จำนวนผู้เข้ามาเยี่ยมชม

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์

ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

การสร้างและพัฒนาชาติด้านเศรษฐกิจ



ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 คณะราษฎรได้กำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจปรากฏในหลัก 6 ประการ โดยขั้นแรกรัฐมอบหมายให้ หลวงประดิษฐ์ มนูธรรม(นายปรีดี พนมยงค์) เป็นผู้ร่าง เค้าโครงเศรษฐกิจ (สมุดปกเหลือง) ซึ่งมีใจความสำคัญว่า
1.รัฐบาลจะบังคับซื้อที่ดินทางกสิกรรมของราษฎรทั้งหมดโดยจ่ายเงินเป็นพันธบัตรรัฐบาล
2.รัฐจะจัดการเศรษฐกิจทั้งหมดในรูปของระบบสหกรณ์
3.บุคคลที่มีอายุระหว่าง 18-55 ปีจะเป็นข้าราชการทำงานให้รัฐตามความสามารถและ
คุณวุฒิของตน โดยได้รับเงินเดือนจากรัฐบาลหรือสหกรณ์ตามที่กำหนดซึ่ง
เค้าโครงเศรษฐกิจดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปรวมทั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว เพราะเป็นนโยบายของระบอบคอมมิวนิสต์จึงล้มเลิกไปในที่สุด

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

1.ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเริ่มก่อตัวช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 6 เพราะใช้เงินในการปรับปรุง
หน่วยราชการและบำรุงศิลปวัฒนธรรมจำนวนมาก และมีรายรับลดลงเพราะเกิดปัญหาขัดแย้งในยุโรปจนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1
2.สมัยรัชกาลที่ 7 เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเพราะสินค้าไทยขายไม่ได้ เพราะต่างชาติไม่มี
การสั่งซื้อ
3.สมัยรัชกาลที่ 7 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก ซึ่งกระทบถึง
ประเทศไทยด้วย

การแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของรัชกาลที่ 7

1.ยุบเลิกหน่วยราชการ
2.ปลดข้าราชการออกบางส่วน
3.ยอมลดรายจ่ายประจำปีของพระองค์ จาก 9 ล้าน เหลือ 6 ล้าน และ 3 ล้านบาทในที่สุดแต่
ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพราะประเทศไทยขาดแคลนผู้ชำนาญการทางเศรษฐกิจและไม่มี
แผนพัฒนาเศรษฐกิจ


“ความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของรัชกาลที่ 7 เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่คณะราษฎรอ้างเป็นสาเหตุในการปฏิวัติเมื่อปีพ.ศ.2475”

เศรษฐกิจไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

หลังการเปลี่ยนแปลงปกครอง พ.ศ.2475 เศรษฐกิจไทยเริ่มกระเตื้องขึ้น
สมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ( ป. พิบูลสงคราม) เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบาย สร้างชาติทางเศรษฐกิจ โดย
1.กระตุ้นให้ประชาชนช่วยตัวเองในทางเศรษฐกิจ เช่น ทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน
2.โฆษณาคำขวัญ “ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ” เพื่อกระตุ้นให้คนไทยใช้สินค้าไทยและตื่นตัวในเรื่องชาตินิยม 3.เริ่มใช้นโยบาย รัฐวิสาหกิจ ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม จำนวนมากมาย
4.สงวนอาชีพบางอย่างให้คนไทย เช่น ตัดผม
5.ตั้งกระทรวงอุตสาหกรรม และตั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ

เศรษฐกิจไทยระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยประสบความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจอย่างหนักเพราะ
1.การขนส่งหยุดชะงัก ทำให้ขาดแคลนสินค้า ยารักษาโรค น้ำมัน และสินค้า
ไทยขายไม่ได้
2.ญี่ปุ่นบังคับให้ไทยขายสินค้าให้ในราคาถูก ลดค่าเงินบาท 1 บาทเท่ากับ 1 เยน
ญี่ปุ่นพิมพ์ธนบัตรไทยเอง นำมาใช้ในประเทศไทย ทำให้ไทยเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง 3.ไทยเกิดน้ำท่วมอย่างหนัก ในเขตที่ราบภาคกลางทั้งหมด

เศรษฐกิจไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

-ไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหลายอย่าง
-รัฐบาลแก้ปัญหาโดยจัดทำโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ (วางแผนไว้ในสมัยรัชกาลที่ 5) โดยกู้เงินจากธนาคารโลกในปี พ.ศ.2493 นำมาสร้างเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2500 สามารถส่งน้ำช่วยเหลือการเกษตรในพื้นที่ภาคกลาง
-ในปีพ.ศ.2504 กู้เงินจากธนาคารโลก เพื่อนำมาสร้างเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก สร้างเสร็จในปีพ.ศ.2507 สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในภาคกลางและภาคเหนือรวม 36 จังหวัดและส่งน้ำไปใช้ในการเกษตร


เศรษฐกิจไทยภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

-ประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้งแรกในปีพ.ศ.2504 เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นระบบ
-แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ช่วงแรก มุ่งเน้นสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค
ได้แก่ ทางหลวง ไฟฟ้า การชลประทาน การสื่อสาร โทรคมนาคม
-ส่งเสริมการผลิตพืชไร่ ที่สำคัญได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปอ อ้อย ฯลฯ
-เกษตรกรเริ่มหันมาใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถแทรกเตอร์ รถไถเดินตาม เครื่องสูบน้ำ
ปุ๋ยเคมี เมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ
-มีอุตสาหกรรมเกิดใหม่หลายอย่าง เช่น สิ่งทอ ผลไม้กระป๋อง เครื่องใช้ไฟฟ้า
การท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์ห้องเย็น
-มีนโยบายลดการลงทุนด้านรัฐวิสาหกิจ โดยขายให้เอกชนดำเนินการเพราะรัฐทำแล้ว
ขาดทุนเนื่องมาจากการฉ้อราษฎรบังหลวง ปัจจุบันเหลือเพียง 1.ไฟฟ้า 2.ประปา 3.โทรศัพท์ 4.รถเมล์(ในกรุงเทพฯ) 5.รถไฟ 6.การบิน 7.ยาสูบ 8.สลากกินแบ่ง -ส่งเสริมให้เอกชนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนทุกอย่าง ซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดี มีต่างประเทศมาลงทุนในไทยมากมาย เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน ยุโรป อเมริกา

เศรษฐกิจไทยภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

-หลังจากใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ มาได้ 15 ปี (ฉบับที่ 1-3) ความเจริญกระจุกอยู่ที่
ส่วนกลาง ทำให้ชาวชนบทอพยพเข้าสู่เมือง ทำให้เกิดปัญหาประชากรหนาแน่น แหล่ง เสื่อมโทรม ในกรุงเทพ ทำให้เกิดปัญหามากมาย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4-5 จึงเน้นการกระจายรายได้ออกสู่ชนบท โดยขยาย อุตสาหกรรมและโครงการใหญ่ๆ สู่ภูมิภาค
-หลังจากประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ มาได้ประมาณ 20 ปี มูลค่าส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นถึง 15 เท่าตัว สินค้าใหม่ๆ ที่ทำรายได้สูง ได้แก่ สิ่งทอ อัญมณี แผงวงจรไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ประมงแช่แข็ง ไก่แช่แข็ง และรายได้จากการท่องเที่ยวซึ่งได้รับความนิยมสูงมาก ทำรายได้สูง-
-ในปี พ.ศ.2524 ไทยมีการขุดพบหลุมก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย
ในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้มีการเร่งรัดพัฒนาประเทศเพื่อเข้าสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (นิกส์) โดยส่งเสริม
-โครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard) สมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มุ่งเน้นให้เป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก กำหนดให้ เขตมาบตาพุด จังหวัดระยอง เป็นแหล่งอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น โรงงานแยกก๊าซ ปิโตรเคมี ปุ๋ยเคมี กำหนดให้แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เป็นที่ตั้งท่าเรือพาณิชย์และอุตสาหกรรม ขนาดกลางและย่อม เพื่อการส่งออก และมีหลายโครงการดำเนินเสร็จแล้วและมี โรงงาน อุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมาย
-หลังจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งร้ายแรง ปีพ.ศ.2531 (ไต้ฝุ่นเกย์) พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ให้ความเห็นชอบให้มีโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard) เพื่อพัฒนาทรัพยากร เช่น ยางพารา กาแฟ มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ดีบุก ก๊าซธรรมชาติและอุตสาหกรรมประเภทซ่อมเรือ ต่อเรือ ประมง การขนส่งเชื่อม ฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย การบริหารประเทศในยุคต่อๆมาจนถึงปัจจุบันต่างก็ยึดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหลัก จนถึงปัจจุบัน มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549)
-เศรษฐกิจแบบฟองสบู่ เกิดขึ้นสมัย พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นลักษณะที่ดูเหมือนเศรษฐกิจในประเทศขยายตัว แต่ไทยก็เป็นหนี้ต่างประเทศจำนวนมาก ประชาชนใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย

ผลเสียหายร้ายแรงของเศรษฐกิจแบบฟองสบู่

1.ค่าของเงินบาทเริ่มตกต่ำ แต่รัฐก็พยายามรักษาค่าเงินบาทสูงกว่าความเป็นจริง
2.สมัยพลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ เงินคงคลังที่เคยมีสูงถึง 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐร่อยหรอลงเพราะรัฐบาลนำไปพยุงค่าของเงินบาท จนเหลือเพียง 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนทำให้ต่างประเทศไม่มั่นใจเศรษฐกิจไทย มีการถอนการลงทุน ธุรกิจต่างๆ หยุดชะงัก โรงงานอุตสาหกรรมปิดกิจการหลายแห่ง ประชาชนตกงาน เกิดภาวะ เงินเฟ้อสูงขึ้นเรื่อยๆจนรัฐบาลต้องปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวและขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) โดยขอกู้เงินมาช่วยพยุงภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ เรียกว่า “เศรษฐกิจยุค IMF” ประชาชนเรียกร้องให้
พลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ ลาออก
3.หลังจากพลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ ลาออก นายชวน หลีกภัย เข้ามารับหน้าที่แทน
สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง แต่ไทยก็ยังเป็นหนี้ IMF และใช้หนี้
ต่อไปในปีพ.ศ.2542 เศรษฐกิจไทยเริ่มกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย
4.ยุคของรัฐบาลที่นำโดย พรรคไทยรักไทย มีนายกรัฐมนตรี คือ ดร.ทักษิณ ชินวัตร สามารถแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ ในหลายด้าน จนภาวะเศรษฐกิจไทยดีขึ้น มีการลงทุนจากต่างประเทศจำนวนมาก และที่สำคัญชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรดีขึ้น เพราะรัฐบาลนี้เห็นความสำคัญของคนจน และสามารถใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้สำเร็จในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2546 ซึ่งถือเป็นผลงานสำคัญของรัฐบาลชุดนี้

5.ปัจจุบันเป็นยุคของรัฐบาลที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ มีนายกรัฐมนตรี คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นยุคที่ค่าเงินบาทแข็งค่า ปัจจุบันเกิดปัญหาราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ขึ้นราคา ทำให้เกิดผลกระทบกับการดำรงชีวิตของประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันปาล์ม



ที่มา : ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐและคณะ,หนังสือเรียน ส306 ประเทศของเรา 4 สมบูรณ์แบบ,
(กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช,2542)

คณะทำงานเฉพาะกิจการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,
ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ , (กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์,2525)

สุคน สินธพานนท์ และพรรษมน กิตติสารศักดิ์. สังคมศึกษา ส306. 2542. หน้า 72

http://4.bp.blogspot.com/_sQrXJzxTtT0/

http://www.weddinginlove.com/articles/

การปกครองและสังคมสมัยอยุธยา

เมื่อทำพิธีราชาภิเษกแล้ว สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ได้ทรงตั้งพระราเมศวร ราชโอรสขึ้นไปครองเมืองลพบุรี    ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านต่อแดนสุโขทัยทางเหนือ และต่อแดนเขมรทางด้านตะวันออก ทรงตั้งพระเชษฐาพระมเหสีทรงพระนามว่า “พงั่ว” เป็นพระบรมราชาไปครองเมืองสุพรรณบุรี

การปกครองอาณาเขตเมื่อชั้นแรกก็ทรงวางแผนทำนองเดียวกันกับครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี คือ เอาพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานีอยู่กลางมี
เมืองหน้าด่าน (ลูกหลวง) ทั้ง ๔ ทิศ เมืองลพบุรีอยู่ด้านเหนือ เมืองนครนายกอยู่ด้านตะวันออก เมืองพระประแดงอยู่ด้านใต้   เมืองสุพรรณบุรีอยู่ด้านตะวันตก ระยะทางไปมาถึงราชธานีได้ภายใน ๒ วัน

ภาพจำลองพระที่นั่งต่างๆ ในพระราชวังหลวงพระนครศรีอยุธยา
ซึ่งจัดแสดงในศูนย์ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

หัวเมืองชั้นใน คือ เมืองปราจีนบุรี  เมืองฉะเชิงเทรา เมืองชลบุรี  ทางด้านตะวันออก เมืองเพชรบุรี ทางด้านใต้ เมืองราชบุรี ทางด้านตะวันตก เมืองพรหมบุรี  เมืองอินทรบุรี  เมืองสิงห์ เมืองสรรค์ ทางด้านเหนือ เ มืองใดสำคัญก็แต่งตั้งเจ้านายในราชวงศ์ไปปกครองเวลามีศึกสงคราม หัว เมืองชั้นในเหล่านี้ก็รวมกำลังทหารมาสมทบกองทัพทหารหลวง

เมืองพระยามหานคร คือ   เมืองใหญ่ห่างราชธานีออกไป ทางตะวันออก ได้แก่  เมืองนครราชสีมา เมืองจันทบุรี ทางทิศใต้  ได้แก่ เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง  เมืองสงขลา  เมืองถลาง ส่วนทางทิศตะวันตก ได้แก่ เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย เมืองเชียงกราน เมืองเหล่านี้ ต่างก็มีเมืองขึ้นอยู่ในอาณาเขต พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเจ้านายในราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นสูงไปปกครอง

ส่วนเมืองประเทศราช ที่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ได้แก่ มะละกา ยะโฮร์ และ เขมร เมืองเหล่านี้โปรดให้เจ้าเมืองปก ครองกันเอง แต่ต้องส่งบรรณาการมาให้กรุงศรีอยุธยาตามกำหนด และจัดทัพมาสมทบเพื่อการสงครามเมื่อได้รับคำสั่งจากกรุงศรีอยุธยา

การปกครองในราชธานี แบ่งส่วนบริหารราชการออกเป็น ๔ แผนก มีเสนาบดีเป็นผู้ควบคุมดูแล เรียกว่า
 “จตุสดมภ์” ได้แก่
ขุนเมือง เป็นพนักงานปกครองท้องที่ รักษาความสงบสุขของราษฎรในเขตราชธานี มีหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้าย และลงโทษผู้กระทำผิด
ขุนวัง เป็นหัวหน้าฝ่ายราชสำนัก เป็นเจ้าพนักงานพิจารณาพิพากษาถ้อยความของราษฎร  เป็นการแบ่งเบาพระราชภาระของพระมหากษัตริย์ในหน้าที่ตุลาการ
ขุนคลัง เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน รับจ่ายและเก็บรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้มาจากส่วยสาอากร
ขุนนา เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลการไร่นา รักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร

การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็น
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถือว่า พระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ มีฐานะเทียบเท่าพระศิวะหรือพระวิษณุ อำนาจการปกครองขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว ทรงเป็นทั้งเจ้าชีวิตของประชาชนและเจ้าแผ่นดินด้วย ในกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็ จซึ่งประกาศใช้ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๓ กล่าวว่า

“ที่ในแว่นแคว้นกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมยเป็นที่แห่งพระเจ้าอยู่หัวหากให้ราษฎรทั้งหลายผู้เป็นข้าแผ่น ดินอยู่ จะได้เป็นที่ราษฎรหามิได้”
สนามหน้าจักรวรรดิ สนามหลวงของกรุงศรีอยุธยา
ที่รัชกาลที่ ๑ ถ่ายแบบมาสร้างกรุงรัตนโกสินทร์

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ได้ทรงวางรากฐานการปกครองราชอาณาจักรอยุธยาไว้เป็นปึกแผ่นมั่นคง     มีการตรากฎหมายไทยเป็นลายลักษณ์ อักษรขึ้นเป็นครั้งแรก  และทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเป็นประโยชน์ต่อชาติไทยเป็นอเนกประการ  ได้เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๑๙๑๒ เมื่อพระชนมายุ ๕๕ พรรษา ในกรุงศรีอยุธยาจึงได้มีการสร้างพระบรมรูปของพระองค์ขึ้น ขนานนามว่า  
พระเชษฐบิดรเป็นที่เคารพสักการะของปวงชน ในฐานะเทพารักษ์ประจำพระนครเมื่อถึงเวลาถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาประจำปี ข้าราชการจะเข้าไปสักการพระบรมรูปพระเชษฐบิดรก่อนไปกราบ พระรัตนตรัย แล้วจึงเข้าไปรับน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นประเพณีปฏิบัติกันเช่นนี้ตลอดมาจนเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๒๘ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้อัญเชิญพระบรมรูปพระเชษฐบิดรมาไว้ ณ กรุงเทพมหานคร  และโปรดให้ แปลงเป็นพระพุทธรูปหุ้มเงิน

เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สวรรคตแล้ว 
พระราเมศวรซึ่งครองเมืองลพบุรีได้รับราชสมบัติ ทรงปกครองกรุงศรีอยุธยาได้ ๑ ปี สมเด็จพระบรม ราชาธิราช (พงั่ว) เสด็จเข้ามาจากเมืองสุพรรณบุรี สมเด็จพระราเมศวรก็ถวายราชสมบัติแล้วกลับคืนไปครองเมืองลพบุรีอย่างเดิม

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (พ.ศ.๑๙๑๓-๑๙๓๑)  ทรงยกทัพไปตีได้อาณาจักรสุโขทัยใน   พ.ศ ๑๙๒๑ ได้ทรงจัดการปกครองหัวเมือง เหนือในฐานะเป็นเมืองประเทศราช โดยทรงแบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็น ๒ ภาค เพื่อความสะดวกในการปกครอง และตัดทอนกำลังอาณาจักร สุโขทัยมิให้กลับมีอำนาจได้อีก ภาคหนึ่ง คือ พื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำ ปิง มีเมืองตาก เมืองกำแพงเพชร เมืองนครสวรรค์ เป็นต้น    สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ โปรดให้พระยาญาณดิศ โอรสบุญธรรมไปปกครอง มี
เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองเอก ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาโดยตรง อีกภาคหนึ่งคือ บริเวณลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน มีเมืองพิษณุโลก  มืองสุโขทัย  เมืองสวรรคโลก และเมืองพิจิตร  ทรงมอบคืนให้พระมหาธรรมราชาที่ ๒ ปก ครองมีเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองสำคัญ ในฐานะเมืองประเทศราชขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา แล้วทรงกวาดต้อนไพร่บ้านเมืองพลลงมากรุงศรีอยุธยา

ต่อมาในรัชกาล
สมเด็จพระอินทราธิราช พระยาบาลเมือง (บรมปาล) กับพระยารามชิงราชสมบัติกันที่เมืองพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. ๑๙๖๒ สมเด็จพระอินทราธิราชต้องเสด็จขึ้นไปไกล่เกลี่ย และทรงตั้งพระยาบาลเมืองเป็นพระมหาธรรมราชาที่ ๔ ครองเมืองพิษณุโลก ให้พระยารามครองเมืองก ำแพงเพชร มีฐานะเป็นประเทศราชขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ทรงใช้วิธีสัมพันธ์ฉันเครือญาติกับกรุงสุโขทัย โดยโปรดให้เจ้าสามพระยา ราชโอรสอภิเ ษกกับพระราชธิดาพญาไสยลือไท ครั้นถึง พ.ศ. ๑๙๘๑ พระมหาธรรมราชาที่ ๔ ซึ่งครองพิษณุโลกสิ้นพระชนม์ลง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ทรงมีพระราโชบายที่จะรวมหัวเมืองเหนือ ซึ่งแยกเป็นสองภาคมาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ให้กลับคืนเป็นอา ณาเขตเดียวกัน จึงทรงตั้ง สมเด็จพระราเมศวร บรมไตรโลกนาถบพิตร พระราชโอรส ขึ้นไปครองหัวเมืองฝ่ายเหนือประทับที่เมืองพิษณุโลก ต่อ มาอีก ๗ ปี สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จสวรรคต สมเด็จพระราเมศวร บรมไตรโลกนาถบพิตร จึงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ ในพระนามสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า พระชนม์ได้ ๑๗ พรรษา
ภาพเขียนสี กระบวนกฐินพยุหยาตราทางสถลมารค สมัยแผ่นดินสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราช จำลองจากจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดยมพระนครศรีอยุธยา

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑-๒๐๓๑) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา มีพระเกียรติยศใหญ่ยิ่งพระองค์ หนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย  ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒  (เจ้าสามพระยา)     เสด็จสมภพใน  ปี พ.ศ. ๑๙๗๔ ณ ตำบลพระอุทัย(ทุ่งหันตรา)ทางด้านทิศตะวันออกของพระนครศรีอยุธยาในขณะที่สมเด็จพระราชชนนีออกไปส่งเสด็จสมเด็จพระบรมราชาธิรา ชไปงานพระราชสงครามตีกรุงกัมพูชา สมเด็จพระราชชนนีนั้นทรงเป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๓(พญาไสยลือไท) กษัตริ ย์แห่งพระราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัย ดังนั้นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงสามารถผนวกรวมพระราชวงศ์เก่าทั้งสามและพระราชอาณาจักรสุโขทัยกับอยุธยาและสุพรรณบุรีเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างสนิทแนบแน่นในเวลาต่อมา

เพนียดคล้องช้าง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้ย้ายจากในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาไปอยู่ที่ตำบลทะเลหญ้า ชนชาติไทยรู้จักใช้ช้างให้เป็นประโยชน์ทั้งในยามปกติและในยามสงคราม แม่ทัพคนใดทำยุทธหัตถีชนะต่อข้าศึกได้ย่อมเป็นที่ยกย่องเชิดชูเลื่องลือไกล ดังพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีผู้เปรียบกรมช้างสมัยโบราณว่ามีฐานะเหมือนกรมรถถังหรือยาน เกราะสมัยนี้

หลังจากขึ้นเสวยราชสมบัติได้ไม่นาน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ 
ทรงปฏิรูปการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินขึ้นใหม่ ใน พ.ศ. ๑๙๙๗ รวมอำนาจการปกครองไว้ในส่วนกลาง มีพระมหากษัตริย์ทรงอำนาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว แบบแผนการปกครองส่วนใหญ่คงลักษณะผสมของกรุงสุโขทัยกับขอมแห่งกัมพูชา  ดังปรากฏในพระอัยการตำแหน่งทรงพลเรือนและตำแหน่งทางทหาร พอสรุปได้ว่า การปกครองส่วนกลางแบ่งเป็นฝ่ายทหารกับพลเรือน แยกอำนาจปกครอง มีอัครมหาเสนาบดีสองนาย ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ คือ อัครมหาเสนาบดีสมุหพระกลาโหม รับผิดชอบราชการฝ่ายทหาร และอัครมหาเสนาบดีสมุหนายก รับผิดชอบฝ่ายพลเรือน ซึ่งประกอบด้วยเสนาบดี จตุสดมภ์อีก ๔ นาย คือ พระ นครบาล (เมือง) ธรรมาธิการณ์ (วัง) โกษาธิบดี (คลัง) และเกษตราธิการ (นา) และมีส่วนราชการกับเจ้าหน้าที่อีกจำนวนมากในบังคับบัญชา หน้ าที่ฝ่ายทหารและพลเรือนจะแยกกันโดยแท้จริงก็ชั่วเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในยามสงบ เมื่อใดเกิดศึกสงครามขึ้น ก็รวมกำลังทั้งฝ่ายทหารและพลเรือ นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อป้องกันประเทศ ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา จึงเปลี่ยนให้แบ่งหัวเมืองออกเป็น ๒ ภาค หัวเมืองฝ่ายภาคเหนือให้สมุหนายกบังคับบัญชาทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน หัวเมืองฝ่ายใต้ ก็ให้สมุหพระกลาโหมบังคับบัญชาเช่นเดียวกัน ครั้นต่อมา สมุหพระกลาโ หมคนหนึ่งมีความผิด โปรดให้เอาหัวเมืองซึ่งกลาโหมเคยบังคับบัญชาไปขึ้นกรมท่า คือ เสนาบดีพระคลัง 

http://haab.catholic.or.th/history/history04/ayutaya-1/ayutaya-1.html

การปกครองสมัยสุโขทัย

การปกครองสมัยสุโขทัย
       
การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ

      1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นลักษณะเด่นอขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัย การปกครองลักษณะนี้ พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตร การปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
      2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตย ลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องเผยแพร่ธรรมะ สู่ประชาชนด้วย การปกครองแบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย
      3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพ เป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น

 การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น

      1. เมืองหลวง หรือราชธานี เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชวังและวัดจำนวนมาก ตั่งอยู่ในและนอกกำแพงเมือง ราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การศาสนา วัฒนธรรม ศิลปะและขนบประเพณี พระมหากษัตริย์ทางเป็นผู้ปกครองเอง
      2. เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบราชธานีห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้าประมาณ 2 วัน ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสองแคว เมืองสระหลวง เมืองชากังราว  เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์

การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน





ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
                ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
                    1. ทรงเป็นประมุขของประเทศ
                    2. เป็นจอมทัพไทย
                    3. เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทย
                พระราชอำนาจของกษัตริย์ไทย
                    1. ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา
                    2. ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี
                    3. ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล
            พระมหากษัตริย์จะทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาและ
นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการทุกครั้ง ศาลจะเป็นผู้พิจารณาคดีในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ พระราชอำนาจในการเลือกและแต่งตั้งประธานองคมนตรีและองคมนตรี ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้ง และประธานองคมนตรีจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง องคมนตรีคนต่อไป
             หน้าที่ขององคมนตรี ถวายคำปรึกษาและความเห็นในพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์

อำนาจอธิปไตยและการใช้อำนาจ 
     อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจสูงสุดในการออกกฎหมายโดยสถาบันรัฐสภา ในรัฐสภามี 2 สภา คือ
            1. สภาผู้แทนราษฎร มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในอัตราส่วน 1 : 150,000 มีวาระ 4 ปี
            2. วุฒิสภา มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ มีสมาชิก 2 ใน 3 ของสภาผู้แทนราษฎร มีวาระ 4 ปี
          หน้าที่ของรัฐสภา
                1. ทำหน้าที่ออกกฎหมาย
                2. ทำหน้าที่คัดเลือกรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ
                3. รัฐสภาควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐบาล
                4.วุฒิสภาหรือวุฒิสมาชิกทำหน้าที่กลั่นกรองพิจารณาร่างกฎหมาย
              บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.
                1. เลือกคณะรัฐบาลเพื่อบริหารงาน
                2. เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
                3. ร่วมกันเสนอแนะ ปรับปรุงและรักษาการปกครองแบบประชาธิปไตยในสังคมให้ดีขึ้น
                4. ร่วมกันตรากฎหมาย แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับของสภา
                5. ควบคุมการทำงานของรัฐบาล
                6. อนุมัติงบประมาณของแผ่นดิน
     อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการนำกฎหมายไปบังคับใช้หรือบริหารประเทศโดยรัฐบาล
          อำนาจและหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
                1.ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ว่าจะปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
                2. อุทิศเวลาให้แก่การบริหารราชการแผ่นดิน
                3. รับผิดชอบร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร
                4. มิสิทธิเข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎร
                5. มีสิทธิขอให้รัฐสภาเปิดอภิปรายทั่วไป
                6. มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ
                7. มีอำนาจขอกราบบังคมทูลให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร
                8.มีอำนาจกราบบังคมทูลแต่งตั้งหรือถอดถอนข้าราชการฝ่ายทหาร พลเรือน ปลัด กระทรวง อธิบดี
                9. มีอำนาจกราบบังคมทูลขอให้พระมหากษัตริย์ ประกาศกฎอัยการศึก และพระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษได้
     อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการตัดสินคดี โดยสถาบันศาล ซึ่งศาลแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ศาลชั้นต้น ศาล อุทธรณ์ และศาลฎีกา
ผู้พิพากษาและตุลาการ มีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย
-คณะกรรมการตุลาการ มีหน้าที่แต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนตำแหน่ง เลือนเงินเดือน การลงโทษทั้งทางวินัยแก่ข้าราชการตุลาการ
- คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่วินิจฉัยว่าบทบัญญัติของกฎหมายอื่นใดขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าขัดแย้งกฎหมายนั้นจะนำมาบังคับใช้ไม่ได้   และพิจารณาคุณสมบัติของ ส.ส. วุฒิสภาและรัฐมนตรี การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

1. การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย
     - สำนักนายกรัฐมนตรี
     - กระทรวง
     - ทบวง
     - กรม
2. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย
     - จังหวัด
     - อำเภอ
3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย
     - องค์การบริหารส่วนจังหวัด
     - เทศบาล
     - สุขาภิบาล
     - กรุงเทพมหานคร
     - เมืองพัทยา
     - องค์การบริหารส่วนตำบล

         พรรคการเมือง การปกครองของประเทศไทย มีพรรคการเมืองหลายพรรค ทำให้เกิดรัฐบาลผสม
          การเลือกตั้ง กระบวนการในการเลือกตั้งของประเทศไทย มีลักษณะเป็นแบบผสม ทั้งแบบแบ่งเขตและแบบรวมเขต คือ
จังหวัดใดที่มีผู้แทนได้เกิน 3 คน ใช้วิธีการแบ่งเขต แต่จังหวัดใดที่มีผู้แทนได้ไม่เกิน 3 คน จะใช้แบบวิธีรวมเขต


๘๐ ปี เปลี่ยนการปกครองไทย ประชาชนได้แค่ “เปลือกประชาธิปไตย”



๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง “คณะราษฎร์” ได้ทำยึดอำนาจ และมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็น การปกครองระบบประชาธิปไตย โดยการรวมตัวกัน ทั้งพลเรื่อนและทหาร หลักจากทำการยึดอำนาจ ได้มีการประกาศคณะราษฏร์ ฉบับที่ 1 ซึ่งเป็น หลัก 6 ประการของคณะราษฎร  
๑)  จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
๒)  จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
๓)  จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจไทย รัฐบาลใหม่ จะพยายามหางานให้ราษฎรทำโดยเต็มความสามารถ จะร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
๔)  จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)
๕)   จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
          ๖) จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
           จนถึงวันนี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ ครบ ๘๐ ปี ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาเป็นระบบประชาธิปไตย ที่ต้อง ผ่านร้อน ผ่านหนาว และ หลายชีวิตที่ต้องสังเวยไปอย่างไม่มีวันกลับ กับคำว่า “ประชาธิปไตย” สิ่งเหล่านั้น นับตั้งแต่วันที่เริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทย คนไทยได้มากน้อยแค่ไหน จากผู้ปกครอง ที่เรียกว่า “นายกรัฐมนตรี”
          “ประชาธิปไตย” ที่ต้องผ่านการก่อการกบฏ /ยึดอำนาจและ รัฐประหาร มาถึง ๒๘ ครั้ง  มีการแย่งชิงอำนาจ ในการเข้าปกครองประเทศ ครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งจากยึดอำนาจทหารและ จากประชาชน ที่ฝากเป็นลอยแผลไว้ให้กับสังคมไทย ไม่เคยเลือนหายไปประเทศไทย
“ประชาธิปไตย” ที่ต้องผ่าน ธรรมนูญและ รัฐธรรมนูญ มาถึง ๑๘ ฉบับ ทั้งฉบับเผด็จการ และจากตัวแทนประชาชน กฎหมายสูงสุด ที่ไม่เป็นที่ยอมรับ ของผู้มีอำนาจ จนต้องมีการฉีก กันครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อสนองกับความต้องการ ของผู้เข้าครองอำนาจ แม้ว่าหลายบทหลายมาตรา พัฒนาไปแนวทางที่ดีขึ้นแต่ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่น่าพอใจ สำหรับนักการเมืองที่มุ่งหวัง แต่ผลประโยชน์ ของกลุ่มตัวเอง
“ประชาธิปไตย” ที่มี นายกรัฐมนตรี ถึง  ๒๘ คน จาก นายกฯ ที่บริหารราชการแผ่นดินมากที่สุดถึง ๑๒ ปีกว่า  และ นายกรัฐมนตรี ที่บริหารราชการแผ่นดิน ที่น้อยที่สุด เพียง ๑๗ วัน
และ “ประชาธิปไตย” ที่มี คณะรัฐมนตรี ถึง     ๖๐ ชุด ที่เข้าบริหารราชการแผ่นดิน

จนถึงวันนี้ แม้หลายสิ่งหลายอย่างจะได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น สิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้มีการเปิดกว้างมากขึ้น ระบบการตรวจสอบ ที่มีมากขึ้น  แต่หลายสิ่งหลายอย่างกลับย่ำอยู่กับที่ และหนักกว่าเดิม จากเมื่อ ๘๐ ปีที่แล้วการ “ทุจริตคอรัปชั่น” ที่ไม่เคยจางหายไปจาก ผู้มีอำนาจปกครอง และซ้ำร้าย กลับยิ่งทวีคูณและซับซ้อน มากยิ่งกว่าเดิมเท่า การแย่งชิงอำนาจกัน เพื่อให้ได้มาซึ่ง “อำนาจการปกครอง”  ของพวกพ้องตัวเอง ทำทุกวิถีทาง ที่จะอยู่ในอำนาจ โดยไม่สนใจคุณธรรมจริยธรรม และความถูกผิด
 ๘๐ ปี  หากเปรียบกับชีวิตคน คนหนึ่งก็เข้าสู่วัยชรา ผ่านประสบการณ์ มามากมาย ในชีวิต  แต่สำหรับ ๘๐ ปี กับการปกครอง ระบบประชาธิปไตยของไทย ที่ผู้ปกครองหยิบยืน ประชาธิปไตย ให้กับประชาชน เพียงแค่ “เปลือกของประชาธิปไตย”  คนไทยจำนวนไม่น้อย จึงรู้จักคำว่า “ประชาธิปไตย แค่การเลือกตั้ง”  

ประชาธิปไตย “สามวินาที่” แค่เข้าคูหาแล้วกาบัตร หลังจากนั้นก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่นักการเมือง
ประชาธิปไตย ที่ยึดเสียงข้างมาก ที่ไม่คำนึงถึงความถูกต้องถูกผิด คุณธรรมจริยธรรม
ประชาธิปไตย ที่เอาเสียงข้างมากลากไป แล้วสามารถทำอะไรก็ได้ทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ตัวเอง
แล้ว “ประชาธิปไตย” คืออะไรหน๋อ!!!!!!
เลือกตั้งแต่ละครั้ง ต้องจ่ายเงินหัวละ ๕๐๐ บาท ใช่ไหม๊??
เลือกตั้งแต่ละครั้ง ต้องจดชือ ส.ส. เข้าไป กาใช่ไหม๊???
เข้าไปนั่งในสภา ยกมือตามคำสั่ง ของผู้จ่ายเงินใช่ไหม๊??
เข้าไปบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้พวกพ้อง ตัวเองได้ประโยชน์ ใช่ไหม๊??
กำหนดกฎ กติกา เพื่อให้พวกตัวเองได้ประโยชน์ ใช่ไหม๊??
หากไม่ใช่พวกตัวเอง ทำอะไรผิดทุกอย่างใช่ไหม๊???

       หากวันข้างหน้า เราอยากให้ประเทศมี “ประชาธิปไตย” อย่างแท้จริง
           
            ขอ “วันนี้”  เราอย่าทำเป็นธุระไม่ใช่ได้ไหม๊!! ...
            ขอ “วันนี้”  อย่าปล่อยให้ ประเทศขึ้นอยู่กับนักการเมืองได้ไหม๊!!! 
       และขอ “วันนี้”   อย่าปล่อย ให้ “คนโง่” ขยันทำ "ผิด" ได้ไหม๊!!!