสันติภาพ โดยถือว่าการประกาศสงครามของไทยต่อพันธมิตร ในระหว่างสงครามนั้นเป็นโมฆะ ม.ร.ว. เสนีย์ปราโมช เจรจากับสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ เพื่อความเป็นเอกราชของชาติโชคดีที่สหรัฐอเมริกา และอังกฤษไม่ติดใจไทย รัฐบาลไทยก็ได้ประกาศคืนดินแดนให้แก่อังกฤษ และฝรั่งเศส
     
  2. การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 รัฐบาลไม่สามารถ อธิบายสาเหตุที่แท้จริงได้ นายปรีดี พนมยงค์ จึงแสดงความรับผิดชอบโดยการกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
     
  3. การแย่งชิงอำนาจระหว่างนักการเมือง และระหว่างทหารบกกับทหารเรือ ความขัดแย้ง ทางการเมือง มีการแย่งชิงอำนาจระหว่างฝ่ายจอมพลแปลกพิบูลสงคราม กับฝ่ายของ นายปรีดี พนมยงค์ เกิดกบฏขึ้นหลายครั้งเพื่อต่อต้านรัฐบาลจอมพลแปลก
     
  4. การก้าวขึ้นสู่อำนาจของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ การรับประหารจอมพลสฤษดิ์ ก็ได้ยื่นคำขาดต่อ จอมพลแปลกนายกรัฐมนตรี ให้แก้ไขสถานการณ์ทางการเมืองโดยด่วน เมื่อไม่ได้ผลฝ่ายทหารจึงถอนตัวออกจากการสนับสนุนรัฐบาล ในไม่ช้า จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ได้เป็นผู้ทำการรัฐประหาร
การเมืองการปกครองของไทยช่วง พ.ศ. 2501 ถึงปัจจุบัน
1. การปกครองแบบเผด็จการ แต่มุ่งพัฒนาประเทศของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
2. การตื่นตัวในระบอบประชาธิปไตย และบทบาทของขบวนประชาธิปไตย
3. ความขัดแย้งระหว่างขบวนการเผด็จการ และขบวนการประชาธิปไตย
4. การฟื้นฟูประชาธิปไตย และการแก้ไขปัญหาคอมมิวนิสต์
5. การรัฐประหารของสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)

การพัฒนาเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน

เศรษฐกิจไทยในช่วงระยะ พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2484 ภายหลังจากการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 การเมืองการปกครองของไทยได้เปลี่ยนแปลงมาสู่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ผู้นำรุ่นใหม่ทั้งฝ่ายทหาร และพลเรือน ส่วนใหญ่มาจากชนชั้นกลาง และได้รับการศึกษาแบบตะวันตก มีความคิดว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนั้นตกอยู่ในกำมือของต่างชาติ ซึ่งเป็นทั้งชาวจีน และชาวตะวันตก

ทางด้านอุตสาหกรรม รัฐบาลส่งเสริมใช้ชาวไทยรู้จักทำอุตสาหกรรม ประกาศคำขวัญว่า "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ" รัฐบาลเริ่มดำเนินนโยบายลงทุนด้านอุตสหากรรม และธุรกิจทางด้านการบริหาร ซึ่งเราเรียกว่า "รัฐวิสาหกิจ"

เศรษฐกิจไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เศรษฐกิจของไทย การค้าขายกับต่างประเทศ เริ่มประสบความยากลำบาก สินค้าออกของไทยเริ่มลดลง สินค้าจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้น ในปี พ.ศ. 2483 รัฐบาลไทยเริ่มทำสงครามกับฝรั่งเศลด้วยเรื่องปัญหาอินโดจีน

เศรษฐกิจไทยภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึง พ.ศ. 2502 รัฐบาลไทยยังใช้นโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจแบบเดิม คือ ส่งเสริมให้ชาวไร่ชาวนาไทยผลิตสินค้าเกษตรเพื่อนำส่งไปขายต่างประเทศ สินค้าหลักของไทยที่ส่งไปขายนำรายได้เข้าประเทศมาก

เศรษฐกิจไทยภายใต้ระบบการลงทุนแบบเสรี (ในช่วง พ.ศ. 2501 ถึงปัจจุบัน) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศนโยบายส่งเสริมการลงทุนของเอกชน มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจมีการวางแผนพัฒนาประเทศ ในระยะยาวการใช้งบประมาณอยู่ในช่วงระยะเวลา 5 ปี เรียกว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติในปี พ.ศ. 2504 เป็นแผนแรก จากนั้นรัฐบาลต่อ ๆ มาก็ได้ประกาศแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คือ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2545

หลังจากไทยประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติแล้วสภาวะทางเศรษฐกิจได้ เปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้
- มูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้น 15 เท่าตัว
- สิ่งทด เป็นสินค้าใหม่ทำรายได้สูงเป็นอันดับ 2 รองจากข้าว และมันสำปะหลัง นอกจากนั้น ได้แก่ อัญมณี แผงวงจรไฟฟ้า
- ธุรกิจการทองเที่ยว เจริญรุดหน้าจนมีรายได้สูงเป็นอันดับ 1 ในปีพ.ศ. 2532

โครงการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยในช่วงที่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติที่สำคัญ ได้แก่
  • โครงการพัฒนาชายฝั่งตะวันออก (Eastern Seaboard) กำหนดขอบเขตมาบตาพุด จังหวัดระยอง เป็นเมืองอุตสาหกรรมทันสมัย และเขตแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เป็นที่ตั้งท่าเรือพาณิชย์ และอุตสาหกรรมขนาดกลางขนาดย่อม เพื่อส่งออก
  • โครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard) กำหนดให้เป็นแหล่ง อุตสาหกรรมประเภทซ่อมเรือ ต่อเรือ อุตสาหกรรม ประมง พาณิชย์นาวี
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
  • ชนชั้นในสังคมแบ่งได้เป็น 3 ชนชั้น คือ ข้าราชการ ปัญญาชน และกรรมกร
  • การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ที่ผู้คนมีการแข่งขันกันมากขึ้นต้องปรับตัวมากขึ้น ซึ่งให้ คุณธรรมที่ดีในสังคมไทยแต่เดิมมาลดลง
  • ค่านิยมในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ผู้หญิงก็ต้องออกทำงานนอกบ้านมากขึ้น เพื่อให้มี รายได้เพียงพอเลี้ยงดูครองครัว สถานภาพของผู้หญิงในปัจจุบันจึงเท่าเทียมกับผู้ชายทั้งสิทธิ และโอกาสในการทำงาน
การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การศึกษาของไทยมีความก้าวหน้ามากขึ้น ในปัจจุบันเรามีการศึกษาภาคบังคับ 6 ปี และปัจจุบันขยายโอกาสทางการศึกษาเป็น 9 ปี ซึ่งทำให้เยาวชนได้มีโอกาสหาความรู้ใส่ตัวมากขึ้น ก่อนจะออกไปทำงานเลี้ยงชีพสำหรับผู้ไม่เรียนต่อ

การเปลี่ยนแปลงทางศิลปวัฒนธรรม
  • การเปลี่ยนชื่อประเทศสยาม เป็นประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2482
  • การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นวันที่ 1 มกราคม ตามสากลนิยม แทนวันที่ 1 เมษายน เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2484
  • มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2483 ให้คนไทยแต่งกายให้เหมาะสม คือ นุ่งกางเกงแทนผ้าม่วงหรือโจงกระเบน สำหรับชาย ส่วนสตรีให้สวมกระโปรง และยังต้องสวมเสื้อ รองเท้าหมวก
ด้านศิลปกรรม

1. สถาปัตยกรรม รับอิทธิพลของชาติตะวันตก เช่น การสร้างอนุสาวรีย์ อาคารต่าง ๆ
2. วรรณกรรมตะวันตกที่เคยมีการแปล ก็ถูกดัดแปลงหรือแต่งขึ้นมาโดยคนไทยมากขึ้น
3. นาฏกรรม เช่น โขน ละคร เสื่อมความนิยมลง เนื่องจากมีความบันเทิงหลายหลากมากขึ้นทั้งภาพยนตร์ โทรทัศน์

โครงสร้างทางการปกครอง และกระบวนการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ประชาธิปไตย(democracy) หมายถึง ระบอบการเมือง ซึ่งประชาชนมีอำนาจสูงสุด หรือการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน

โครงสร้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย

ในการจัดการปกครองของไทยได้ยึดหลักการของสากล ซึ่งเป็นยอมรับกันทั่วไป 3 ประการคือ การรวมอำนาจ การกระจายอำนาจ และการแบ่งอำนาจ สรุปได้ดังนี้

หลักการปกครองแบบรวมอำนาจ การปกครองแบบนี้มีหลักการที่สำคัญ คือ
  • อำนาจทั้งหมดอยู่ที่ส่วนกลางหรือรัฐบาลกลาง
  • ส่วนกลางมีอำนาจสูงสุดในการบังคับบัญชา
  • ส่วนกลางเป็นผู้ออกคำสั่งในการเปลี่ยนแปลงตัวข้าราชการ
     
หลักการปกครองแบบแบ่งอำนาจ
ลักษณะการปกครองแบบนี้อันที่จริง แล้วนับเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองแบบรวมอำนาจ แต่มีเหตุจำเป็นที่ส่วนกลางต้องมีสถานที่ทำการอยู่ที่ส่วนต่างๆ ของประเทศได้แก่ จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
หลักการปกครองแบบกระจายอำนาจ การปกครองแบบนี้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ
  1. ส่วนกลางไม่มีอำนาจเด็ดขาดเพียงส่วนเดียว ต้องยอมให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการปกครองด้วย
  2. คณะบุคคลผู้ใช้อำนาจในการปกครองแบบกระจายอำนาจจะต้องมาจากการ เลือกตั้งโดยประชาชนในเขตการปกครองนั้น
  3. หน่วยงานปกครองท้องถิ่นต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล
สถาบันพระมหากษัตริย์ : บทบาทที่สำคัญของพระมหากษัตริย์ปัจจุบัน
บทบาทที่เกี่ยวกับประเทศชาติ
- ทรงเป็นประมุขของชาติ เป็นที่เคารพสักการะสูงสุด และเป็นมิ่งขวัญของชาติ
- ทรงเป็นศูนย์รวมน้ำใจของประชาชน
- ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก และทรงเป็นพุทธมามกะ
- ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีของคนในชาติ
- ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย
- ทรงใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน ผ่านทางสถาบันบริหารนิติบัญญัติ และตุลาการ

บทบาทหน้าที่เกี่ยวกับประชาธิปไตย
- ทรงยอมรับ และอุ้มชูระบอบประชาธิปไตยให้ดำรงอยู่ได้
- ทรงทำให้ระบอบประชาธิปไตยมีความต่อเนื่อง
- ทรงช่วยแนะนำรัฐบาลด้านการปกครองยามจำเป็น
- ทรงช่วยยับยั้งเหตุการณ์รุนแรงให้ผ่อนคลาย
- ทรงใช้อำนาจอธิปไตยในนามของประชาชนชาวไทย
- ทรงเป็นกลางทางการเมือง

บทบาทด้านวิทยาการของชาติ
- ทรงสนับสนนุด้านการศึกษาและศิลปวัฒนธรรมของชาติ
- ทรงสนพระทัยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์แก้ปัญหาให้ราษฎร
- พระราชทานทุนเล่าเรียนหลวง
- ทรงส่งเสริมการจัดประชุมทางวิชาการสาขาต่าง ๆ

บทบาทที่เกี่ยวกับประชาชน
- ทรงช่วยเหลือ และห่วงใยในความเป็นอยู่ของราษฎรอย่างแท้จริง
- ทรงออกเยี่ยมเยียนราษฎรทั่วประเทศ
- ทรงช่วยกระตุ้นให้คนไทยอื่น ๆ ตระหนักในความเดือดร้อนของเพื่อรวมชาติ และหาทาง ช่วยเหลือ
- ทรงสร้างความเป็นปึกแผ่นของคนภายในชาติ ไม่ให้เชื้อชาติศาสนา และเผ่าพันธุ์ เป็น เครื่องทำลายความแตกแยก
- ทรงแสดงบทบาทในการช่วยพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทำให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ดีขึ้น
- ทรงช่วยแก้ไขวิกฤตการณ์สำคัญของชาติ เช่น ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาการจราจรใน กรุงเทพมหานคร เป็นต้น 

ที่มา:http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/the_founder_of_thailand/index.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น