จำนวนผู้เข้ามาเยี่ยมชม

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การปกครองและสังคมสมัยอยุธยา

เมื่อทำพิธีราชาภิเษกแล้ว สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ได้ทรงตั้งพระราเมศวร ราชโอรสขึ้นไปครองเมืองลพบุรี    ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านต่อแดนสุโขทัยทางเหนือ และต่อแดนเขมรทางด้านตะวันออก ทรงตั้งพระเชษฐาพระมเหสีทรงพระนามว่า “พงั่ว” เป็นพระบรมราชาไปครองเมืองสุพรรณบุรี

การปกครองอาณาเขตเมื่อชั้นแรกก็ทรงวางแผนทำนองเดียวกันกับครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี คือ เอาพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานีอยู่กลางมี
เมืองหน้าด่าน (ลูกหลวง) ทั้ง ๔ ทิศ เมืองลพบุรีอยู่ด้านเหนือ เมืองนครนายกอยู่ด้านตะวันออก เมืองพระประแดงอยู่ด้านใต้   เมืองสุพรรณบุรีอยู่ด้านตะวันตก ระยะทางไปมาถึงราชธานีได้ภายใน ๒ วัน

ภาพจำลองพระที่นั่งต่างๆ ในพระราชวังหลวงพระนครศรีอยุธยา
ซึ่งจัดแสดงในศูนย์ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

หัวเมืองชั้นใน คือ เมืองปราจีนบุรี  เมืองฉะเชิงเทรา เมืองชลบุรี  ทางด้านตะวันออก เมืองเพชรบุรี ทางด้านใต้ เมืองราชบุรี ทางด้านตะวันตก เมืองพรหมบุรี  เมืองอินทรบุรี  เมืองสิงห์ เมืองสรรค์ ทางด้านเหนือ เ มืองใดสำคัญก็แต่งตั้งเจ้านายในราชวงศ์ไปปกครองเวลามีศึกสงคราม หัว เมืองชั้นในเหล่านี้ก็รวมกำลังทหารมาสมทบกองทัพทหารหลวง

เมืองพระยามหานคร คือ   เมืองใหญ่ห่างราชธานีออกไป ทางตะวันออก ได้แก่  เมืองนครราชสีมา เมืองจันทบุรี ทางทิศใต้  ได้แก่ เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง  เมืองสงขลา  เมืองถลาง ส่วนทางทิศตะวันตก ได้แก่ เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย เมืองเชียงกราน เมืองเหล่านี้ ต่างก็มีเมืองขึ้นอยู่ในอาณาเขต พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเจ้านายในราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นสูงไปปกครอง

ส่วนเมืองประเทศราช ที่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ได้แก่ มะละกา ยะโฮร์ และ เขมร เมืองเหล่านี้โปรดให้เจ้าเมืองปก ครองกันเอง แต่ต้องส่งบรรณาการมาให้กรุงศรีอยุธยาตามกำหนด และจัดทัพมาสมทบเพื่อการสงครามเมื่อได้รับคำสั่งจากกรุงศรีอยุธยา

การปกครองในราชธานี แบ่งส่วนบริหารราชการออกเป็น ๔ แผนก มีเสนาบดีเป็นผู้ควบคุมดูแล เรียกว่า
 “จตุสดมภ์” ได้แก่
ขุนเมือง เป็นพนักงานปกครองท้องที่ รักษาความสงบสุขของราษฎรในเขตราชธานี มีหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้าย และลงโทษผู้กระทำผิด
ขุนวัง เป็นหัวหน้าฝ่ายราชสำนัก เป็นเจ้าพนักงานพิจารณาพิพากษาถ้อยความของราษฎร  เป็นการแบ่งเบาพระราชภาระของพระมหากษัตริย์ในหน้าที่ตุลาการ
ขุนคลัง เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน รับจ่ายและเก็บรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้มาจากส่วยสาอากร
ขุนนา เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลการไร่นา รักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร

การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็น
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถือว่า พระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ มีฐานะเทียบเท่าพระศิวะหรือพระวิษณุ อำนาจการปกครองขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว ทรงเป็นทั้งเจ้าชีวิตของประชาชนและเจ้าแผ่นดินด้วย ในกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็ จซึ่งประกาศใช้ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๓ กล่าวว่า

“ที่ในแว่นแคว้นกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมยเป็นที่แห่งพระเจ้าอยู่หัวหากให้ราษฎรทั้งหลายผู้เป็นข้าแผ่น ดินอยู่ จะได้เป็นที่ราษฎรหามิได้”
สนามหน้าจักรวรรดิ สนามหลวงของกรุงศรีอยุธยา
ที่รัชกาลที่ ๑ ถ่ายแบบมาสร้างกรุงรัตนโกสินทร์

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ได้ทรงวางรากฐานการปกครองราชอาณาจักรอยุธยาไว้เป็นปึกแผ่นมั่นคง     มีการตรากฎหมายไทยเป็นลายลักษณ์ อักษรขึ้นเป็นครั้งแรก  และทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเป็นประโยชน์ต่อชาติไทยเป็นอเนกประการ  ได้เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๑๙๑๒ เมื่อพระชนมายุ ๕๕ พรรษา ในกรุงศรีอยุธยาจึงได้มีการสร้างพระบรมรูปของพระองค์ขึ้น ขนานนามว่า  
พระเชษฐบิดรเป็นที่เคารพสักการะของปวงชน ในฐานะเทพารักษ์ประจำพระนครเมื่อถึงเวลาถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาประจำปี ข้าราชการจะเข้าไปสักการพระบรมรูปพระเชษฐบิดรก่อนไปกราบ พระรัตนตรัย แล้วจึงเข้าไปรับน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นประเพณีปฏิบัติกันเช่นนี้ตลอดมาจนเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๒๘ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้อัญเชิญพระบรมรูปพระเชษฐบิดรมาไว้ ณ กรุงเทพมหานคร  และโปรดให้ แปลงเป็นพระพุทธรูปหุ้มเงิน

เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สวรรคตแล้ว 
พระราเมศวรซึ่งครองเมืองลพบุรีได้รับราชสมบัติ ทรงปกครองกรุงศรีอยุธยาได้ ๑ ปี สมเด็จพระบรม ราชาธิราช (พงั่ว) เสด็จเข้ามาจากเมืองสุพรรณบุรี สมเด็จพระราเมศวรก็ถวายราชสมบัติแล้วกลับคืนไปครองเมืองลพบุรีอย่างเดิม

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (พ.ศ.๑๙๑๓-๑๙๓๑)  ทรงยกทัพไปตีได้อาณาจักรสุโขทัยใน   พ.ศ ๑๙๒๑ ได้ทรงจัดการปกครองหัวเมือง เหนือในฐานะเป็นเมืองประเทศราช โดยทรงแบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็น ๒ ภาค เพื่อความสะดวกในการปกครอง และตัดทอนกำลังอาณาจักร สุโขทัยมิให้กลับมีอำนาจได้อีก ภาคหนึ่ง คือ พื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำ ปิง มีเมืองตาก เมืองกำแพงเพชร เมืองนครสวรรค์ เป็นต้น    สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ โปรดให้พระยาญาณดิศ โอรสบุญธรรมไปปกครอง มี
เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองเอก ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาโดยตรง อีกภาคหนึ่งคือ บริเวณลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน มีเมืองพิษณุโลก  มืองสุโขทัย  เมืองสวรรคโลก และเมืองพิจิตร  ทรงมอบคืนให้พระมหาธรรมราชาที่ ๒ ปก ครองมีเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองสำคัญ ในฐานะเมืองประเทศราชขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา แล้วทรงกวาดต้อนไพร่บ้านเมืองพลลงมากรุงศรีอยุธยา

ต่อมาในรัชกาล
สมเด็จพระอินทราธิราช พระยาบาลเมือง (บรมปาล) กับพระยารามชิงราชสมบัติกันที่เมืองพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. ๑๙๖๒ สมเด็จพระอินทราธิราชต้องเสด็จขึ้นไปไกล่เกลี่ย และทรงตั้งพระยาบาลเมืองเป็นพระมหาธรรมราชาที่ ๔ ครองเมืองพิษณุโลก ให้พระยารามครองเมืองก ำแพงเพชร มีฐานะเป็นประเทศราชขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ทรงใช้วิธีสัมพันธ์ฉันเครือญาติกับกรุงสุโขทัย โดยโปรดให้เจ้าสามพระยา ราชโอรสอภิเ ษกกับพระราชธิดาพญาไสยลือไท ครั้นถึง พ.ศ. ๑๙๘๑ พระมหาธรรมราชาที่ ๔ ซึ่งครองพิษณุโลกสิ้นพระชนม์ลง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ทรงมีพระราโชบายที่จะรวมหัวเมืองเหนือ ซึ่งแยกเป็นสองภาคมาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ให้กลับคืนเป็นอา ณาเขตเดียวกัน จึงทรงตั้ง สมเด็จพระราเมศวร บรมไตรโลกนาถบพิตร พระราชโอรส ขึ้นไปครองหัวเมืองฝ่ายเหนือประทับที่เมืองพิษณุโลก ต่อ มาอีก ๗ ปี สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จสวรรคต สมเด็จพระราเมศวร บรมไตรโลกนาถบพิตร จึงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ ในพระนามสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า พระชนม์ได้ ๑๗ พรรษา
ภาพเขียนสี กระบวนกฐินพยุหยาตราทางสถลมารค สมัยแผ่นดินสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราช จำลองจากจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดยมพระนครศรีอยุธยา

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑-๒๐๓๑) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา มีพระเกียรติยศใหญ่ยิ่งพระองค์ หนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย  ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒  (เจ้าสามพระยา)     เสด็จสมภพใน  ปี พ.ศ. ๑๙๗๔ ณ ตำบลพระอุทัย(ทุ่งหันตรา)ทางด้านทิศตะวันออกของพระนครศรีอยุธยาในขณะที่สมเด็จพระราชชนนีออกไปส่งเสด็จสมเด็จพระบรมราชาธิรา ชไปงานพระราชสงครามตีกรุงกัมพูชา สมเด็จพระราชชนนีนั้นทรงเป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๓(พญาไสยลือไท) กษัตริ ย์แห่งพระราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัย ดังนั้นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงสามารถผนวกรวมพระราชวงศ์เก่าทั้งสามและพระราชอาณาจักรสุโขทัยกับอยุธยาและสุพรรณบุรีเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างสนิทแนบแน่นในเวลาต่อมา

เพนียดคล้องช้าง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้ย้ายจากในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาไปอยู่ที่ตำบลทะเลหญ้า ชนชาติไทยรู้จักใช้ช้างให้เป็นประโยชน์ทั้งในยามปกติและในยามสงคราม แม่ทัพคนใดทำยุทธหัตถีชนะต่อข้าศึกได้ย่อมเป็นที่ยกย่องเชิดชูเลื่องลือไกล ดังพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีผู้เปรียบกรมช้างสมัยโบราณว่ามีฐานะเหมือนกรมรถถังหรือยาน เกราะสมัยนี้

หลังจากขึ้นเสวยราชสมบัติได้ไม่นาน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ 
ทรงปฏิรูปการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินขึ้นใหม่ ใน พ.ศ. ๑๙๙๗ รวมอำนาจการปกครองไว้ในส่วนกลาง มีพระมหากษัตริย์ทรงอำนาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว แบบแผนการปกครองส่วนใหญ่คงลักษณะผสมของกรุงสุโขทัยกับขอมแห่งกัมพูชา  ดังปรากฏในพระอัยการตำแหน่งทรงพลเรือนและตำแหน่งทางทหาร พอสรุปได้ว่า การปกครองส่วนกลางแบ่งเป็นฝ่ายทหารกับพลเรือน แยกอำนาจปกครอง มีอัครมหาเสนาบดีสองนาย ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ คือ อัครมหาเสนาบดีสมุหพระกลาโหม รับผิดชอบราชการฝ่ายทหาร และอัครมหาเสนาบดีสมุหนายก รับผิดชอบฝ่ายพลเรือน ซึ่งประกอบด้วยเสนาบดี จตุสดมภ์อีก ๔ นาย คือ พระ นครบาล (เมือง) ธรรมาธิการณ์ (วัง) โกษาธิบดี (คลัง) และเกษตราธิการ (นา) และมีส่วนราชการกับเจ้าหน้าที่อีกจำนวนมากในบังคับบัญชา หน้ าที่ฝ่ายทหารและพลเรือนจะแยกกันโดยแท้จริงก็ชั่วเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในยามสงบ เมื่อใดเกิดศึกสงครามขึ้น ก็รวมกำลังทั้งฝ่ายทหารและพลเรือ นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อป้องกันประเทศ ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา จึงเปลี่ยนให้แบ่งหัวเมืองออกเป็น ๒ ภาค หัวเมืองฝ่ายภาคเหนือให้สมุหนายกบังคับบัญชาทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน หัวเมืองฝ่ายใต้ ก็ให้สมุหพระกลาโหมบังคับบัญชาเช่นเดียวกัน ครั้นต่อมา สมุหพระกลาโ หมคนหนึ่งมีความผิด โปรดให้เอาหัวเมืองซึ่งกลาโหมเคยบังคับบัญชาไปขึ้นกรมท่า คือ เสนาบดีพระคลัง 

http://haab.catholic.or.th/history/history04/ayutaya-1/ayutaya-1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น